luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ  (Read: 41719 times - Reply: 21 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
« Thread Started on 21/1/2553 7:23:00 IP : 203.148.162.128 »
 

“ สติตั้งที่ใจ ดูอยู่ที่ใจ มองอยู่ที่ใจ เห็นอยู่ที่ใจ เพ่งอยู่ที่ใจ กำหนดอยู่ที่ใจ พิจารณาอยู่ที่ใจ ...อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน สติอันเดียว... ก็ไม่หลาย “ 

           “ มันต้องฝึก ฝึกให้เป็นสมาธิ หนักแน่น ... หนักแน่นอย่างดี แล้วก็เพ่งเข้า ๆ  มันก็เกิดแสงสว่าง เกิดความแจ้ง ความสว่าง ความสงบ ขึ้นที่ใจ สุขก็มีมาพร้อม ก็เสวยสุขนี่ละบัดนี้ เสวยสุขจนเบื่อสุข  มันล้นแล้ว  วิปัสสนามันก็วิ่งเข้ามาเลยถามเลย... อันไหนเที่ยง อันไหนไม่เที่ยง อันไหนเที่ยง อันไหนไม่เที่ยง  หมดเลย... สกนธ์กายนี่ ไม่เที่ยงสักสิ่งสักอย่าง โยนทิ้ง โยนทิ้งหมดเลย อยู่กับพระธรรมเท่านั้นแหละ ไปไหนก็ไปด้วยกันนั่นแหละ สบายแล้ว มันก็ยากแท้ละ... พูดนี่ไม่ยากหรอก  มันยากผู้ทำ “

 บัดนี้ หลวงปู่ทาได้มรณภาพไปแล้ว โดยท่านหลวงตามหาบัวเป็นประธานในพิธี กระดูกท่านก็เป็นพระธาตุตั้งแต่วันแรกที่เผา คำสอนท่านเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่มากโวหาร น่าเผยแพร่ให้กว้างขวางออกไป 

ไปฟังธรรมท่านหลายครั้ง แต่ละครั้งหลวงปู่ทาท่านสอนคล้าย ๆ เดิม (เหมือนหลวงปู่ดู่ที่ตอกย้ำในเรื่องให้หมั่นดูจิต รักษาจิต) โดยท่านมักใช้คำว่า "เพ่ง ๆ" แต่ทำไมการปฏิบัติธรรมสมัยใหม่จึงรังเกียจอาการ "เพ่ง" ถึงขนาดจัดว่าเป็นมิจฉาสมาธิเชียว แต่ก็ยังกล่าวอ้างว่าท่านสอนตรงตามอย่างสำนักตน (ซึ่งรังเกียจการเพ่ง)

จึงเป็นข้อเตือนใจให้บรรดาลูกศิษย์ครูบาอาจารย์ ควรที่จะเผยแผ่คำสอนครูบาอาจารย์อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนคำสอนเดิมของท่าน การขยายความหรือให้ความเห็นเพิ่มเพื่อความเข้าใจของผู้อ่านหรือผู้ฟัง ย่อมทำได้ แต่ควรแยกส่วนออกมา มิใช่ไปดัดแปลงคำพูดท่านจนกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูปไป รวมทั้งไม่พยายามตีความหรือให้นิยามใหม่เพื่อสนับสนุนแนวคิดของตน จนคนเก่าคนใหม่พากันสับสน และไม่เป็นการซื่อตรงต่อครูอาจารย์ .

