luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน  (Read: 89449 times - Reply: 55 comments)   
metha

Posts: 127 topics
Joined: 9/12/2552

ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
« Thread Started on 31/5/2554 10:44:00 IP : 58.10.234.85 »
 

มีคำถามหนึ่งที่มักจะมีผู้ถามกันอยู่บ่อยๆ
ในแวดวงผู้คนที่หันมาสนใจฝึกหัดทำสมาธิภาวนา คือ
จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใด
หรือฝึกทำสมาธิแบบไหน
จึงจะเหมาะกับจริตนิสัยของตน

เป็นคำถามที่ดีจึงขอเปิดกระทู้ให้ผู้สนใจมาแลกเปลี่ยนกัน

 

หลวงปู่ดู่ท่านเคยสอนไว้อย่างไร

ผมจะเล่าให้ฟังกันในตอนต่อไป

 

 

 

 

 

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
จำนวนข้อความทั้งหมด:  23
1
2
3
>
แสดงความคิดเห็น
piak

Posts: 0 topics
Joined: 23/3/2553

ความคิดเห็นที่ 1  « on 31/5/2554 15:46:00 IP : 192.165.213.18 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 

ผมคิดว่าสำหรับคนส่วนใหญ่เรามักจะยอมแพ้ก่อนที่จะรู้อย่างแท้จริงว่ากรรมฐานกองใดหรือฝึกทำสมาธิแบบไหนจึงจะเหมาะกับจริตนิสัยของตน

ผมคิดว่ามีความเชื่อในทางปฏิบัติและไม่ยอมแพ้และในที่สุดคุณจะรู้เองหากคุณฝึกอย่างต่อเนื่อง สำหรับผมประมาณ 2 ปีและผมเริ่มจะเข้าใจนิด ๆ หน่อย ๆ แต่ความเชื่อและศรัทธานั้นมีตั้งแต่วันแรกและยังไม่ได้ลดลงเลย

สำหรับผมจิตของผมบอกว่าได้พบภูเขาทองแล้ว..สาธุ!
ตอนนี้ผมจำเป็นต้องทำงานและใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจะขุดมันได้และนำมาไว้ที่บ้าน …

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
คุณชาย

Posts: 1 topics
Joined: 19/11/2552

ความคิดเห็นที่ 2  « on 31/5/2554 21:15:00 IP : 125.26.14.20 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 

อยากทราบเหมือนกันครับ....

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ศิษย์ใหม่

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 3  « on 31/5/2554 22:33:00 IP : 58.8.158.72 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 

เดินจงกลมก็เช่นกัน..จะเดินเร็ว เดินช้า กลับตัวอย่างไร ท่าไร ก็ไม่สนใจ ก้าวเท้าซ้าย เท้าขวาก็ไม่รู้..เดินไป..รู้อยู่กับลมหายใจเข้า-ออกอย่างเดียว..

เคยลองเดินแบบกำหนดรู้ ที่ละก้าวๆ ช้าๆ..แหม..สำหรับเรา รวมยังไงก็รวมไม่ได้ จิตไปติดอยู่กับท่าทาง ใช้กับชีวิตประจำวันก็ไม่ได้.ก็เลยไม่ค่อยถูกกับจริตเท่าไร

การนั่งภาวนาสำหรับเรา ไม่รู้เพื่อนท่านใดเหมือนกันบ้าง

วันใดนั่งสวดมนต์นานๆ..จะนั่งต่อ..นั่งยังไงๆ ก็ไม่ลง

บทอยากจะนั่ง อยากจะสงบ ไม่สวดคาถาใดทั้งนั้น นั่งเลยงั้นแหละ..เออ..แปลก วันนั้นกลับสงบดี ลงง่ายกว่าปกติ

เทคนิคส่วนตัวสำหรับผมอย่างหนึ่งก็คือ..ก่อนนั่งทุกครั้ง จะจินตนาการก่อนว่า เราเป็นคนโง่ แสนโง่ ไม่เคยรู้หนังสือ ไม่เคยร่ำเรียนใดมา ไม่เคยอ่านบทความใดๆทั้งสิ้นอันเกียวกับธรรมะ จินตนาให้ตนเองเหมือนคนป่าคนดง ให้จิตอ่อนตัวลงก่อน แล้วจึงเริ่มนั่งเข้าที่ภาวนา หรือจะคิดเรื่องคนตายก็ได้ สร้างจินตนาการคิดอะไรก็ได้ ที่ทำให้จิตแรกเริ่มรู้สึกหดหู่ อ่อนกำลังลงก่อนในเบื้องต้น

