luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   อายหลวงปู่จริง ๆ   (Read: 23121 times - Reply: 17 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

อายหลวงปู่จริง ๆ
« Thread Started on 4/4/2555 12:59:00 IP : 203.148.162.151 »
 

สมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิต มีศิษย์ผู้ที่เพิ่งจะมาฝึกหัดปฏิบัติคนหนึ่ง รอจังหวะอยู่จนกระทั่งคนอื่นแยกย้ายกลับบ้านกันไปหมดแล้ว

เมื่อเห็นเป็นโอกาสทอง ศิษย์ผู้นั้นก็เข้าไปนั่งที่ม้านั่งหน้ากุฏิหลวงปู่ จากนั้นก็น้อมตัวเข้าไปกราบเรียนซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการปฏิบัติที่ประสบอยู่

"หลวงปู่ครับ ทำไมเวลาผมนั่งสมาธิ มักมีอาการเหมือนคนตกจากที่สูง แล้วมันก็มีอาการเช่นนี้มากขึ้น ๆ เป็นอย่างนี้บ่อยครั้งครับ"  หนุ่มผู้นั้นกราบเรียนถามหลวงปู่

เมื่อหนุ่มคนนั้นน้อมตัวเข้าไปกระซิบถามหลวงปู่เบา ๆ หลวงปู่ก็น้อมตัวเข้าไปใกล้เขาแล้วฟังอย่างตั้งใจ จากนั้นท่านก็นิ่งไปนิดหนึ่ง แล้วพูดพลางอมยิ้มว่า "ไม่ใช่แกก้มหน้ามากไปเหรอ"

หนุ่มคนนั้นฟังแล้ว ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ จากนั้น พอไปถึงบ้าน ตอนกลางคืนเขาก็นั่งสมาธิอย่างเคย พอมีอาการเหมือนตกจากที่สูง แล้วมันก็มีอาการดำดิ่งลึกลงไป ๆ เขาก็ค่อย ๆ ลืมตามาดูตัวเอง เขาต้องหัวเราะออกมาคนเดียวเมื่อเห็นตัวเองอยู่ในท่านั่งที่ก้มหน้าลงไปอย่างมาก

มันเป็นอาการของคนที่พยายามจะ "เค้นปีติ" คือเมื่อปีติเกิดขึ้นเล็กน้อย นักปฏิบัติคนนั้นก็พยายามจะเค้นปีติให้มีมากเข้า ๆ หรือดำดิ่งมากเข้า ๆ คล้าย ๆ กับว่าจะเอาให้ถึงฐาน (ปรุงแต่งจิตไปตามประสาเด็กใหม่)

เมื่อเด็กหนุ่มคนนั้น ย้อนระลึกถึงภาพความน่ารักของหลวงปู่ในอาการที่น้อมตัวเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อจะฟังให้ถนัด ๆ แล้วพูดพลางอมยิ้มด้วยเมตตา รวมทั้งพูดไม่ให้เสียกำลังใจ เป็นภาพที่น่ารักและประทับใจเขาอย่างมาก

เพื่อน ๆ ห้ามถามนะครับว่าหนุ่มคนนั้นคือใคร เพราะเป็นความลับของทางราชการ เอาเป็นว่า จินตนาการให้เห็นภาพความน่ารักของหลวงปู่ให้ได้ก็พอครับ 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: อายหลวงปู่จริง ๆ
จำนวนข้อความทั้งหมด:  8
1
แสดงความคิดเห็น
พลอยสวย

Posts: 16 topics
Joined: 9/10/2554

ความคิดเห็นที่ 1  « on 5/4/2555 9:02:00 IP : 101.108.219.70 »   
Re: อายหลวงปู่จริง ๆ
 

รู้คำตอบของตัวเองแล้ว

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
นวโกฏิ

Posts: 0 topics
Joined: 29/3/2554

ความคิดเห็นที่ 2  « on 8/4/2555 22:19:00 IP : 58.11.58.75 »   
Re: อายหลวงปู่จริง ๆ
 