...จงมีความเคารพเอื้อเฟื้อในธรรมของพระพุทธเจ้าและครูอาจารย์ (ให้ยิ่งกว่าทิฏฐิความเห็นของตน)

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
จำนวนข้อความทั้งหมด:  16
1
2
>
แสดงความคิดเห็น
รชภ

Posts: 7 topics
Joined: 7/11/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 21/1/2553 21:56:00 IP : 58.10.90.198 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 

โมทนาครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
manitgr

Posts: 0 topics
Joined: 3/2/2553

ความคิดเห็นที่ 2  « on 7/3/2553 0:54:00 IP : 180.180.30.51 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 
สาธุ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ลับแล

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 3  « on 8/3/2553 10:58:00 IP : 58.9.192.99 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 
อนุโมทนา สาธุค่ะ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ชัชวาล

Posts: 8 topics
Joined: 13/3/2553

ความคิดเห็นที่ 4  « on 14/3/2553 13:37:00 IP : 202.149.25.225 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 

ขอบคุณมากๆครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
พ.ธรรมรังสี

Posts: 0 topics
Joined: 13/6/2553

ความคิดเห็นที่ 5  « on 29/6/2553 12:43:00 IP : 111.84.176.62 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 
สาธุ    ธรรมแท้ๆ    ธรรมเป็นธรรม
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 6  « on 13/4/2555 8:22:00 IP : 58.11.204.222 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 

ยุคสมัยนี้ เป็นยุคที่อาจารย์รุ่นใหม่พยายามหาทางลัดมาตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่อยากได้บรรลุธรรมโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ยิ่งพยากรณ์หรือรับรองว่าคนนั้นคนนี้บรรลุธรรมชั้นนั้นชั้นนี้ หรือบ้างก็อ้างความผูกพันธ์กันมาแต่ชาติปางก่อน อย่างนี้แล้ว ศิษย์ก็ยิ่งเกิดความจงรักภักดี ไม่ไปไหนอื่นทีเดียว

การปฏิบัติธรรมแนวใหม่จึงออกไปในทาง "ไร้การปฏิบัติ" เพราะมันสบายดี จะไม่สบายได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีการข่มจิต  ไม่ต้องฝืนกิเลส เช่นสอนว่าความโกรธเกิดขึ้นก็ไม่ต้องละ ให้ดูหรือรู้เฉย ๆ

...พระพุทธเจ้าสอนว่ากิเลสหรือสมุทัยเป็นสิ่งที่ต้องละ ส่วนตัวทุกข์เป็นสิ่งที่ต้อง (กำหนด) รู้   แต่นี่กำลังสอนว่ากิเลสหรือสมุทัยเป็นสิ่งที่ต้อง (กำหนด) รู้ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องละ! 

มาถึงตอนนี้ก็ยิ่งเห็นความสำคัญที่พระพุทธเจ้าสอนเรื่อง "กิจในอริยสัจ ๔" ในเรื่องที่ว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้ สมุทัยเป็นสิ่งที่ต้องละ  นิโรธเป็นสิ่งที่ต้องกระทำให้แจ้ง และมรรคเป็นสิ่งที่ต้องเจริญ (กระทำ บำเพ็ญ)

พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดว่าพระพุทธศาสนาเป็น "กรรมวาที" วิริยะวาที" "กิริยะวาที" เป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ

ไม่ได้ปฏิบัติ หรือไม่ได้ทำงาน ผลงานย่อมไม่เกิด ผู้ที่เขาบำเพ็ญถึงที่สุดแล้วเท่านั้น จึงจะได้ชื่อว่า "อสิกขา" คือเสร็จกิจแล้ว ...ตราบใดที่กิเลสยังไม่หมด กิจคือการกระทำเพื่อชำระล้างก็ต้องดำเนินต่อไป

ความจริงแล้วเรื่อง "การเพ่ง การจ้อง การกำหนด การบังคับ การข่มจิต" ที่สำนักปฏิบัติยุคใหม่พากันระบุว่าเป็นสิ่งผิด (หรือเรียกว่าเป็นมิจฉาสมาธิ) นั้น ก็เท่ากับประกาศว่าการปฏิบัติและการสอนของครูบาอาจารย์ที่ผ่านมาไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่รู้ว่า "อัฐิของท่านเหล่านั้นเป็นพระธาตุไปได้อย่างไร"

