luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ราคาค่าความนิยม  (Read: 33465 times - Reply: 23 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ราคาค่าความนิยม
« Thread Started on 9/5/2555 7:35:00 IP : 203.148.162.151 »
 

(ฟิล์มต้นแบบเพื่อแกะเหรียญหลวงปู่ทวด
ที่ตลาดพระพากันเรียกว่ารุ่น "เปิดโลก")

ผมจำได้ว่าเมื่อราว ๒๐ ปีมาแล้ว มีศัพท์คำหนึ่งเกิดขึ้นในหน้าหนังสือพิมพ์ นั่นก็คือ คำว่า "วัตถุแห่งศรัทธา"  

พิจารณาดูแล้วก็เห็นว่าเป็นคำที่เข้าท่าอยู่ไม่น้อย เพราะวัตถุมงคลชิ้นน้อย ๆ ที่แทบจะไม่มีต้นทุนการผลิตเลย กลับกลายเป็นวัตถุที่มีราคาในตลาดเป็นหมื่น เป็นแสน หรือเป็นล้านบาทได้

อย่างเหรียญเปิดโลกเนื้อทองแดงนี่ ต้นทุนรวมค่าแกะพระอยู่ที่เหรียญละ ๒.๕๐ บาท (ซึ่งในช่วงนั้น หากไปว่าจ้างช่างรายอื่น จะมีต้นทุนเพียงประมาณ ๑ บาท)

จำได้ว่าในการทำเหรียญเปิดโลกเนื้อทองคำ ทางช่างผู้แกะพระ ไม่ต้องการวุ่นวายเรื่องจัดหาเนื้อทองคำ ดังนั้น ผู้ว่าจ้างก็ต้องจัดหาเนื้อทองคำมาเอง

ผมจึงต้องไปซื้อทองคำจากร้านทองซึ่งเป็นเพื่อนของคุณวรวิทย์ที่ย่านสามแยกไฟฉาย (ฝั่งธนบุรี) ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ ซึ่งคำนวณแล้วต้องใช้ทองคำราว ๆ ๑๕๐ บาท (สำหรับการสร้างเหรียญจำนวน ๒๔๐ เหรียญ)

จำได้ว่าผมนั่งรถเมล์ไปที่ร้าน แล้วเอากระเป๋าที่สะพายมา ถามเจ้าของร้านว่า "กระเป๋าใบนี้พอใส่ทองคำ ๑๕๐ บาทไหมครับ" เขาหัวเราะใหญ่ เพราะทองคำ ๑๕๐ บาทนี่ แค่กำมือเดียว

จากนั้นผมก็ทุลักทุเลนั่งรถเมล์ต่อไปหาช่างอ๊อด ผู้แกะพระ ช่างก็จัดหามอเตอร์ไซด์รับจ้างให้ผมไปร้านรีดทองที่อยู่ไม่ไกล พอรีดเป็นแผ่น ก็เอามาให้ช่างอ๊อดปั๊มพระ จากนั้นก็ให้เอาเศษทองไปหลอมและรีดใหม่ โห กว่าจะหมดพอดิบพอดี ๒๔๐ เหรียญนี่ ผมนั่งมอเตอร์ไซต์จนหัวฟู

เหรียญนี้เดิมให้จอง (เท่าต้นทุน) ที่เหรียญละ ๒,๗๐๐ บาท แต่ภายหลังช่างบอกว่าคำนวณน้ำหนักผิดไป ต้องเป็น ๓,๔๐๐ บาท (รวมค่ากำเหน็จของช่างแล้ว) ก็เลยมีการแจ้งไปยังผู้สั่งจองกลุ่มต่าง ๆ

คุณวรวิทย์ ผม และคณะ สร้างพระโดยไม่ได้มีส่วนเกินแต่อย่างใด (จริง ๆ เหรียญเนื้อทองแดงนั้น คุณวรวิทย์จ่ายเองเกือบทั้งหมด เพราะไม่ได้ให้จอง หากแต่แจกฟรี) แต่เราก็มารู้ภายหลังว่า มีบางกลุ่มไปบอกให้จองต่อ (เหรียญเนื้อทองคำ) เหรียญละ ๑ หมื่นบาท ...เฮ่อ ลูกศิษย์หลวงปู่มาทำกันเอง

ผมก็ไม่ได้ติดตามวงการพระเครื่อง เลยไม่รู้ว่าราคาวิ่งไปถึงขนาดไหนแล้ว ทราบคร่าว ๆ จากคนที่วัดสะแก (เมื่อหลายเดือนก่อน) ว่าเนื้อทองแดงราคาเหรียญละราว ๆ ๔-๕ หมื่นบาท ส่วนเนื้อทองคำหลักแสนปลาย ๆ ใกล้ ๆ ล้านบาทเข้าไปแล้ว

