luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)  (Read: 29917 times - Reply: 11 comments)   
eka.

Posts: 26 topics
Joined: 30/5/2554

วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
« Thread Started on 1/8/2555 13:12:00 IP : 61.90.28.73 »
 

วันเข้าพรรษา

คำว่า พรรษา แปลว่า ฤดูฝน ปีหนึ่งก็ผ่านฤดูฝนครั้งหนึ่ง คนที่อยู่มาเท่านั้นฝนเท่านี้ฝนก็คืออยู่มาเท่านั้นปี ดังนั้น ในที่ทั่วๆ ไป จึงแปลพรรษากันว่า ปี
คำว่า เข้าพรรษา ก็คือ เข้าฤดูฝน คือถึงเวลาที่จะต้องหยุดการเดินทางในฤดูฝน พักอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเป็นประจำ โดยไม่ไปแรมคืนที่อื่น เพราะเหตุนี้ จึงมีคำเกิดขึ้นอีกคำหนึ่งคือคำว่า จำพรรษา
คำว่า จำพรรษา ก็คือ อยู่วัดประจำในฤดูฝน หมายความว่า พระสงฆ์จะต้องอยู่ในวัดที่ตนอธิษฐานพรรษาตลอดสามเดือนในฤดูฝน จะไปแรมคืนที่อื่นไม่ได้ นอกจากมีเหตุจำเป็น
คำว่า วันเข้าพรรษา ก็คือ วันที่พระสงฆ์ทำพิธีอธิษฐานพรรษา ซึ่งเป็นวันแรกของการจำพรรษานั่นเอง
“อธิษฐาน” แปลว่า ตั้งใจกำหนดแน่นอนลงไป “อธิษฐานพรรษา” ก็คือ ตั้งใจกำหนดแน่นอนลงไปว่าจะอยู่ประจำ ณ ที่นั้นตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน
กาลที่นิยมว่าเป็นฤดูฝน ที่เรียกในบาลีว่า วสฺสาน นั้น มีกำหนด ๔ เดือน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ การจำพรรษาของพระสงฆ์มีกำหนด ๓ เดือน การจำ พรรษานั้น มี ๒ ระยะ ระยะแรกเรียกว่า ปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาแรก หรือ พรรษาต้น เริ่มตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ระยะหลังเรียกว่า ปัจฉิมพรรษา แปลว่าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันเข้าปุริมพรรษา วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เป็นวันเข้าปัจฉิมพรรษา
ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือเพิ่มเดือน ๘ เข้ามาอีกเดือนหนึ่ง เป็นแปดสองแปด ในปีนั้นให้ถือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง เป็นวันเข้าปุริมพรรษา
การที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตวันเข้าพรรษาไว้ ๒ วัน คือ วันเข้าปุริมพรรษา และวันเข้าปัจฉิมพรรษานั้น ก็เพื่อให้พระสงฆ์ที่จำพรรษาในวันเข้าปุริมพรรษาไม่ทันด้วยเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถเลื่อนไปเริ่มจำพรรษาในวันเข้าปัจฉิมพรรษา
การจำพรรษา และวันเข้าพรรษา ถึงจะมีเป็นสองอย่างก็จริง แต่ที่ถือเป็นสำคัญและปฏิบัติกันโดยทั่วไปนั้นก็คือ วันเข้าปุริมพรรษา ซึ่งเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ และไปครบสามเดือนในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ยังเหลือเวลาอีกหนึ่งเดือน
ท้ายฤดูฝน สำหรับเตรียมตัวเพื่อเดินทางไปในที่ต่างๆ ต่อไป ฉะนั้นในทางปฏิบัติ เมื่อพูดถึงวันเข้าพรรษา ก็หมายถึงวันเข้าปุริมพรรษานั่นเอง
มูลเหตุที่พระสงฆ์ต้องจำพรรษา 

กล่าวความตามบาลี วัส-สูปนายิกาขันธกะ คัมภีรค์มหาวรรค พระวินัยปิฎก๑ ว่า ในมัชฌิมประเทศสมัยโบราณคืออินเดียตอนเหนือ เมื่อถึงฤดูฝนพื้นที่ย่อมเป็นโคลนเลนทั่วไป ไม่สะดวกแก่การเดินทาง คราวหนึ่ง มีพระพวกที่เรียกว่าฉัพพัคคีย์ คือเป็นกลุ่มมี ๖ รูปด้วยกัน ไม่รู้จักกาล เที่ยวไปมาทุกฤดูกาล ไม่หยุดพักเลย แม้ในฤดูฝนก็ยังเดินทาง เที่ยวเหยี่บย่ำข้าวกล้าหญ้าระบัดและสัตว์เล็กๆ ตาย คนทั้งหลายพากันติเตียนว่า ในฤดูฝนแม้พวกเดียรถีย์และปริพาชกเขาก็ยังหยุด ที่สุดจนนกก็ยังรู้จักทำรังบนยอดไม้เพื่อหลบฝน แต่พระสมณศากยบุตรทำไมจึงยังเที่ยวอยู่ทั้งสามฤดู เหยียบย่ำข้าวกล้าและต้นไม้ที่เป็นของเป็นอยู่ และทำสัตว์ให้ตายเป็นอันมาก 

ความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ในฤดูฝนในที่แห่งเดียวเป็นเวลา ๓ เดือน เรียกว่า จำพรรษา ด้วยเหตุนี้ พระสงฆ์จึงต้องจำพรรษา และมีวันเข้าพรรษาสืบมาจนบัดนี้

สถานที่ที่พระสงฆ์จำพรรษานั้น พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้จำพรรษาในที่กลางแจ้ง ในโพรงไม้ และในตุ่มหรือในหลุมขุด ซึ่งไม่ใช่เสนาสนะคือไม่ใช่ที่อยู่ที่อาศัย 
ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในกุฏิที่มุงที่บังมีหลังคาและฝารอบขอบชิด อยู่ให้ครบ ๓ เดือน ถ้าอยู่ไม่ครบ ๓ เดือน หลีกไปเสีย พรรษาขาดและต้องอาบัติคือมีโทษ แต่เป็นโทษขนาดเบา เรียกว่าอาบัติทุกกฏ ถ้ามีภัยอันตรายเกิดขึ้น จะอยู่ในที่นั้นไม่ได้ เช่น น้ำท่วม หรือชาวบ้านถิ่นนั้นอพยพไปอยู่ที่อื่น เป็นต้น อนุญาตให้ไปในระหว่างพรรษาได้ ไม่เป็นอาบัติ หรือมีกิจจำเป็นที่จะต้องไปแรมคืนที่อื่น เช่น กิจนิมนต์ กิจเกี่ยวกับพระศาสนา ตลอดจนพระอุปัชฌาย์อาจารย์อาพาธ เป็นต้น อนุญาตให้ไปด้วย "สัตตาหกรณียะ" คือกิจที่ไปทำแล้วกลับมาให้ทันภายใน ๗ วัน พรรษาไม่ขาด
(จาก หนังสือ วันสำคัญของชาวพุทธไทย พิมพ์ครั้งที่ ๓)
-------------------------------------------------------------
สัตตาหกรณียะ
ถาม :  มีพระฝากกราบเรียนถามว่า การสัตตาหกรณียะ ในกรณีที่พระไปเรียนหนังสือ ซึ่งจะต้องลาไป ๕-๖ วัน จะทำได้ไหม และในอีกกรณีหนึ่ง คือ การไปพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ในช่วงเข้าพรรษาแต่ไม่เกิน ๗ วัน จะได้หรือไม่ ซึ่งในกรณีหลังนี้ มีพระมหาเถระระดับสมเด็จ เคยถือปฏิบัติมาว่า ท่านไม่สัตตาหะเกี่ยวกับธุระการรักษาตัวเช่นนี้ โดยให้เหตุผลว่า เรื่องสัตตาหกรณียะนี้ เป็นกรณียกเว้นเพื่อกิจของผู้อื่นหรืองานพระศาสนามิใช่เพื่อกิจธุระของตัวเองถ้าตนเองมีความจำเป็นเช่นนนั้กจ็ะต้องสละสิทธิที่จะพึงได้จากอานิสงส์การจำพรรษาไป

ตอบ:  ตามที่ถามไป ก็ตอบได้ว่า ถ้าเคร่งครัดตามพระพุทธานุญาต ก็เป็นอย่างที่สมเด็จท่านว่านั่นแหละ เพราะพระพุทธานุญาต มีแต่ เรื่องให้ไปได้เพื่อกิจหรือประโยชน์ของผู้อื่น ตามที่ทรงระบุไว้ คือ

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔/๒๑๐/๒๗๓ ว่า:
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ พวก ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา เราไม่อนุญาต; บุคคล ๗ พวก คือ 
ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา (สหธรรมิก ๗)...

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔/๒๑๑/๒๘๑ ว่า:
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๕ พวก แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะกล่าวไปไยถึงเมื่อเขาส่งทูตมา
สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี (สหธรรมิก ๕)...

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔/๒๑๒/๒๙๐ ว่า:
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ พวก แม้มิได้ส่ง ทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเขาส่งทูตมา บุคคล ๗ จำพวก คือ 
ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี มารดา บิดา ...

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔/๒๑๓/๒๙๑ ว่า:
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปได้เพราะกรณียะของสงฆ์ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน...
............................................

