การศึกษาปริยัติก็มีอีกอย่างหนึ่ง คือ ศึกษาปริยัติแล้วก็เอามาปฏิบัติ
เวลาฟังปริยัติ หมายความว่าคำสั่งสอนใด ๆ อ่านคำสั่งสอนใด ๆ มา แล้วก็
มาคิด มาคิดให้เข้าใจ มาคิดให้รู้ มาคิดให้แจ้ง อันนี้แหละเรียกว่า "ปัญญา" ได้
เวลาพูดถึงปริยัติข้อใดเอามาคิดว่าท่านหมายความว่าอะไร แล้วมาดูที่จิตใจ
ของเราว่ามันตรงหรือไม่ มีเหตุอย่างนั้นมันตรงไหมที่ท่านสอน อันนี้ก็หมาย
ความว่าเป็นการปฏิบัติ ฉะนั้น ถ้าเรียนปริยัติมาข้อใดแล้วมีเวลาเมื่อใด ก็มา
พิจารณาถึงข้อปริยัติในระหว่างที่ยังไม่ได้ลืมคำสั่งสอนนั้น มาดูจิตใจของเรา
การดูจิตใจนี้ก็คือการปฏิบัติ ไม่ต้องมีอย่างอื่น การดูจิตใจนั้นอย่างเดียว
เป็นการปฏิบัติ ฉะนั้น ถ้าเรียนปริยัติ หรือได้ฟังปริยัติ ได้เห็นปริยัติ ได้รู้สึก
ปริยัติ หมายความว่าได้ไปที่ไหน ได้เห็นโลกเป็นอย่างนั้น ๆ นั่นเป็นปริยัติ
ทั้งนั้น เอามาพิจารณาว่าเวลาเราเจอสิ่งของเหล่านั้น ใจของเรารู้สึกอย่างไร
นี้เป็นการปฏิบัติ และมาพิจารณาว่าทำไมมันเกิดอย่างนั้นก็เป็นการปฏิบัติ
ถ้าหากว่าเมื่อฟังปริยัติ อ่านปริยัติ ประสบปริยัติแล้วมาปฏิบัติคือดูที่ใจ
จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าปริยัตินั้นลืมไปแล้ว แต่ใจที่สัมผัส
และศึกษาอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ลืม ไม่มีทางลืม เพราะว่าเห็นแล้ว เห็นว่าอะไร
เป็นจริงแล้ว เมื่อเห็นจริงแล้วไม่มีทางลืม
*พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ*
ความตอนหนึ่งจาก หนังสือ พ่อ หลวงพ่อของแผ่นดิน
โดย กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
|