ถ้าพูดถึงราคาซื้อขายในตลาดเทียบกับต้นทุนแล้ว ไม่รู้ว่าคิดเป็นกี่ร้อยกี่พันเท่า

ผมจึงได้เห็นสอดคล้องกับคนที่บัญญัติวัตถุมงคลว่าเป็น "วัตถุแห่งศรัทธา" เพราะราคากับต้นทุน มันไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง มันเป็นเรื่องของศรัทธาของคนที่มีต่อวัตถุเหล่านี้  

วัตถุแห่งศรัทธา ที่มีราคาสูงลิบลิ่วนี้ ย่อมเป็นที่มาของความสุขใจของผู้ครอบครอง นี้เป็นคุณค่าชั้นที่หนึ่ง 

หากได้คุ้มครองให้เจ้าของแคล้วคลาดปลอดภัยได้ ก็เป็นคุณค่าชั้นที่สอง

หากได้เป็นอนุสติ ยกจิตของเจ้าของให้ละอายต่อบาปได้ ก็เป็นคุณค่าชั้นที่สาม

หากเป็นเครื่องโยงจิตเจ้าของให้พบ "พระเก่าพระแท้" ในตัว ก็จะเป็นคุณค่าชั้นสูงสุด (ในความเห็นส่วนตัวของผม)

เล่าไว้เป็นเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ แก่ผู้สนใจครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: ราคาค่าความนิยม
จำนวนข้อความทั้งหมด:  8
1
แสดงความคิดเห็น
ผีเสื้อตัวน้อย

Posts: 1 topics
Joined: 18/3/2555

ความคิดเห็นที่ 1  « on 9/5/2555 8:38:00 IP : 171.7.194.169 »   
Re: ราคาค่าความนิยม
 
สาธุ ขอบคุณคุณสิทธิ์มากค่ะที่นำมาเล่าสู่กันฟัง. แต่ตอนนี้เริ่มเห็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตว่าเต็มไปด้วยความอยาก(ได้). จากที่ไม่เคยสนใจด้านนี้เลยค่ะ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ธุลีดิน

Posts: 0 topics
Joined: 17/5/2554

ความคิดเห็นที่ 2  « on 9/5/2555 11:29:00 IP : 58.8.50.20 »   
Re: ราคาค่าความนิยม
 

คุณค่า..แห่งวัตถุมงคล 4 ขั้น..

เพิ่งได้เห็นการแบ่งแยกที่ชัดเจนดียิ่ง

เห็นด้วยมากขอรับ

ขอบคุณคุณพี่สิทธิ์

จักน้อมนำเพื่อการระลึก แลถือปฏิบัติต่อไปครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
บัวหลวง

Posts: 0 topics
Joined: 14/1/2555

ความคิดเห็นที่ 3  « on 9/5/2555 13:21:00 IP : 125.26.59.234 »   
Re: ราคาค่าความนิยม
 
อนุโมทนาในกุศลและคุณความดีด้วยคนครับ ความดีตรงนี้จะอยู่ไปอีกนานแสนนาน ตลอดไป
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ธุลีดิน

Posts: 0 topics
Joined: 17/5/2554

ความคิดเห็นที่ 4  « on 9/5/2555 14:27:00 IP : 58.8.50.20 »   
Re: ราคาค่าความนิยม
 

(ต่อ) แต่สำหรับผู้ที่ยังเกี่ยวข้องด้วยเรื่องโลกๆ ธรรมๆ ตามปกติเราๆท่านๆและยังอยากได้พระหลวงปู่ท่านอยู่บ้าง ผมขออนุญาตยกบทความหนึ่ง ที่เคยเขียนลงในกระทู้เวบอื่น พอเป็นข้อมูลเบื้องต้นดังนี้ครับ

------------------------------------------------------------------

ความที่หลวงปู่ท่าน ถ้าว่ากันตามภาษากลุ่มศิษย์ก็ว่า "สูงสุดคืนสู่สามัญ" กล่าวคือ อาจเป็นพระอริยะสงฆ์องค์เดียวแล้ว ที่สร้างพระแบบง่ายที่สุด ไม่มีพิธีรีตรองอะไรเลย พระพิมพ์อะไร ของใคร ที่ไหน เกจิใด พระกรุ พระเก่าใด เก๊ก็ดี แท้ก็ดี ได้ทั้งนั้นที่นำมาทำเป็นแม่แบบพิมพ์ มีมากมายหลายร้อยพิมพ์ โดยใช้วัสดุทำแม่พิมพ์ ที่หาได้ง่ายๆอีกเช่นกัน เช่น ดินเหนียว หรือ ก้อนดินน้ำมัน เป็นต้น (ยุคต้นๆ) ต่อมาจึงเป็นบล๊อกยางพารา ในกาลต่อมา