การทำสมาธิมีเป้าหมายเพื่อจิตอยู่ในอารมณ์เดียว หากไม่อาศัยการเพ่ง การจ้อง การบังคับ การข่มจิต มันจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร ปัญหาที่นักปฏิบัติต้องค่อย ๆ เรียนรู้คือ ทำอย่างไร วางใจอย่างไร จึงจะเป็นการกระทำที่ "พอดี" เรียกว่าเรียนรู้ที่จะ เพ่งพอดี ๆ จ้องพอดี ๆ กำหนดพอดี ๆ บังคับจิตพอดี ๆ ข่มจิตพอดี ๆ  

หลวงพ่อชาท่านใช้อุปมาที่ช่วยให้เห็นภาพและเข้าใจชัดในเรื่องนี้ ท่านอุปมาการทำสมาธิเหมือนการจับปลาช่อนให้อยู่มือ ท่านว่าหากเราจับมันหรือบีบมือแรงไป ปลาช่อนก็หลุดมือ  ในทางตรงกันข้าม หากเราจับมันหรือบีบมือเบาไป ปลาช่อนก็หลุดมืออีก ท่านให้เราพิจารณาและเรียนรู้ถึงการจับที่ออกแรงพอดี ๆ คือ วางใจบังคับจิต ข่มจิต พอดี ๆ

สัตว์ป่า จะเอามาใช้งานได้ก็โดยอาศัยผ่านการฝึก การบังคับ การดัด (นิสัย) จิตของเรามันยิ่งกว่าสัตว์ป่าอีก ถ้าไม่ดัด ไม่ข่มมัน มันก็จะไปตามสัญชาติญาณของมัน ก็เหมือนอย่างเด็ก ถ้าเราไม่สอนให้รู้จักถ่ายเป็นที่ เด็กก็คงจะถ่ายไม่เลือกที่

จะทำสมาธิ แต่ปฏิเสธ การ concentrate หรือ focus (ขออนุญาตใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ) ซึ่งก็คือการเพ่ง การจ้อง การบังคับ การข่มจิต ฯลฯ แล้วจิตจะรวมได้อย่างไร เว้นแต่เรามิได้มุ่งเป้าหมายในทางสมาธิ ต้องการให้จิตมันรวมเข้ามาอยู่ในอารมณ์เดียว เป็นจิตที่ตั้งมั่นทรงตัวที่จะเป็นเครื่องมือหรือพื้นฐานที่เอื้อต่อการทำงานในทางปัญญาต่อไป 

การตามดูตามรู้ความฟุ้งนั้นมันเป็นแขนงย่อย ไม่ใช่ตัวปฏิบัติที่เป็นหลัก เคยนั่งฟังหลวงพ่อพุธท่านสนทนาธรรม ท่านสอนว่า หากทำความสงบจิตโดยอุบายบริกรรมภาวนาแล้วเอาไม่อยู่ แทนที่จะเลิกการปฏิบัติก็ลองตามดูเจ้าความฟุ้งซ่านไป ดูมันไปซิว่ามันจะไปจบที่ไหน เหมือนม้ามันยังพยศ เราก็ตามจับหางมันไป กระทั่งมันเหนื่อย มันคลายพยศแล้ว เราจึงค่อยดึงมันกลับมาด้วยคำบริกรรมภาวนาหรืออุบายทางสมาธิที่ตนถนัดต่อไป

ที่แสดงทัศนะมาทั้งหมดนี้ ก็เพราะสลดใจที่ครูบาอาจารย์ยุคใหม่ ไม่ซื่อตรงต่อธรรม ในสมัยหลวงปู่ทายังมีชีวิต ท่านพูดสอนซ้ำ ๆ ในสำนวนที่ว่า "กำหนดเข้าไป เพ่งเข้า ๆ" แต่การเผยแพร่ของบางสำนักกลับเป็นว่า "ท่านสอนให้รู้ซื่อ ๆ (รู้เฉย ๆ)"  แถมสำทับว่า เพ่ง จ้อง กำหนด บังคับ ฯลฯ ผิดหมด เป็นมิจฉา ซึ่งนอกจากคำว่า "รู้ซื่อ ๆ" นั้น ศิษย์ส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยินกันแล้ว ยังเผยแพร่ไปในทางตรงกันข้ามกับท่าน นี่ถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่จะรู้สึกอย่างไรว่า สิ่งที่ท่านสอนว่าให้ทำ เขากลับบอกว่าท่านสอนไม่ให้ทำ ส่วนสิ่งที่ไม่ได้สอนให้ทำ เขาอ้างว่าท่านสอนให้ทำ

