luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   อุทาหรณ์   (Read: 13722 times - Reply: 7 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

อุทาหรณ์
« Thread Started on 23/9/2554 8:22:00 IP : 203.148.162.151 »
 

ช่วงนี้ก็มีข่าวคราวพระสงฆ์ที่ท่านประพฤติในทางเสียสมณสารูปให้เห็น นัยว่าต้องการแสดงให้เห็นว่าเป็นคนไม่ยึดติดอะไร ๆ มุ่งตรงต่อแก่นธรรม แต่ท่านก็กลับมองข้ามเสขิยวัตรที่เป็นข้อบัญญัติของพระพุทธองค์ไปเสีย (เสขิยวัตรคือข้อวินัยที่ให้พระประพฤติตัวให้เรียบร้อยงดงาม ซึ่งถูกนำมาใช้ประยุกต์เป็น "สมบัติผู้ดี")

ที่น่าเป็นห่วงก็คือมีผู้หลงเชื่อตามไม่น้อย สิ่งที่อันตรายมากที่สุดก็คือเรื่องทิฏฐิความเห็น ที่เข้าใจกันว่าเป็นแนวทางของผู้ไม่ยึดติดและมุ่งสู่แก่นธรรมแท้ ๆ ทั้ง ๆ ที่กำลังตกเข้าไปสู่ความยึดติดในความไม่ยึดติด

คนที่ไม่ยึดติดไม่ได้แปลว่าจะปฏิเสธอะไร ๆ ที่ไม่ใช่แก่นเสมอไป เช่น ปฏิเสธไม่เอารูปเคารพเลย มีพระพุทธรูปหรือพระเครื่องก็ต้องนำไปฝังดินบ้าง ใส่หลุมขยะบ้าง มีพระธาตุก็ให้หว่านทิ้ง อย่างนั้นหรือ

ถ้าปฏิเสธจริง ก็น่าจะปฏิเสธเสนาสนะสมัยใหม่ ปฏิเสธพัดลม ทีวี กระเบื้องปูพื้น น้ำยาล้างห้องน้ำ สบู่ ยาสีฟัน กระดาษชำระ ฯลฯ เพราะไม่มีในพุทธบัญญัติ!!

แท้จริงแล้ว เราใช้มันได้ เพียงแต่เตือนใจเจ้าของว่ามันเป็นเครื่องอาศัย อย่าใช้อย่างเป็นทาสมัน และอย่าทุกข์เพราะมัน 

เหมือนอย่างกรณีที่มีพระรูปหนึ่งมาจ้องจับผิดหลวงปู่สิมว่าท่านมีรถยนต์นั่งส่วนตัว หลวงปู่สิมทราบความในใจก็เลยพูดให้คิดว่า ทีหน้าทีหลังจะไปไหนมาไหนก็ให้ขี้ม้าก้านกล้วยเน้อ

และเหมือนอย่างกรณีที่พระลูกศิษย์หลวงพ่อชาปฏิบัติปล่อยวางด้วยการไม่ซ่อมแซมเสนาสนะ คือปล่อยให้หลังคารั่วอยู่อย่างนั้น ทนนั่งตากแดดตากฝน หลวงพ่อชาจึงตำหนิว่า อย่างนี้เรียกว่าปล่อยวางอย่างวัวอย่างควาย คือปล่อยวางอย่างคนโง่

เรื่องปล่อยวางในชั้นละเอียดนั้นถือเป็นโลกุตรธรรม เมื่อปุถุชนคนไร้ปัญญานำโลกุตรธรรมมาปฏิบัติ ผลก็มักไปในทางไม่ถูกดังอุทาหรณ์ข้างต้น ที่เริ่มต้นจากความปล่อยวางอย่างคนโง่ แล้วก็ยึดติดในความไม่ยึดติดนั้น นี่เสียหายเฉพาะตัว แต่พอประกาศสอนทิฏฐินี้ออกไป ก็เสียหายเป็นวงกว้างออกไปอีก

โลกใบนี้มีอะไรให้ศึกษามากมายทั้งถูกและผิด อยู่ที่เราจะใช้ปัญญาเลือกเฟ้นเอา ทำให้นึกคำเทศน์ที่สั้นที่สุดของสมเด็จโต วัดระฆังที่ว่า "พิจารณา มหาพิจารณา"

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: อุทาหรณ์
จำนวนข้อความทั้งหมด:  4
1
แสดงความคิดเห็น
ดาวมงคล

Posts: 0 topics
Joined: 17/12/2553

ความคิดเห็นที่ 1  « on 23/9/2554 9:35:00 IP : 183.89.25.92 »   
Re: อุทาหรณ์
 

สาธุ...

