luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำสมาทานพระกรรมฐานวัดสะแก  (Read: 12351 times - Reply: 3 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำสมาทานพระกรรมฐานวัดสะแก
« Thread Started on 19/5/2556 10:20:00 IP : 180.183.190.99 »
 

มีเรื่องควรทราบเกี่ยวกับคำสมาทานพระกรรมฐานที่ใช้ตั้งแต่สมัยหลวงปู่ยังมีชีวิต

๑. หลวงปู่บอกว่าไม่ควรเรียกว่าแบบปฏิบัติสำนักวัดสะแก
แต่ด้วยความที่มีผู้นำไปพิมพ์เผยแพร่ต่อ ๆ กันโดยจ่าหัวว่าแบบปฏิบัติวัดสะแกบ้าง หลักการปฏิบัติธรรมวัดสะแกบ้าง ฯลฯ จนยากต่อการควบคุม ประกอบกับสมัยนั้นสำนักต่างๆ ก็มีแบบปฏิบัติเฉพาะของตนออกมาเผยแพร่ จึงแลดูเป็นเรื่องไม่แปลกอะไร แต่สำหรับหลวงปู่ดู่แล้ว ท่านเคารพพระพุทธเจ้าอย่างสูงสุด ท่านมิอาจตีตัวเสมอพระพุทธเจ้า และบัญญัติอะไรแข่งกับพระพุทธเจ้า หากจะถามถึงคำสมาทานพระกรรมฐานที่เฉพาะเจาะจง ก็เห็นจะมีเพียงคำอาราธนาหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ และคำบริกรรมภาวนาที่ใช้ "ไตรสรณคมน์" เท่านั้น

๒. ในยุคแรกดูเหมือนจะมีเพียงคำอาราธนาหลวงปู่ทวด และหลวงปู่ดู่ แล้วมาเพิ่มคำอาราธนาหลวงพ่อเกษม เขมโก ในภายหลัง แต่ก็เป็นการเพิ่มเติมตั้งแต่สมัยหลวงปู่ยังมีชีวิต (บทโอกะสะ โอกะสะ อาจาริโย เมนาโถฯ)

๓. คำอาราธนาหลวงปู่ดู่ ใช้ว่า "นะโม พรหมปัญโญ" แต่มาสมัยหลังมีคณะผู้ศรัทธาบางกลุ่มเปลี่ยนเป็น "นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ" ซึ่งแม้จะทำโดยความศรัทธา แต่โดยส่วนตัวก็อยากจะให้อนุรักษ์ของเดิมตามที่หลวงปู่ท่านแนะนำจะเหมาะสมกว่า อีกประการหนึ่งก็เป็นการสะท้อนความอ่อนน้อมถ่อมตนของหลวงปู่ที่ไม่เอาตัวไปเทียบครูบาอาจารย์อย่างหลวงปู่ทวด (อยู่กับสมมุติก็ต้องใช้สมมุติให้เหมาะสม) หากเป็นเรื่องส่วนตัวใครจะศรัทธาและอาราธนาอย่างไรก็ย่อมไม่ผิด แต่แบบฉบับที่เป็นสาธารณะ ควรใช้ดังเดิม

๔. บทบูชาพระที่เป็นบทซึ่งขึ้นต้นด้วย "พุทธัง ชีวิตัง เมปูเชมิฯ" ก็เพื่อทำจิตใจให้หนักแน่นและเอื้อเฟื้อต่อการปฏิบัติภาวนา ว่าข้าพเจ้าขอปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยชีวิต

๕. บทสมาทานศีล ๕ นั้น เฉพาะข้อ ๓ อาจเปลี่ยนจาก กาเมสุมิจฉาจารฯ เป็น อพรหมจริยาฯ ก็ได้ เพื่อเพิ่มความสำรวมระวัง (เจตนาวิรัติ อย่างน้อยเป็นการวางใจในช่วงที่ปฏิบัติภาวนา)

๖. บทขอขมาพระรัตนตรัย (โยโทโส โมหะจิตเตฯ) ความหมายโดยรวมก็คือ บาปกรรมอันใดที่เกิดจากจิตของข้าพเจ้าที่มีโทสะและโมหะต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ข้าพเจ้ากราบขอขมา และขอบาปกรรมเหล่านั้นจงวินาส (มลายหายสูญ) ไป ซึ่งสำหรับคำว่าวินาสสันตุนั้น พอมาอยู่ในบทอาราธนากรรมฐาน ก็ถูกลดรูป (ทางไวยากรณ์) เหลือ วินัสสันตุ