โมทนาบุญครับ...ผมก็มีอาการเป็นเหมือนเด็กหนุ่มผู้นั้นเหมือนกันครับ...มีอาการเหมือนคนตกจากที่สูง แล้วใจหาย ตกใจกลัว สมาธิจะถอนขึ้นมาเลยครับ...แล้วหลังจากนั้นเวลานั่งสมาธิวันต่อมา สักพักจะเกิดอาการกลัวเหมือนที่ผ่านมา ทั้งๆยังไม่มีอาการตกจากที่สูง และก็ยังแก้เรื่อง นั่งๆไป ทั้งหน้าและลำตัว จะก้มไปเรื่อยๆ แก้ไม่หายครับ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ... ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่มคนนั้นแก้ปัญหานี้อย่างไรครับ?...ขอรบกวนคุณสิทธิ์ช่วยสอบถามให้ด้วยนะครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 3  « on 8/4/2555 22:59:00 IP : 110.169.144.54 »   
Re: อายหลวงปู่จริง ๆ
 
นวโกฏิ Talk:

โมทนาบุญครับ...ผมก็มีอาการเป็นเหมือนเด็กหนุ่มผู้นั้นเหมือนกันครับ...มีอาการเหมือนคนตกจากที่สูง แล้วใจหาย ตกใจกลัว สมาธิจะถอนขึ้นมาเลยครับ...แล้วหลังจากนั้นเวลานั่งสมาธิวันต่อมา สักพักจะเกิดอาการกลัวเหมือนที่ผ่านมา ทั้งๆยังไม่มีอาการตกจากที่สูง และก็ยังแก้เรื่อง นั่งๆไป ทั้งหน้าและลำตัว จะก้มไปเรื่อยๆ แก้ไม่หายครับ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ... ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่มคนนั้นแก้ปัญหานี้อย่างไรครับ?...ขอรบกวนคุณสิทธิ์ช่วยสอบถามให้ด้วยนะครับ



ไปสอบถามมาให้คุณนวโกฏแล้วครับ

วิธีแก้ของเด็กหนุ่มคนนั้นก็คือ

๑. อย่าไปวิตกเรื่อง "ปีติ" ที่เคยเกิด ใส่ใจแต่เรื่องการสร้างเหตุแห่งความสงบ เช่น การบริกรรมภาวนา หรือการพิจารณาไตรลักษณ์

๒. เจริญศรัทธา สร้างความเชื่อมั่นในคุณพระ (อย่างน้อยที่สุดก็เชื่อมั่นพระที่กำอยู่ในมือ) ว่าพระท่านคอยจะช่วยเหลือสงเคราะห์เราอยู่ทุกครั้งที่ปฏิบัติ ขจัดความกลัวออกไปให้หมด (กลัวอย่างเดียว คือกลัวตัว "ขี้เกียจ" ปฏิบัติ)

๓. ชั่วโมงบินของการปฏิบัติที่มากขึ้น จะแก้ปัญหาดังกล่าวให้ลดลงเอง แล้วจะรู้ว่าอาการปีติที่เคยกลัวจะกลับกลายเป็นสิ่งที่รอคอย (ซึ่งก็ไม่พอดีอีก) กระทั่งสามารถวางใจเพียง "รับทราบ" ในอาการปีติ

๔. อาการก้มหน้า อาจแก้ได้โดยสมมติตัวเองเป็นลูกดิ่ง ขณะปฏิบัติก็ทิ้งขันธ์เหมือนทิ้งลูกดิ่ง  นอกจากนี้ขณะเกิดปีติก็อย่าไปเค้นหรือไปเร่ง รับรู้เฉย ๆ แล้วใส่ใจแต่กรรมฐานแม่ (ที่กำลังปฏิบัติอยู่) อย่าให้ปีติดึงจิตของเราให้ทิ้งกรรมฐานแม่

ครบ ๔ ข้อพอดี (เหมือนครบอริยสัจ)

ขอให้คุณนวโกฏิผ่านพ้นไปได้โดยเร็วนะครับ จะได้เป็นเศรษฐีนวโกฏิ (ที่มากด้วยอริยทรัพย์)

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ธุลีดิน

Posts: 0 topics
Joined: 17/5/2554

ความคิดเห็นที่ 4  « on 9/4/2555 1:10:00 IP : 115.87.221.197 »   
Re: อายหลวงปู่จริง ๆ
 
นวโกฏิ Talk:

โมทนาบุญครับ...ผมก็มีอาการเป็นเหมือนเด็กหนุ่มผู้นั้นเหมือนกันครับ...มีอาการเหมือนคนตกจากที่สูง แล้วใจหาย ตกใจกลัว สมาธิจะถอนขึ้นมาเลยครับ...แล้วหลังจากนั้นเวลานั่งสมาธิวันต่อมา สักพักจะเกิดอาการกลัวเหมือนที่ผ่านมา ทั้งๆยังไม่มีอาการตกจากที่สูง และก็ยังแก้เรื่อง นั่งๆไป ทั้งหน้าและลำตัว จะก้มไปเรื่อยๆ แก้ไม่หายครับ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ... ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่มคนนั้นแก้ปัญหานี้อย่างไรครับ?...ขอรบกวนคุณสิทธิ์ช่วยสอบถามให้ด้วยนะครับ



อาจลองดูวิธีนี้ดูบ้าง..บางทีอาจจะได้ผลอยู่บ้างก็เป็นไปได้ครับ..
1. ก่อนนั่ง สำรวจตัวเองให้ดีก่อน ว่านั่งหลังค่อม ก้มหน้า โค่งงอไปด้านหน้า มากไปหรือไม่ พยายามตั้งกายตั้งหลังให้ตรง โดยสังเกตุที่บริเวณกระดูกสันหลังบริเวณก้นกบ บริเวณข้อที่ L5-6 พอให้รู้สึกตึงกำลังดี แต่อย่าบังคับให้ตึงจนเกินไป เอาแบบพอให้รู้สึกตึงและตรง หายใจได้สะดวก สบายๆ..
2. ก่อนจะนั่งกรรมฐาน ก่อนนั่งให้ระลึกและเชื่อมั่นอย่างถึงที่สุดว่า การนั่งสมาธิไม่เคยทำให้คนตาย คนเป็นบ้า หรือเกิดเหตุร้ายใดๆขึ้นแน่นอน ให้ทำใจปักใจเชื่อเช่นนั้นอย่างถึงอกถึงใจจริงๆ เชื่อต่อไปอีกว่า ขณะที่นั่งหากเกิดอะไรขึ้น เราก็จะไม่กลัว ไม่กริ่งเกรงใดๆทั้งสิ้น ให้อาจหาญต่อธรรม หลังจากนั้นจิตเขาจะเป็นเช่นไร ก็ปล่อยไปตามเขา ขออย่างเดียวอย่าปล่อยจิตออกนอกจนเตลิด รู้สึกตัวเมื่อไรก็กลับมาที่คำภาวนาที่ตนเองคุ้นเคย เมื่อใดที่จิตเขาอยากหยุดคำภาวนา ก็อย่าไปบังคับเขาให้ต้องกลับมาที่คำภาวนาอีก ปล่อยไปตามที่เขาอยากจะเป็น
อาจมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นก็เป็นไปได้น่ะครับ
ผมก็ปฏิบัติไม่ค่อยเป็น..ได้แต่ฟังเขาพูดมา..แต่ก็น่าจะลองดูน่ะครับ   

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
นวโกฏิ

Posts: 0 topics
Joined: 29/3/2554

ความคิดเห็นที่ 5  « on 9/4/2555 20:18:00 IP : 58.11.51.146 »   
Re: อายหลวงปู่จริง ๆ
 

ขอขอบคุณ คุณสิทธิ์ ที่นำคำตอบที่เป็นประโยชน์ในแนวทางปฏิบัติ ที่ผมติดขัดอยู่...ผมจะนำคำแนะนำนี้ไปปฏิบัติตาม ทั้ง 4 ข้อครับ ... ถ้าติดขัดตรงไหนจะมารบกวนสอบถามอีกครั้งครับ ... โมทนาบุญครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
นวโกฏิ

Posts: 0 topics
Joined: 29/3/2554

ความคิดเห็นที่ 6  « on 9/4/2555 20:21:00 IP : 58.11.51.146 »   
Re: อายหลวงปู่จริง ๆ
 

และขอขอบคุณ คุณธุลีดิน ที่มีคำแนะนำที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผม จะนำไปปฏิบัติตามเช่นกันครับ...โมทนาบุญครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ธุลีดิน

Posts: 0 topics
Joined: 17/5/2554

ความคิดเห็นที่ 7  « on 11/4/2555 18:39:00 IP : 61.90.19.179 »   
Re: อายหลวงปู่จริง ๆ
 

 