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
supa

Posts: 2 topics
Joined: 17/5/2554

ความคิดเห็นที่ 2  « on 23/9/2554 10:09:00 IP : 180.183.200.25 »   
Re: อุทาหรณ์
 

โลกใบนี้มีอะไรให้ศึกษามากมายทั้งถูกและผิด อยู่ที่เราจะใช้ปัญญาเลือกเฟ้นเอา

เป็นข้อสรุปที่ครอบคลุมมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Dugong

Posts: 1 topics
Joined: 11/2/2553

ความคิดเห็นที่ 3  « on 27/9/2554 8:02:00 IP : 202.44.4.252 »   
Re: อุทาหรณ์
 

ท่านพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ เคยอธิบายไว้เลยขอยกมาสรุมความให้ฟังว่ามีความจริงสองประเภทในโลกมนุษย์นี้

จริงประเภทแรกเป็นเป็นความจริงที่มนุษย์กำหนดขึ้น เรียกว่า จริงตามสมมุติ หรือสมมุติบัญญัติ เป็นความจริงที่เห็นพ้องกันในสังคม เพื่อประโยชน์ในการอยู่ร่วมกัน

 ด้านสังคม เช่น ภาษาเพื่อสื่อสาร การนิยามความหมายหรือชื่อสิ่งทั้งหลาย การให้คุณค่าสิ่งต่างๆ เช่น ดี เลว ถูก แพง ประเพณี ค่านิยม

ด้านเศรษฐกิจ เช่น การกำหนดเงินตรา ราคาสิ่งของบริการต่างๆ

ด้านการเมือง การปกครอง การบริหาร เช่น ระบอบการปกครอง กฏหมาย ระเบียบข้อบังคังต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีด้านอื่นๆ มากมาย ซึ่งความจริงแง่นี้มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ ของคนในสังคมมากมาย ความจริงตามสมมุตินี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

มีความจริงอีกประเภทที่ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริงของสมมุติชาวโลกมากนัก ความเป็นจริงนี้มีอยู่ตามธรรมชาติตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และจะมีต่อไปในอนาคต เป็นความจริงที่ครอบงำสรรพสิ่งทั้งหลาย ได้แก่

ความจริงด้านความเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่คงที่ เป็นสภาพชั่วคราวที่เรียกว่า อนิจจัง

ความจริงด้านความทุกข์ ความอดทนได้ยาก ของใจที่ไม่เข้าใจสภาพความจริงตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ รวมถึง ทุกข์ตามสภาวะที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของสรรพสัตว์ที่อยู่ในภพทั้งสาม

ความจริงของสรรพสิ่งที่จักต้องสิ้นสภาพความเป็นสิ่งนั้นๆ ไปในที่สุดที่เรียกว่า อนัตตา

นอกเหนือจากนั้นอาจแตกย่อยเป็นความจริงเรื่องบุญบาป ที่เป็นผลความสุข ความทุกข์จากการกระทำ ที่เป็นหลักธรรมชาติ (ข้อนี้อาจสับสนกับดีชั่วตามสมมุติบัญญัติที่อาจตรงหรือไม่ตรงกับ บุญบาปตามหลักธรรมชาติได้ถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ดี)

หน้าที่เราคือ แสดงออก ทางกาย วาจาให้สอดคล้องกับสมมุตินิยมของโลก ส่วนใจสงวนไว้ให้กับความจริงทางธรรม

จึงควรใช้ปัญญาพิจารณา ว่า จะปฏิบัติ ทางกาย ทางวาจา อย่างไร  จะปฏิบัติทางใจอย่างไร ธรรมส่วนใดนำมาปฏิบัติทางกายทางวาจา ธรรมส่วนใดปฏิบัติใจเป็นส่วนตัว ถ้าเข้าใจตามนี้ ปัญหาต่างๆ จะลดน้อยลงไปมากครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
metha

Posts: 127 topics
Joined: 9/12/2552

ความคิดเห็นที่ 4  « on 27/9/2554 8:54:00 IP : 110.77.138.63 »   
Re: อุทาหรณ์
 

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณ Dugong ในเรื่อง"ความจริง"

และเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ตามแนวไตรสิกขา

เรื่องที่ต้องทำ และเรื่องที่ควรทำไม่ควรทำ

ยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและปฏิบัติควบคู่ไปตลอดครับ

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 4 Visits: 16,675,580 Today: 567 PageView/Month: 56,982