วิธีการทำนองนี้ ก็มักทำกับครูอาจารย์ที่ท่านละสังขารไปแล้ว ดังอีกกรณีหนึ่ง คือ ในช่วงที่ผมมีโอกาสทำหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่สุวัจน์  ก็มีความพยายามของสำนักนี้ในการส่งบันทึกธรรมหลวงปู่สุวัจน์มาให้ลงแทรก ซึ่งแน่นอนก็จะมีคำว่า  "รู้ซื่อ ๆ ไม่เพ่ง ไม่จ้อง" ปนมาอยู่ในนี้ ผมจึงนำไปให้ศิษย์ที่ใกล้ชิดที่ได้ฟังธรรมของหลวงปู่อยู่เป็นประจำช่วยพิจารณาว่าใช่สำนวนของหลวงปู่หรือเปล่า ผลก็คือ ทุกคนตอบว่าฟังดูแปลก ๆ ไม่เคยได้ยิน

แต่ไม่เป็นไร ไม่มีคนอื่นเคยได้ยินก็ใช่ว่าจะผิด เพราะหลวงปู่อาจกล่าวสอนเฉพาะกับใครบางคน แล้วคนอื่น ๆ ไม่ได้ยิน ดังนั้น ผมจึงนำบันทึกธรรมอันนั้น ไปให้พระเถระ (ศิษย์อาวุโสท่านหนึ่งของหลวงตามหาบัว) ช่วยพิจารณา ท่านพิจารณาแล้ว บอกว่า "ไม่น่าถูกต้อง" เมื่อเป็นดังนี้ ผมจึงไม่นำมาลง เพราะมีความเสี่ยงที่จะไม่ถูกต้อง (คือไม่ใช่คำสอนของหลวงปู่จริง) และเสี่ยงที่จะไม่เป็นธรรม (คือสอนไม่ถูกต้อง)

การได้เห็นกระบวนการหรือความพยายามอ้างครูบาอาจารย์ที่ท่านละสังขารไปแล้วมารับรองตนเอง จึงนำมาซึ่งข้อความที่พรรณนามา แล้วก็คิดว่าอาจไปกระทบกับศรัทธาความเชื่อของบางท่าน ก็ขอให้ได้ถือเป็นจุดให้ฉุกคิดโดยพิจารณาด้วยใจเป็นธรรม แล้วเทียบเคียงสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน จากพระสูตรโดยตรง มิใช่จากการกล่าวอ้างหรือตีความโดยเจ้าสำนักนั้น ๆ ที่เด่นชัดมากก็คือ พระพุทธเจ้าสอนให้ข่มจิต ดัดจิต อบรมจิต ฯลฯ ในหลายที่หลายแห่ง แม้การเจริญสัมมาสมาธิ ท่านก็ว่าคือการเจริญฌาณทั้ง ๔ ให้เกิดขึ้น แล้วฌาณก็แปลว่า "การเพ่ง"

ดังนั้น การเพ่ง การจ้อง การบังคับ การข่ม การกำหนด ฯลฯ ไม่ผิดแน่นอน นอกจากไม่ผิดแล้วยังเป็นข้อควรปฏิบัติอีกด้วย หากจะมีปัญหา ก็เป็นเรื่องว่าจะต้องเพ่งพอดี ๆ  จ้องพอดี ๆ  บังคับพอดี ๆ  ข่มพอดี ๆ  กำหนดพอดี ๆ ฯลฯ ต่างหาก ดังอุบายเรื่องการจับปลาช่อนให้อยู่มือที่ยกมาข้างต้น