ส่วนเนื้อหามวลสารก็แสนจะง่ายอีกเช่นกัน ปูนขาวธรรมดาๆเรานี่ล่ะ ผสมคลุกเคล้าด้วยผงขององค์ท่าน ซึ่งปัจจุบันบางคนก็เรียกผงคุณวิเศษนี้ว่า ผงจักรพรรดิ์บ้าง, ผงพุทธคุณบ้าง เท่านั้นเป็นอันเสร็จ


หลวงปู่ฯท่านไม่ถือเอารูปลักษณ์ภายนอก หรือคาถาอาคมใดเป็นสำคัญ แต่ถือเอาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งอันสูงสุด และใช้วิธีอฐิษฐานจิตกับพระเครื่องขององค์ท่านเป็นสำคัญ

และด้วยความที่จัดสร้างแบบง่ายๆเช่นนี้เอง จึงเป็นเรื่องจริงสำหรับท่านที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับพระของท่านว่า เป็นพระที่ดูได้ยาก ดูเผินๆก็เหมือนกันหมด ขาวๆเหมือนกันหมด แล้วจะแยกความเก๊/แท้ ได้อย่างไร?.. รวมถึงข่าวคราวที่ว่า พระของหลวงปู่ท่านมีของเก๊มาก เพราะขบวนการผลิตสามารถทำได้ง่าย มีเนื้อหาเพียงปูนขาวเป็นวัตถุดิบหลัก หาได้ง่ายๆโดยทั่วไป จึงมีการปลอมแปลงกันมาก ซึ่งคำกล่าวนี้ ก็เป็นเรื่องจริงอีกเช่นกัน

แต่ความยาก ย่อมสามารถแปลเป็นความง่ายได้เช่นกัน ถ้าเราเอาใจใส่เฉพาะทาง รู้เฉพาะทาง เห็นเฉพาะทาง ผ่านตาคุ้นเคยกับเฉพาะพระหลวงปู่มามากมาย หลายร้อย หลายพัน หรือกระทั่งหลายหมื่นองค์ แม่นที่เนื้อหา มวลสาร อายุ ความเก่า ตำหนิแบบพิมพ์ เราจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า " กลุ่มผู้นิยมพระเครื่องสายตรงหลวงปู่ดู่ วัดสะแก "

พระเครื่องของหลวงปู่ท่าน หากว่ากันโดยความนิยมเล่นหาในวงการพระเครื่อง ก็ต้องว่ากันที่ราคาเช่าหา ตั้งแต่หลักร้อยต้นๆ จึงถึงหลักล้านบาท อยู่ที่ใครจะมีค่านิยมส่วนตัวอย่างไร เช่าหาบูชากันด้วยวัตถุประสงค์ใด

แต่สิ่งหนึ่งที่มิอาจลืมเลือนได้เลย ก็คือคำของหลวงปู่ฯท่านที่ว่า " พระของข้าฯ พุทธคุณเท่ากันหมดทุกองค์ ไม่ว่าจะเป็นพระเนื้อผง โลหะ หรือใดๆก็ตาม " รวมถึงคำกล่าวที่ว่า "พระของข้า องค์เดียวก็พอ"

ดังนั้นจึงมักมีเรื่องเล่า ปรากฏขึ้นเสมอๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ไม่สนใจเรื่องค่านิยมในวัตถุใดๆ ที่วงการตลาดเป็นผู้อุปโลกขึ้น แต่มักพบกับประสบการ์ณดีๆด้วยตัวเองมากมาย แม้จะเป็นเพียงพระผงราคาถูกๆหลักร้อยของหลวงปู่ท่านก็ตาม

สำหรับผู้สนใจใฝ่หาวัถตุมงคลของหลวงปู่ท่าน ขอแนะนำให้เช่าหากับกลุ่มที่คุณนพคุณว่า คือ กลุ่มสายตรง ถือว่ามีความปลอดภัยพอสมควร ซึ่งเฉพาะในหน้า.....แห่งนี้ เท่าที่ทราบมีถึง 3-4 ท่าน ทุกท่านอย่างน้อยก็มีความเป็นศิษย์หลวงปู่ ทีไม่กล้าเอาพระปลอมมาขายแน่ ด้วยสำนึกแห่งความเป็นศิษย์หลวงปู่ท่าน ทุกคนก็กลัวบาปกลัวกรรมเช่นกัน