นักปฏิบัติธรรมกรรมฐานหลายๆท่าน เมื่อเริ่มหัดนั่งสมาธิใหม่ๆ หรือบางท่านอาจเพียรปฏิบัติมานานพอสมควรแล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยเห็นผลถึงความสงบชัดเจนเป็นรูปธรรม สิ่งที่พึ่งสำเนียกอย่างหนึ่ง นอกจากหลักการปฏิบัติธรรมขั้นสูงเพื่อต่อสู้ห่ำหั่นกับกิเลส ถึงขั้นพิจารณาในขันธ์ห้า ในไตรลักษณ์ ฯลฯ สิ่งนั้นก็คือ การหันกลับมาพิจารณาหลักการปฏิบัติเพียงเบื้องต้น กล่าวคือ

เมื่อบอกว่าให้กำหนดจิตตาม

" คำภาวนา หรือ ลมหายใจเข้า-ออกให้ดี ให้มั่น "

จากการให้เพียงแค่ตามดู ตามรู้ธรรมชาติที่เขามีอยู่เป็นปกติประจำโลก คือ ให้เพียงแต่แค่ตามดู ตามรู้เฉยๆ อย่างต่อเนื่อง มิคลาดจากตัวรู้ ก็กลายเป็นไปเพ่ง ไปจ้อง ไปคาดคั้น ไปบีบบังคับเขา บางท่านไปบังคับไปแต่งลมหายใจเข้า-ออก ซะเองเลย บางท่านก็จดจ้องเพ่งมอง เอาจริงเอาจัง จนกล้ามเนื้อสมองรู้สึกเกร็งตัว ปวดตึง เครียดที่ขมับ เบ้าตา หรือ ที่บริเวณจุดกึ่งกลางหน้าผาก และดั้งจมูก เป็นต้น

การที่เราเพียรปฏิบัติแล้วไม่สงบ แม้จะร่ำเรียนจดจำซึ่งพระสูตรขั้นสูงต่างๆได้แม่นยำมากมาย สิ่งเหล่านี้ จึงพึ่งสำเนียกว่า เพียงพื้นฐานเราปฏิบัติถูกต้องแล้วหรือไม่ ? 

ความจริงแล้ว..การนั่งภาวนา ทุกสิ่งให้เป็นไปแบบสบายๆ..ผ่อนคลาย..เบาๆ..แต่คงไว้ซึ่งความหนักแน่น ตั้งตรง และตั้งมั่น 

สิ่งหนึ่งที่ควรจำให้ขึ้นใจคือ อย่าไปบีบ ไปบังคับเขา ทุกอย่าง " สติ " เรา มีหน้าที่แต่ตามดู ตามรู้เฉยๆเท่านั้น อย่าไปแต่ง ไปเติมอะไรทั้งสิ้น ให้เพียงแต่รู้เฉย รู้ลงไปเรื่อยๆ ลึกไปเรื่อยๆอย่างที่เขาอยากจะเป็น แต่มิใช่ลึกโดยขาดสติ ขาดตัวรู้ เพราะนั่นก็จะกลายเป็นลึกโดยภวังค์ หรือบางคราก็คือหลับ ฝัน หรืออุปาทานไปนั่นเอง..

จำเขามา..เล่าสู่กันฟังครับ..

 

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
พุทธธิดา

Posts: 3 topics
Joined: 21/6/2555

ความคิดเห็นที่ 8  « on 22/6/2555 14:50:00 IP : 101.51.93.83 »   
Re: อายหลวงปู่จริง ๆ
 

ขออนุโมทนาและขอบพระคุณนะคะที่นำเรื่องราวของหลวงปู่มาเล่าให้ฟัง เพราะไม่ว่าจะอ่านกี่ครั้งหรือฟังกี่เทียวก็ไม่เคยรู้สึกเบื่อมีแต่เกิดความปลื้มปิติในความเมตตาขององค์หลวงปู่ พวกพี่ๆโชคดีนะคะที่ได้เรียนรู้ธรรมจากหลวงปู่องค์เป็นๆ ขนาดตัวพุทธธิดาได้แต่อ่านประวัติและคำสอนของท่าน(ไม่น่าจะเกิน 2 เดือน ) ยังรู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้รู้จักและได้อ่านธรรมะคำสอนของท่าน และเกิดความศรัทธาในตัวท่านอย่างสูงเพราะคำสอนของท่านแต่ละเรื่องกระแทกใจเป็นที่สุด ขอบพระคุณนะคะที่นำพาพระอริยสงฆ์ที่ควรเคารพบูชาอย่างยิ่งมาให้รู้จัก...

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 5 Visits: 16,615,510 Today: 1,026 PageView/Month: 87,023