บันทึกไว้เพื่อร่วมรักษาธรรม

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ธุลีดิน

Posts: 0 topics
Joined: 17/5/2554

ความคิดเห็นที่ 7  « on 13/4/2555 11:06:00 IP : 58.8.24.30 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 

ขอนุญาติเรียนถามคุณพรสิทธิ์ เพื่อพอเป็นความรู้บ้างดังนี้ครับ..

1. คำที่ครูบาอาจารย์ท่านว่า เพ่งก็ดี จ้องก็ดี สติจับก็ดี กำหนดรู้ก็ดี ฯลฯ แท้จริงแล้ว ต่างใช่คำหมายนัยยะเดี่ยวกันหรือไม่  หรือจะแตกต่างเพียงแต่ที่การใช้คำ หรือสถานการ์ณการพูดของครูอาจารย์ท่าน หรือไม่อย่างไรขอรับ เช่น หากสติไม่จับ จะจ้องจะเพ่งได้อย่างไร ? 

2. จากหนังสือหลวงปู่ฝากไว้ ของ หลวงปู่ดุลย์ท่าน บางตอนว่า..

* ทุกข์ให้กำหนดรู้..เมื่อรู้ก็ไม่เอา ก็เท่านั้น..

* โกรธ ไม่มีใครละได้หรอก เป็นของที่มีเขามีอยู่แล้วเป็นปกติธรรมชาติของเขา มีแต่รู้..เมื่อรู้ ก็ไม่เอา ก็เท่านั้น..

การรู้..ซึ่งความหมายของหลวงปู่ดุลย์ท่านนี่ แท้จริงแล้ว ก็คือซึ่งความหมาย ก็คือ การละ.. นี่ล่ะ  ต่างกันที่จะสื่อ เล่นคำ ใช้คำ อย่างไรของครูอาจารย์องค์นั้นๆ  เป็นไปได้หรือไม่อย่างไร ?

3. แท้จริงแล้ว ข้อธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์ไม่ว่าจะหลวงปู่ หลวงตาองค์ไหนๆ ก็หาซึ่งแตกต่างกันไม่ ต่างอยู่ในร่องเดียวกันไม่คลาดเคลื่อน

ที่จะแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่หรือจะเป็นเพราะบรรดาศิษย์ซะส่วนใหญ่ ที่ยังคงปฏิบัติครึ่งๆกลางๆ รู้บ้างไม่รู้บ้างดังเช่นพวกๆเรา ที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติไปปฏิบัติมา ต่างยึดมั่นเอาความเข้าใจแห่งตัว บ้างยึดติดในตัวครูบาอาจารย์แห่งตัว หรือบ้างมักจ้องเอากับตัวหนังสือเฉพาะตัว โดยหามองซึ่งนัยยะความหมายแห่งภาพรวม หรือเจตนาในการสื่อความของครูบาอาจารย์ท่านโดยภาพรวมไม่  

บ้างยกเอาข้อความเฉพาะครูบาอาจารย์แห่งตัว บ้างยกเอาพระสูตรบทนั้นบทนี่ เหมือนจะยกเอาพระไตรปิฏกทั้งเล่มมาถกมาเถียง มาเกใส่ทับ แล้วเอากิเลสแห่งตัวถาโถมเข้าโจมตี อวดเก่ง อวดดี อวดภูมิใส่ทับกัน ดังจะเห็นจะข้อเขียนทะเลาะเบาะแว้ง ในกระทู้เวบต่างๆมากมายในปัจจุบัน

ทั้งๆดูไปดูมา ก็คือ ออกจะเถียงในเรื่องเดียวกัน

ทั้งๆที่ดูไปดูมา จากผู้ปฏิบัติธรรม จึงเป็นกลายเป็นผู้เอากิเลสใส่ทับกัน

นึกถึงครูอาจารย์ ท่านรู้ ท่านเห็น ท่านคงได้แต่นั่งหัวเราะ สมเพศ กิเลสแห่งมนุษย์โลก 

ฤา..ธรรมะนี่ เป็นของยากหนอ...