หรือจะเช่าที่วัด ตอนนี้ก็ยังมีอีกพอสมควร มีราคาตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักหมื่น เลือกเอาองค์ (รุ่น) ที่ทันหลวงปู่ท่าน เจ้าหน้าที่เขาจะบอกเอง ว่ารุ่นนี้สร้างปีไหน อย่างไร

สำหรับท่านที่ไม่อยากเสียตังค์เช่าหา ขอแนะนำให้ใช้วิธีอธิษฐานจิต ขอหลวงปู่ท่านเอา (แต่อาจจะนานหน่อยหนา..) หรือเข้าไปตอบปัญหาธรรมะ ที่หน้าเวบ Luangpudu.com ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อธรรมคำสอนของหลวงปู่ดู่ที่ดี เป็นของจริงของแท้ไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งท่านอาจจะโชคดีได้พระของหลวงปู่ท่านอยู่บ้าง หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่สนใจเรียนรู้ปฏิบัติธรรม

หรือหากพอมีเวลาว่าง ไปร่วมปฏิบัติธรรมกับเพื่อนสมาชิกเวบดังกล่าว ในนามกลุ่มศิษย์เพื่อนธรรมเพื่อนทำ ที่วัดสะแก (เวลาจะมีการนัดเป็นการเฉพาะ ต้องติดตามจากเวบท่านเอาเอง) นอกจากได้ธรรมะอันเป็นของแท้ของจริง ได้ปฏิบัติบูชาถวายหลวงปู่ท่านแล้ว ท่านยังอาจโชคดีได้พระของหลวงปู่ดู่ท่านจากกลุ่มศิษย์พี่ๆ เป็นกำลังใจบ้าง โดยไม่ต้องเสียสตังค์เช่าหา แถมรู้สึกดีๆกับตัวเองเป็นพิเศษด้วย

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
พลอยสวย

Posts: 16 topics
Joined: 9/10/2554

ความคิดเห็นที่ 5  « on 10/5/2555 8:56:00 IP : 101.108.194.231 »   
Re: ราคาค่าความนิยม
 

นี่หล่ะครับที่รู้จักหลวงปู่ครั้งแรกก็เพราะเหรียญรุ่นนี้หล่ะครับจำได้เคยเช่าบูชาครั้งแรกประมาณหลักพัน(เหรียญปลอม)และก็ฝังใจมาโดยตลอดทำไมต้องมีของปลอม นั่นแน่จิ้งจกทักอีกแล้ว  และก็เลยไม่หาเช่าแล้วขอกับหลวงปู่รอเมตตาดีกว่า  จะได้พบพระแท้สักที

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ผีเสื้อตัวน้อย

Posts: 1 topics
Joined: 18/3/2555

ความคิดเห็นที่ 6  « on 11/5/2555 8:29:00 IP : 171.7.203.27 »   
Re: ราคาค่าความนิยม
 
เป็นกำลังใจให้คุณพลอยสวยและคุณJuneนะค่ะ. ตัวดิชั้นเองเคยอธิษฐานขอเหรียญรุ่นนี้กับหลวงปู่. โดยที่ไม่ทราบว่าเหรียญรุ่นนี้มีความเป็นมายังไง. เค้าสร้างราคาค่างวดไปเท่าไหร่. เพราะไม่เคยสนใจพระเครื่องค่ะ. มาปฏิบัติถวายหลวงปู่. หาพระแท้กันเถอะค่ะ แต่ตอนที่อ่านเวปนี้อยู่. เสียงจิ้งจกร้องเบาๆน้ำเสียงเมตตามากเลยค่ะคุณสิทธิ์...
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
พงไพร

Posts: 0 topics
Joined: 26/2/2555

ความคิดเห็นที่ 7  « on 11/5/2555 22:32:00 IP : 223.204.196.150 »   
Re: ราคาค่าความนิยม
 
ถึงตอนนี้จะตั้งใจค้นหาพระที่แท้จริง..แต่ก็ยังเกิดกิเลสนิดๆ เพราะรูปลักษณ์ของเหรียญงดงามจริงๆครับ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
balakia

Posts: 4 topics
Joined: 27/1/2553

ความคิดเห็นที่ 8  « on 24/7/2555 1:57:00 IP : 58.9.148.108 »   
Re: ราคาค่าความนิยม
 

อ่านแล้วชื่นใจครับ โมทนาด้วยครับทุกท่าน^_^ และขออนุญาตแชร์ต่อครับพี่สิทธิ์

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 3 Visits: 16,685,080 Today: 2,389 PageView/Month: 66,591