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ณัฐฐ์

Posts: 0 topics
Joined: 21/2/2553

ความคิดเห็นที่ 4  « on 1/6/2554 0:32:00 IP : 58.64.111.203 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 

ตอนเด็กถ้าไม่นับที่ถูกบังคับให้นั่งสมาธิเมื่อตอนเรียนวิชาพุทธศาสนา ก็ถือว่ายังนั่งสมาธิไม่เป็น เป็นแต่นอนสมาธิ เมื่อเข้านอนจะตามรู้ลมหายใจเพียงอย่างเดียวจนกระทั่งหลับ  ปรากฏว่าหัวโล่ง เรียนมีสมาธิดีมาก ตื่นนอนตอนเช้าเวลาหกโมงเป๊ะทุกวันโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก 

พอโตขึ้นมาก็มานั่งสมาธิ มีฟังคนโน้นคนนี้ ฟังซีดีครูบาอาจารย์บ้าง ก็เลยนั่งแบบกำหนดพุทโธๆ และรู้ลมหายใจ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษเพราะไม่รู้รายละเอียดว่าต้องมีหลักการอะไรบ้าง  

นอกจากพุทโธ  ก็เคยเปลี่ยนมาบริกรรมเป็น พุทธัง/ธัมมัง/สังฆัง สรณัง คัจฉามิ บริกรรมแบบอื่นไม่เคย  และก็เคยมีลองนึกแบบอสุภะด้วย (ใช้คำว่านึก เพราะทำแบบไม่มีหลักการ คิดเอาเองค่ะ  แต่ตอนหลังมารู้ว่าควรทำตอนที่มีครูบาอาจารย์อยู่เพราะอันตรายถ้าไม่มีใครนำ)  และบางทีก็ไม่บริกรรมอะไรเลย ตามรู้ลมหายใจไปอย่างเดียวเหมือนเมื่อตอนสมัยเด็กก็มี

ทีนี้จะรู้ได้อย่างไรว่า อันไหนเหมาะกับจริตนิสัยเรา  อันนี้พอตอบตัวเองได้ว่าเป็นอานาปานสติ ส่วนบริกรรมจะเป็นแบบใดก็ได้ไม่ว่าพุทโธ หรือ พุทธัง สรณังฯ แต่จะเคยชินกับอย่างหนึ่งอย่างใดในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น และจะบริกรรมไปจนหายไปเอง เหลือตามรู้แต่ลมหายใจ  เมื่อนั่งสมาธิแบบนี้ความรู้สึกเมื่อได้ผลดีนั้น (เท่าที่ตัวเองประสบมาจะยังเป็นแบบธรรมดาๆ เพราะไม่ได้หมั่นฝึกปฏิบัติ) ก็คือ จะรู้สึกโล่ง ชุ่มเย็น เบาสบาย นั่งได้นานไม่ปวดขา มีความรู้สึกตัวแต่บางครั้งก็ดิ่งวูบตกภวังค์ไปก็มี  เมื่อออกจากสมาธิขาก็ไม่ปวดไม่เป็นเหน็บชาและรู้สึกสดชื่นเหมือนได้พักผ่อนมาอย่างเต็มที่  

นั่งแบบอสุภะที่เคยลองเพราะไม่กลัวเมื่อนึกถึงอวัยวะร่างกาย  ก็ดีในแง่ที่เรา "ปลง" ในสังขารได้จริงๆ ไม่เห็นมีอะไรสวยงาม  แต่คิดว่าวิธีการที่ตัวเองนั่งก็ไม่ใช่อสุภะที่แท้จริง น่าจะเป็นการนึกตามไปเรื่อยๆ เองมากกว่า และก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความชุ่มเย็นอะไร  แถมมีคนเตือนก็เลยเลิกค่ะ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ต้นตรง

Posts: 1 topics
Joined: 22/7/2553

ความคิดเห็นที่ 5  « on 1/6/2554 0:39:00 IP : 58.10.87.232 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 

น่าจะลองทำแบบใดแบบหนึ่งเต็มที่ก่อน แล้วดูความก้าวหน้า(ความสงบ)ของตนเองครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
supa

Posts: 2 topics
Joined: 17/5/2554

ความคิดเห็นที่ 6  « on 1/6/2554 9:48:00 IP : 110.164.236.63 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 