สำหรับเรื่องส่วนตัว ตามพุทธานุญาต มีแต่ว่า (๔/๒๑๔/๒๙๒) เมื่อเกิดเหตุจำเป็น เช่น มีสัตว์ร้าย ไฟไหม้ น้ำท่วม โจรปล้น ขาดแคลนหรือลำบากในเรื่องอาหาร ให้ไปได้ โดยขาดพรรษา แต่ไม่ต้องอาบัติ
ในอรรถกถามีบอกด้วยว่า (วินย.อ.๓/๑๖๑) มีบาลีมุตตก วินิจฉัยในเรื่องรัตติเฉทว่า ย่อมไม่ได้ เพื่อจะไป แม้เพื่อประโยชน์แก่อุเทสและปริปุจฉา เป็นต้น
(นี่คือไปเล่าเรียนโดยเป็นกิจส่วนตัว ก็ไม่ได้, จะเห็นทางได้ ก็คือ อุปัชฌาย์อาจารย์เรียกตัวให้มาเรียน)


พระพรหมคุณาภรณ์
๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๔

(เข้าพรรษา ๒๕๕๕ ปีนี้เป็นปีอธิกมาส จึงถือเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง เป็นวันเข้าพรรษา ตรงกับวันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม)

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
จำนวนข้อความทั้งหมด:  7
1
แสดงความคิดเห็น
เหลิม

Posts: 2 topics
Joined: 18/5/2555

ความคิดเห็นที่ 1  « on 1/8/2555 14:44:00 IP : 134.204.208.36 »   
Re: วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
 

อนุโมทนา สาธุ ครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
yingka

Posts: 50 topics
Joined: 9/11/2552

ความคิดเห็นที่ 2  « on 1/8/2555 14:58:00 IP : 58.11.248.226 »   
Re: วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
 

อนุโมทนาสาธุค่ะ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
รพินทร์

Posts: 3 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 3  « on 2/8/2555 11:10:00 IP : 115.87.197.60 »   
Re: วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
 

สาธุอนุโมทนามิครับ_/\_

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
น้อง

Posts: 5 topics
Joined: 17/3/2554

ความคิดเห็นที่ 4  « on 2/8/2555 19:29:00 IP : 124.120.238.83 »   
Re: วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
 

อนุโมทนาสาธุค่ะ

ขอออกพรรษา(ล่วงหน้า) ด้วยนะคะ  มีกิจพิเศษของสงฆ์ในระหว่างเข้าพรรษาไหมคะ

เทศน์มหาชาติมักจะมีช่วงไหนของปีคะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
น้อง

Posts: 5 topics
Joined: 17/3/2554

ความคิดเห็นที่ 5  « on 21/10/2555 12:46:00 IP : 124.120.147.223 »   
Re: วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
 
มาคอยคุณเอกอธิาบายวันสำคัญทางศาสนา และกิจของพระสงฆ์ และฆราวาส ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
น้อง

Posts: 5 topics
Joined: 17/3/2554

ความคิดเห็นที่ 6  « on 23/10/2555 13:16:00 IP : 124.120.48.134 »   
Re: วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
 
วันพระทุกวัน วันนี้วันหยุด. หลวงปู่ให้หมั่น ไม่ทำวันหนึ่งเสียหายหลายแสน เริ่มหมั่นวันนี้ก็ยังไม่เร็วเกินไป เพราะไม่มีใครทราบ "เมื่อไรที่ว่าเร็วเกินไป จะกลายเป็นสายเกินไป" ขอบพระคุณคุณครูและคุณครูผู้ช่วยค่ะ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
metha

Posts: 127 topics
Joined: 9/12/2552

ความคิดเห็นที่ 7  « on 23/10/2555 17:48:00 IP : 14.207.133.147 »   
Re: วันเข้าพรรษา & สัตตาหกรณียะ ... โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
 
น้อง Talk:
วันพระทุกวัน วันนี้วันหยุด. หลวงปู่ให้หมั่น ไม่ทำวันหนึ่งเสียหายหลายแสน เริ่มหมั่นวันนี้ก็ยังไม่เร็วเกินไป เพราะไม่มีใครทราบ "เมื่อไรที่ว่าเร็วเกินไป จะกลายเป็นสายเกินไป" ขอบพระคุณคุณครูและคุณครูผู้ช่วยค่ะ


กราบขอบพระคุณป้าน้อง ขอบคุณคุณsupa
คำถามในความคิดเห็นที่ 5
กำลังรอเพื่อนสมาชิกมาช่วยตอบกันนะครับ

ป้าน้องฝากข้อคิดวันพระ 23 ต.ค.55 วันนี้
วันปิยมหาราช ขอเพื่อนสมาชิกมาร่วมใจรำลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านและในหลวง
ขอคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถวายแด่พระองค์ท่าน
ที่ให้พวกเราได้อยู่อย่างสงบสุขใต้ร่มพระบารมี


"ไม่เร็วไป ไม่สายไป"
ธรรมะวันพระนี้อยู่ในกระทู้ฟากโน้นนะขอรับ :)

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 5 Visits: 16,615,290 Today: 800 PageView/Month: 86,786