luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   อย่าเชื่อตัวเอง  (Read: 12612 times - Reply: 8 comments)   
eka.

Posts: 26 topics
Joined: 30/5/2554

อย่าเชื่อตัวเอง
« Thread Started on 30/4/2557 10:21:00 IP : 61.90.58.232 »
 

ในกระบวนการที่จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพื่อจะช่วยคนอื่น ในบางช่วงอาจจะต้องทำสิ่งที่คนอื่นมองได้ว่าไม่น่าจะทำ ส่วนคนที่มองนั้น ก็ต้องคิดพิจารณา แม้แต่ตาหรือหูของตัวเองก็เชื่อไม่ได้เสมอไป เพราะเราอาจจะเห็นแค่ช่วงสั้นๆ ของเรื่องราวทั้งหมดที่อาจจะสลับซับซ้อน ถ้าเราเห็นเพียงแค่นั้น เราอาจจะด่วนสรุปอย่างผิดๆ ก็ได้

 

เรื่องมีอยู่ว่า ... (โดยพระอาจารย์ชยสาโร)

 

พระธุดงค์รูปหนึ่งอยากจะเจริญเมตตาภาวนา ท่านได้ข่าวเรื่องหลวงปู่องค์หนึ่งอยู่ในวัดที่ห่างไกลจากความเจริญและอัตคัดกันดารมาก หลวงปู่มีชื่อเสียงมากในความมีเมตตาของท่าน พระธุดงค์องค์นี้จึงตั้งใจเดินทางไปหาหลวงปู่ เส้นทางยาวไกลและยากลำบากมาก แต่ท่านก็กัดฟันสู้ ท่านเดินธุดงค์หลายวันกว่าจะถึงวัดของหลวงปู่ เมื่อท่านเดินเข้าไปในเขตวัด ลูกวัดออกมาต้อนรับพาท่านไปพักผ่อนที่กุฏิ บอกให้ท่านเก็บบริขารให้เรียบร้อยแล้วจะกลับมานิมนต์ไปกราบหลวงปู่

 

พระธุดงค์ขึ้นไปบนกุฏิ เปิดหน้าต่างมองลงไปเบื้องล่าง เห็นหลวงปู่กำลังยืนอยู่ที่ชายป่า ท่านรำพึงขึ้นว่า ‘โอ้! นี่คือหลวงปู่ผู้มีเมตตาธรรม’ ท่านรู้สึกปีติซาบซึ้งเลื่อมใส พอดีมีกวางตัวหนึ่งเดินออกมาจากชายป่า หน้าตาของหลวงปู่ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรมเปลี่ยนไป ท่านยกไม้เท้าของท่านขึ้นตีกวางอย่างแรง ทำให้กวางตกใจวิ่งกลับเข้าป่าไปทันที พระธุดงค์เห็นแล้วรู้สึกหมดศรัทธาทันที... ‘โอ้! นี่เราโดนหลอกอย่างแรงเลย อุตส่าห์เดินทางมาหาด้วยความยากลำบากแทบตาย ใครๆ ก็ว่าหลวงปู่องค์นี้มีเมตตานัก เราก็อยากจะเจริญเมตตาภาวนา...โอ้ย! ไม่เอาแล้ว รีบเก็บบริขารแล้วเผ่นเลยดีกว่า ไม่อยากจะต้องเผชิญหน้ากับท่าน ท่านทำให้เราผิดหวังสุดๆ เลย’ ...หลังจากนั้นไม่ว่าท่านจะไปที่ไหน ไปเจอใคร ท่านก็จะเที่ยวพูดถึงหลวงปู่ว่า “อย่าไปเชื่อเลยนะ หลวงปู่ที่เขาว่ามีเมตตาสุดๆ น่ะ ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย นี่ผมไม่ได้นินทาท่านนะ ผมไปเจอมาเอง ไม่ใช่ฟังจากคนอื่นนะ ผมเห็นกับตาตัวเอง เห็นชัดๆ เลยนะ ท่านทั้งทรมานสัตว์ ทั้งตีสัตว์ ผมเห็นหน้าท่านผมตกใจเลย” ไปไหนๆ ท่านก็พูดอย่างนี้