 

ด้วยความเคราพครับ

 

 

 

  

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
น้อง

Posts: 5 topics
Joined: 17/3/2554

ความคิดเห็นที่ 8  « on 13/4/2555 15:31:00 IP : 124.121.233.239 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 

โมทนาสาธุทั้งหมดทั้งมวล

เคารพเอื้อเฟื้อในธรรมของพระพุทธเจ้าและครูอาจารย์ (ให้ยิ่งกว่าทิฏฐิความเห็นของตน) พึ่งเข้าใจความหมายคำว่าเคารพเอื้อเฟื้อ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Aimee2500

Posts: 44 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 9  « on 13/4/2555 19:21:00 IP : 86.135.5.38 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 

จึง เป็นข้อเตือนใจให้บรรดาลูกศิษย์ครูบาอาจารย์ ควรที่จะเผยแผ่คำสอนครูบาอาจารย์อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนคำสอนเดิมของท่าน การขยายความหรือให้ความเห็นเพิ่มเพื่อความเข้าใจของผู้อ่านหรือผู้ฟัง ย่อมทำได้ แต่ควรแยกส่วนออกมา มิใช่ไปดัดแปลงคำพูดท่านจนกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูปไป รวมทั้งไม่พยายามตีความหรือให้นิยามใหม่เพื่อสนับสนุนแนวคิดของตน จนคนเก่าคนใหม่พากันสับสน และไม่เป็นการซื่อตรงต่อครูอาจารย์ .

...จงมีความเคารพเอื้อเฟื้อในธรรมของพระพุทธเจ้าและครูอาจารย์ (ให้ยิ่งกว่าทิฏฐิความเห็นของตน)


*************************

สัทธา ทานัง อนุโมทามิ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 10  « on 14/4/2555 7:57:00 IP : 124.121.162.21 »   
Re: คติธรรมหลวงปู่ทา พระที่น่าเคารพ
 

เมื่อวานกลับบ้านดึกไปหน่อย เลยขอมาตอบคำถามคุณธุลีดินในตอนเช้านี้

1. คำที่ครูบาอาจารย์ท่านว่า เพ่งก็ดี จ้องก็ดี สติจับก็ดี กำหนดรู้ก็ดี ฯลฯ แท้จริงแล้ว ต่างใช่คำหมายนัยยะเดี่ยวกันหรือไม่  หรือจะแตกต่างเพียงแต่ที่การใช้คำ หรือสถานการ์ณการพูดของครูอาจารย์ท่าน หรือไม่อย่างไรขอรับ เช่น หากสติไม่จับ จะจ้องจะเพ่งได้อย่างไร ?

ขออนุญาตสรุปความเข้าใจว่าคุณธุลีดินต้องการถามว่า "เป็นไปได้หรือไม่ที่ครูบาอาจารย์ใช้ศัพท์เหมือนกัน แต่คนละความหมาย เช่น คำว่าเพ่งของท่านหนึ่ง ก็อาจต่างจากเพ่งของอีกท่านหนึ่ง"

ข้อนี้ ผมเห็นว่าเป็นไปได้ แต่ถามว่า จะสร้างนิยามใหม่ให้สับสนไปทำไม? แต่ประเด็นนี้ ไม่ใช่การสร้างนิยามใหม่ หากแต่เป็นกรณีที่บอกว่าเพ่ง ประคอง ข่ม บังคับ (จิต) นั้นผิด บางทีใช้คำว่า "มิจฉา" เสียด้วยซ้ำ