๗. คำอธิษฐานพระเข้าตัว หลวงปู่ให้ใช้บท "สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญฯ) แต่ในสมัยหลัง ผู้ศรัทธาบางกลุ่มจำคลาดเคลื่อนว่าเป็นบทแผ่เมตตา ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะโดยเนื้อหาของบทนี้ ก็ชัดเจนในตัวว่าเป็็นการอัญเชิญอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ตลอดจนพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้าทั้งหลายมาช่วยคุ้มครองรักษาข้าพเจ้า

๘. คำอธิษฐานแผ่เมตตา ที่หลวงปู่สอนไว้คือ "พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักกะวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโยโหตุ" ซึ่งจะเห็นว่ามิได้มีความหมายทางแผ่เมตตาแต่อย่างใด (ถ้ามีเนื้อหาบทแผ่เมตตาจริง ก็ควรมีเนื้อหาทำนองว่าขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงพ้นจากทุกข์หรือจงมีความสุขเถิด) นั่นก็เพราะบทนี้คือบท "อธิษฐาน" แผ่เมตตา มิใช่บท "แผ่เมตตา" กล่าวคือ ท่านเจตนาให้ใช้เพื่อการอธิษฐานคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ทั่วอนันตจักรวาล มาเป็นทุนก่อน แล้วจึงค่อยน้อมจิตแผ่เมตตาออกไป (ด้วยทุนอันนี้ รวมกับผลบุญที่เราบำเพ็ญมา) ให้สัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ เข้าถึงบรมสุขคือพระนิพพานด้วยเทอญ

เล่าไว้เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้มาใหม่

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำสมาทานพระกรรมฐานวัดสะแก
จำนวนข้อความทั้งหมด:  3
1
แสดงความคิดเห็น
วิษณุ

Posts: 0 topics
Joined: 1/12/2554

ความคิดเห็นที่ 1  « on 19/5/2556 16:55:00 IP : 182.53.103.128 »   
Re: เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำสมาทานพระกรรมฐานวัดสะแก
 
กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์ มีประโยชน์กับกระผมมากหลาย สาธุ อนุโมทนามิ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
DRAGON

Posts: 3 topics
Joined: 20/5/2554

ความคิดเห็นที่ 2  « on 20/5/2556 13:06:00 IP : 122.155.131.243 »   
Re: เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำสมาทานพระกรรมฐานวัดสะแก
 
สิทธิ์ Talk:

๒. ในยุคแรกดูเหมือนจะมีเพียงคำอาราธนาหลวงปู่ทวด และหลวงปู่ดู่ แล้วมาเพิ่มคำอาราธนาหลวงพ่อเกษม เขมโก ในภายหลัง แต่ก็เป็นการเพิ่มเติมตั้งแต่สมัยหลวงปู่ยังมีชีวิต (บทโอกะสะ โอกะสะ อาจาริโย เมนาโถฯ)



 บทโอกะสะ โอกะสะ อาจาริโย เมนาโถฯ ไม่ทราบว่า มีบทเต็มว่าอย่างไร

 และใช้ต่อจากอาราธนาหลวงปู่ทวด และหลวงปู่ดู่ ได้หรือไม่ครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 3  « on 21/5/2556 14:29:00 IP : 27.145.188.119 »   
Re: เกร็ดความรู้เกี่ยวกับคำสมาทานพระกรรมฐานวัดสะแก
 

บทอาราธนาหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่ใช้ก็เป็นบทที่ทางสำนักสุสานไตรลักษณ์ของหลวงพ่อเกษมใช้กันเป็นปรกติคือ

"โอกาสะ* โอกาสะ อาจาริโย เมนาโถ ภันเตโหตุ
อายัสมา เขมโก ภิกขุ เมนาโถ ภันเตโหตุ"

(* ในใบอาราธนากรรมฐานที่แจกที่วัดสะแก ใช้คำว่า โอกะสะฯ ...ความเห็นส่วนตัว น่าจะใช้ตามแบบของสำนักสุสานไตรลักษณ์ คือ โอกาสะ)

สามารถใช้อาราธนาต่อจากหลวงปู่ทวดและหลวงปู่ดู่ได้ครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 6 Visits: 16,615,870 Today: 1,379 PageView/Month: 87,376