ส่วนที่วัดของหลวงปู่ หลวงปู่ถามลูกวัดว่า “พระธุดงค์องค์นั้นอยู่ไหนล่ะ ไหนว่าท่านจะมากราบ” ลูกวัดกราบเรียนท่านว่า “หลวงปู่ครับ ท่านออกจากวัดไปแล้ว” หลวงปู่จึงพูดว่า “โอ...หลวงปู่รู้แล้ว เห็นพระองค์หนึ่งมองลงมาจากหน้าต่าง น่ากลัวท่านจะเข้าใจผิดเสียแล้วล่ะ” แล้วท่านก็ยิ้ม ก่อนที่จะพูดต่อว่า “วันนี้ตั้งใจจะตักเตือนพวกท่านอยู่แล้วเรื่องนี้ว่า พระเรามักจะเทอาหารที่เหลือจากบาตรทิ้งไว้ที่ชายป่า กวางมันชอบมากิน กินบ่อยเข้าๆ จนมันคุ้นเคยกับคน มันก็เริ่มจะเข้าไปแถวๆ หมู่บ้าน ถูกชาวบ้านยิงตายลงหม้อไปหลายตัวแล้ว วิธีแก้มีอยู่เพียงวิธีเดียว เราต้องทำให้กวางมันกลัวคน หลวงปู่สงสารมัน หลวงปู่ก็เลยตีเพื่อให้มันกลัวคน มันจะได้ปลอดภัยจากความโหดร้ายของคน” นี่คือเมตตาของหลวงปู่ ไม่ใช่เมตตาด้วยการเอาใจ แต่เป็นเมตตาที่ประกอบด้วยปัญญา มองภาพใหญ่หรือภาพรวมเป็นหลัก

 

ท่านอาจารย์สอนว่า ข้อคิดข้อแรก คือ ในกระบวนการที่จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพื่อจะช่วยคนอื่น ในบางช่วงอาจจะต้องทำสิ่งที่คนอื่นมองได้ว่าไม่น่าจะทำเลย แต่ก็เป็นการทำด้วยเมตตาเหมือนกัน ข้อคิดข้อที่สองคือ พระธุดงค์ท่านเห็นกับตานะ ไม่ได้ฟังจากคนอื่น แต่ตาตัวเองนี่ก็เชื่อไม่ได้เสมอไป เพราะเราอาจจะเห็นแค่ช่วงสั้นๆ ของเรื่องราวทั้งหมดที่อาจจะสลับซับซ้อน ถ้าเราเห็นเพียงแค่นั้น เราอาจจะด่วนสรุปอย่างผิดๆ ก็ได้


ที่มา: 'เรื่องท่านเล่า' หนังสือรวมนิทานที่พระอาจารย์ชยสาโรเมตตาเล่าไว้ เรียบเรียงโดย ศรีวรา อิสสระ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: อย่าเชื่อตัวเอง
จำนวนข้อความทั้งหมด:  2
1
แสดงความคิดเห็น
yingka

Posts: 50 topics
Joined: 9/11/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 26/1/2558 8:19:00 IP : 119.76.19.170 »   
Re: อย่าเชื่อตัวเอง
 
eka. Talk:

.....

ท่านอาจารย์สอนว่า ข้อคิดข้อแรก คือ ในกระบวนการที่จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพื่อจะช่วยคนอื่น ในบางช่วงอาจจะต้องทำสิ่งที่คนอื่นมองได้ว่าไม่น่าจะทำเลย แต่ก็เป็นการทำด้วยเมตตาเหมือนกัน ข้อคิดข้อที่สองคือ พระธุดงค์ท่านเห็นกับตานะ ไม่ได้ฟังจากคนอื่น แต่ตาตัวเองนี่ก็เชื่อไม่ได้เสมอไป เพราะเราอาจจะเห็นแค่ช่วงสั้นๆ ของเรื่องราวทั้งหมดที่อาจจะสลับซับซ้อน ถ้าเราเห็นเพียงแค่นั้น เราอาจจะด่วนสรุปอย่างผิดๆ ก็ได้

.....



สาธุค่ะ...

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
metha

Posts: 127 topics
Joined: 9/12/2552

ความคิดเห็นที่ 2  « on 26/1/2558 14:16:00 IP : 110.77.138.63 »   
Re: อย่าเชื่อตัวเอง
 

อย่าเชื่อตัวเอง

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในการปฏิบัติเรื่องหนึ่ง
เป็นมงคลชีวิตทั้งข้อที่ ๑ ไม่คบคนพาล
และข้อที่ ๒ คบบัณฑิต
การเชื่อตัวเอง โดยที่เรายังไม่ใช่พระอริยบุคคล
ย่อมเกิดผลเสียแน่นอน
การมีกัลยาณมิตร หรือมีหมู่คณะ(ที่ดี)
คอยตักเตือนติติง ย่อมดีกว่าเดินคนเดียว
เพราะธรรมชาติของใจที่มีกิเลส
ย่อมต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ
หากบังเอิญใจไปติดกับความหลงแล้ว
เปรียบเหมือนคนเมา ที่มักปฏิเสธว่าไม่เมา ๆ ไม่มาวว
หากจะช่วยคนเมา ก็ต้องอาศัยคนไม่เมานี่ล่ะ!!!

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 1 Visits: 16,615,430 Today: 946 PageView/Month: 86,943