กำหนดรู้ลมหายใจ เข้า ออก บริกรรม เข้า - ออก ถ้าจิตไม่จดจ่อลมหายใจ จึงกำหนดฟุ้งหนอ ใด้ยินหนอ ร้อนหนอ และอะไรอีกมากมายตามอาการ เดิมทีบริกรรม ยุบหนอ พองหนอแต่หายใจไม่สบายและกำหนดยาก ไม่ทันบ้าง ลืมบ้าง ไม่เห็นอาการพองยุบของท้องบ้าง สุดท้ายลอง เข้า - ออก ก็ค่อยสงบบ้าง

 ระหว่างวัน คือเวลาที่ไม่นั่งสมาธิ ก็คอยตามดูลมหายใจเข้า ออก พระอาจารย์บอกว่าทำบ่อยๆแล้วจิตจะชินเอง   ก็เห็นจะเริ่มชินแต่ก็ไม่ง่ายเลย

 มีคำเตือนใจตัวเองบ่อยๆ หมั่นทำเข้าไว้ อย่าให้กิเลสเอาไปกินมากกว่านี้ 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
MEENOI

Posts: 4 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 7  « on 1/6/2554 20:20:00 IP : 113.53.72.31 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 

 

เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่ตอบยากทีเดียว เราอยู่กับตัวเองตั้งแต่เกิดจนตาย น้อยคนนักที่จะรู้จักตัวเอง

ในพุทธประวัติยังเคยกล่าวถึงพระสารีบุตร มอบอสุภกรรมฐานแก่ลูกชายนายช่างทอง

แต่ลูกชายนายช่างทองกลับไม่ก้าวหน้าในกรรมฐานกองนั้น เมื่อลูกชายนายช่างทองไปเฝ้า

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระพุทธองค์ก็ทรงประทานกสิณสีแดงเป็นกรรมฐาน

นี่ขาดพระสารีบุตผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวายังเลือกกรรมฐานไม่ตรงกับจริตลูกชายนายช่างทอง

แต่ทั้งนี้ในหนังสือหนังสือ พุทธธรรมฉบับขยายความ ป.ประยุตโต หน้า 85

 อธิบายความ ในกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนนั้นมีลักษณะเฉพาะของแต่ละกอง

ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ได้บรรยายตามตารางนี้ สรุปความได้ว่า 

1.กสิณ 10
วรรณกสิณหรือกสิณสี เหมาะกับจริต โทสะจริต
ขั้นความสำเร็จ ฌาน 1-4
กสิณอื่นๆ เหมาะกับจริต ทุกๆจริต
ขั้นความสำเร็จ ฌาน 1-4
2.อสุภะ 10 เหมาะกับจริต ราคะจริต ขั้นความสำเร็จ ฌาน 1
3.อนุสติ 10 
อนุสติ 6 ข้อแรก เหมาะกับจริต สัทธาจริต
ขั้นความสำเร็จ อุปจารสมาธิ(สมาธิขั้นกลาง)
อุปสมานุสติเหมาะกับจริต พุทธจริต
ขั้นความสำเร็จ อุปจารสมาธิ(สมาธิขั้นกลาง) 
มรณสติเหมาะกับจริต พุทธจริต
ขั้นความสำเร็จ อุปจารสมาธิ(สมาธิขั้นกลาง)
กายคตาสติเหมาะกับจริต ราคะจริต ขั้นความสำเร็จ ฌาน 1
อานาปานสติ เหมาะกับจริต โมหะจริตและวิตกจริต
ขั้นความสำเร็จ ฌาน 1-4 
4.อัปปมัญญา 4
เมตตา,กรุณา,มุฑิตา เหมาะกับจริต โทสะจริต
ขั้นความสำเร็จ ฌาน 1-3
อุเบกขา เหมาะกับจริต โทสะจริต ขั้นความสำเร็จ ฌาน 4
5.อาหาเรปฎิกูลสัญญา เหมาะกับจริต พุทธจริต
ขั้นความสำเร็จ อุปจารสมาธิ(สมาธิขั้นกลาง)
6.จตุธาตุววัฏฐาน เหมาะกับจริต พุทธจริต
ขั้นความสำเร็จ อุปจารสมาธิ(สมาธิขั้นกลาง)
7. อรูปฌาน 4 เหมาะกับจริต ทุกๆจริต
ขั้นความสำเร็จ เทียบเท่าฌาน4
โดยต่อยอดและละรูปนิมิต จากฌาน 4 ใน กสิณ 10
กองใดกองนึงอันเป็นไปตามลำดับ อรูปฌาน 1-4
ดังที่คุณสิทธิ์ก็เคยกล่าวมาแล้วนั้นว่าอย่าหลงแผนที่ แต่จะไม่ดูเลยก็จะไม่รู้เส้นทาง
ดังนั้นผมจึงเห็นว่า เร่งทำความเพียรกันต่อไป หากมีของเก่าที่เคยทำมา เมื่อความเพียรพร้อมสิ่งเหล่านั้นก็ตามมา
แสดงให้ประจักษ์เองว่าเราเหมาะกับกรรมฐานกองใด ขืนมาไล่ทำทุกกองสงสัยต้องหมดเวลาไปมากโขทีเดียว
อยากรู้จังว่าหลวงปู่ท่านแนะนำว่าอย่างไร รีบๆมาเล่านะครับอาเมธา
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
MEENOI