แต่ถ้าบอกสอนว่า การเพ่ง ประคอง ข่ม บังคับ (จิต) เหมาะกับสถานการณ์..... แต่ไม่เหมาะกับสถานการณ์.... ดังที่คุณธุลีดินสันนิษฐาน อันนี้ผมเห็นด้วยทีเดียว เพราะพระพุทธเจ้าและครูอาจารย์ก็สอนอย่างนั้น เป็นเด็กอยู่ก็ต้องอาศัยการประคอง พอโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็อาศัยการเฝ้าดูหรือรู้แทน อย่างนี้ฟังขึ้น แต่มิใช่ว่าอย่าประคองนะมันผิด บังคับจิตข่มจิตก็ผิด กำหนดผิด ฯลฯ อุปมาเหมือนเด็กยังยืนทรงตัวไม่ได้เลย ก็สอนว่าไม่ต้องยึดฉวยหรือประคองตัว แต่ต้องออกวิ่งเลยนะ  หรือเด็กยังเพิ่งขัดขี่จักรยานก็บอกว่าอย่าบังคับหรือจับแฮนด์จนแน่น ให้ขี่แบบปล่อยมือเลยนะ ซึ่งคำสอนอย่างนี้ ถือว่าไม่ได้คำนึงถึงข้อ "ธรรมะมีลำดับขั้นตอน"

ส่วนที่คุณธุลีดินถามว่า "...เช่น หากสติไม่จับ จะจ้องจะเพ่งได้อย่างไร ?" อันนี้ผมไม่เข้าใจคำถามหรือเจตนาของการถาม เพราะผมก็เห็นว่าการทำงานของจิตในทางธรรมก็ยืนบนพื้นฐานของสติทั้งนั้น ไม่มียกเว้นเลย

2. จากหนังสือหลวงปู่ฝากไว้ ของ หลวงปู่ดุลย์ท่าน บางตอนว่า..

* ทุกข์ให้กำหนดรู้..เมื่อรู้ก็ไม่เอา ก็เท่านั้น..

* โกรธ ไม่มีใครละได้หรอก เป็นของที่มีเขามีอยู่แล้วเป็นปกติธรรมชาติของเขา มีแต่รู้..เมื่อรู้ ก็ไม่เอา ก็เท่านั้น..

การรู้..ซึ่งความหมายของหลวงปู่ดุลย์ท่านนี่ แท้จริงแล้ว ก็คือซึ่งความหมาย ก็คือ การละ.. นี่ล่ะ  ต่างกันที่จะสื่อ เล่นคำ ใช้คำ อย่างไรของครูอาจารย์องค์นั้นๆ  เป็นไปได้หรือไม่อย่างไร ?

ข้อนี้ผมเห็นด้วยกับคุณธุลีดินครับ และผมก็ไม่เคยติดใจกับโอวาทและปฏิปทาของหลวงปู่ดูลย์ แต่อย่างใดเลย

3. แท้จริงแล้ว ข้อธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์ไม่ว่าจะหลวงปู่ หลวงตาองค์ไหนๆ ก็หาซึ่งแตกต่างกันไม่ ต่างอยู่ในร่องเดียวกันไม่คลาดเคลื่อน

ผมเห็นว่าความเชื่อข้างต้นนั้นเกิดจากการมองโลกในแง่ดี แต่ไม่ได้มองโลกตามความเป็นจริง เพราะถ้าครูบาอาจารย์สอนสอดคล้องไปในทางเดียวกันจริง ก็คงไม่เกิดการสังคายนาพระไตรปิฎกหลายครั้งหลายครา

(เสนอให้เปลี่ยนเนื้อความใหม่ว่า หากเป็นคำสอนของพระแท้แล้ว ย่อมลงกันได้สนิท)

ส่วนท้ายของคำถามข้อ ๓?. "..บ้างยกเอาข้อความเฉพาะครูบาอาจารย์แห่งตัว บ้างยกเอาพระสูตรบทนั้นบทนี่ เหมือนจะยกเอาพระไตรปิฏกทั้งเล่มมาถกมาเถียง มาเกใส่ทับ"