Posts: 4 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 8  « on 1/6/2554 20:26:00 IP : 113.53.72.31 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 


 

แก้คำผิดครับ พุทธธรรมฉบับขยายความ ป.ประยุตโต หน้า 855 นะครับ


นำหน้าหนังสือมาให้ศึกษา

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
metha

Posts: 127 topics
Joined: 9/12/2552

ความคิดเห็นที่ 9  « on 2/6/2554 9:06:00 IP : 58.10.234.69 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 

ตอบ DRAGON นะ

นี่แหละคือเจตนาของกลุ่มเพื่อนธรรม เพื่อนทำ ละครับ

ช่วยเหลือ ช่วยเป็นกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ กัน

สอบถามข้อสงสัยมาในกระทู้ก็จะดี มีประโยชน์กับคนอื่น

ขออนุโมทนาล่วงหน้าครับ

 

 

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
tpyw

Posts: 0 topics
Joined: 15/1/2553

ความคิดเห็นที่ 10  « on 2/6/2554 10:31:00 IP : 182.255.13.50 »   
Re: ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
 


เข้าใจว่า ปกติ จิต มีธรรมชาติที่จะไปเกาะติดสิ่งต่างๆเมื่อมีอะไรผ่านมา ไม่ว่า ทางตา หู ปาก ผิว หรือแม้แต่ทางใจจิตก็จะไปติด ไปอยู่ ไปยึด ไปปรุง กรรมฐานในที่นี้เข้าใจว่าเป็นเครื่องมือ หรืออุบาย ที่ให้จิตรวมหรือหาที่อยู่ในจิต เมื่อจิตรวม ก็เริ่มเห็นอะไรตามที่เป็นจริงมากขึ้นเห็นการเคลื่อนไหวของจิต ของกาย  เมื่อปฏิบัติมากขึ้น ก็เห็นเองว่าอะไรๆ มันก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยไปเรื่อยๆ ของมัน เรื่องราวต่างๆในโลกมันก็เหมือนน้ำแข็งดั่งที่หลวงปู่ท่านบอกไว้ แล้วมันก็ละลายเป็นน้ำ กรรมฐานสำหรับผมเองใช้เป็นเครื่องมือรวมจิต ไม่ให้ส่งออกให้รู้สึกเป็นกลางๆ ที่ใช้จนติดตัวคือ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิธรรมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ สำหรับท่านอื่นๆ ผมเข้าใจว่าแต่ละแบบ ไม่สามารถใช้ได้เหมือนๆกัน เคยเห็น ท่านที่ใช้หยุบหนอ พองหนอ แล้วรู้สึกอึดอัดที่ท้อง ท่านที่นั่งสมาธิบางท่านก็รู้สึกปวดหัว บางท่านก็นั่งสมาธิไม่ได้ บางท่านชอบเดินจงกลมมากและก็ใช้ได้ดีดังนั้นเรื่องกรรมฐานเข้าใจว่าขึ้นกับบุคคล แต่ไม่ว่าจะแบบไหน แม้แต่แบบคอยตามรู้ตามดูจิต ก็ล้วนแต่ใช้เป็นวิหารธรรมหรือบ้านให้จิตอยู่ทั้งสิ้น ให้จิตได้รวม ได้พักผ่อนหลังจากที่ได้แตก ได้ฟุ้ง ได้ปรุง ได้คิด มานานแสนนาน เมื่อจิตเป็นกลางเป็นหนึ่งเป็นใจแล้วก็จะเห็นทุกสิ่งตามจริง แบบไหนทำแล้วรู้สึกเป็นกลางๆ สงบ  จิตรวม ไม่สอดส่าย ไม่ฟุ้ง  จิตไม่ดิ้นรน ไม่บีบคั้น สบายๆ  แบบนั้นน่าจะจะใช้เป็นกรรมฐานของตนในความคิดผมนะ

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
2
3
>
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 4 Visits: 16,614,920 Today: 435 PageView/Month: 86,404