?อันนี้ควรดูที่เจตนา หากเป็นไปเพื่อเกทับ ผมก็เห็นด้วยกับคุณธุลีดินว่าไม่ควร แต่หากการยกมาอ้างอิงด้วยต้องการรักษาไม้บรรทัด (พระธรรม) อันนี้ผมว่านอกจากไม่ผิดแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติในฐานะที่พระพุทธองค์ฝากพระศาสนาไว้กับพุทธบริษัท ๔

(ต่อจากนี้ไม่เกี่ยวกับคำถามคำตอบ)

ผมเองค่อนไปในทาง "พรรคอนุรักษ์นิยม" เพราะในเมื่อตัวเองสมัครใจมาเป็นพุทธสาวกแล้ว ก็ต้องยกพระธรรมเป็นใหญ่ และยกไว้เหนือครูบาอาจารย์ หากพบว่าครูอาจารย์สอนไม่สอดคล้องกับพระธรรม ผมก็ขอเลือกพระธรรม โดยการห่างครูบาอาจารย์นั้น ๆ

?การสื่อสารเผยแพร่ในเว็บหลวงปู่อมยิ้มนี้ ปณิธานที่ยังมั่นคงอยู่คือความปรารถนาดีในการเป็นส่วนหนึ่งของการปลูกศรัทธาและปัญญาในทางที่ถูกที่ควร (อาศัยไม้บรรทัดที่พระพุทธเจ้าให้ไว้) เพื่อประโยชน์ของผู้เข้ามาศึกษา มิใช่เพื่อแสวงหาชื่อเสียงหรือลาภสักการะ หรือเพื่อจะไปกดข่มใคร ๆ แม้แต่น้อยเพราะมันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ

ด้วยความที่เดินมาก่อน ย่อมเห็นอะไร ๆ มาก่อนผู้มาใหม่ ดังนั้น หากมองเห็นหลุมเห็นบ่อตรงไหน เราก็ขอทำหน้าที่เตือนผู้มาใหม่ให้ระวัง เพราะชีวิตไม่ได้มีเหลือเฟือสำหรับการลองผิดลองถูกไปเสียทุกเรื่อง

คุณธุลีดินก็ได้ฟังทัศนะผมแล้ว ส่วนว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย จะเป็นที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจก็เป็นส่วนของคุณธุลีดิน ที่ผมยกกระทู้นี้มาเพราะเห็นว่าเป็นภัยกับพระพุทธศาสนา เพราะสำนักดังกล่าวได้ก้าวเข้าไปมีส่วนในการสร้างตำรับตำราในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีเนื้อหาทำให้เด็กนักเรียนมีทัศนะด้านลบกับการทำสมาธิ รวมทั้งทัศนะที่เป็นโทษกับเยาวชน ซึ่งผมยกมาให้อ่านสักตอนหนึ่งนะครับ

ในหนังสือสอนธรรมแก่เยาวชนเล่มนั้น มีข้อความตอนหนึ่งว่า

"พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสตร์ที่จะสอนให้จิตสงบนิ่ง มีสมาธินาน ๆ ดูแล้วเรียบร้อยเหมือนกลายร่างเป็นก้อนหินกับต้นไม้ พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสตร์ที่สอนให้จิตหนักแน่นสมชายชาตรี อึดต่อการตบตีเหมือนนางเอกละคร"

อีกตอนหนึ่งคือ

"การประคอง...อุปมากับการอยากรักษาความดีให้เป็นคนดีถาวร คิดดีตลอดเวลา นั้นก็เครียดและเมื่อย แถมยังไม่ใช่ทางสู่พระนิพพาน

การผลัก...อุปมากับการผลักไสความชั่ว การห้ามคิดชั่วตลอดกาลนั้นเหนื่อยเปล่าและก็ไม่ใช่ทางสู่นิพพาน"

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
2
>
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 3 Visits: 16,615,300 Today: 813 PageView/Month: 86,799