luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   เรื่องกาลเทศะ  (Read: 18550 times - Reply: 23 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

เรื่องกาลเทศะ
« Thread Started on 29/5/2556 8:12:00 IP : 203.148.162.151 »
 

มีอีกสิ่งหนึ่งที่บรรดาศิษย์ได้เรียนรู้จากหลวงปู่ นั่นก็คือเรื่อง "กาลเทศะ" หลวงปู่ท่านละเอียดมาก ท่านสอนให้เราเรียนรู้ว่า หากปฏิบัติธรรมไม่ถูกกาลเทศะแล้ว นอกจากจะไม่สำเร็จประโยชน์แล้ว ยังจะเป็นโทษ หรือถึงขั้นที่หลวงปู่เรียกว่า เป็น "ต้นบาป" อีกด้วย

ครั้งหนึ่ง สมัยที่กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ทางสำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งก็แนะนำให้มีกิจกรรมปักกลดโชว์ที่สนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัย โดยให้เหตุผลว่า "การทำความดี อย่าไปอายใคร ๆ ทีคนกินเหล้าเขายังกินอย่างเปิดเผย ไม่เห็นอายใคร!" 

ฟังเหตุผลตอนนั้นแล้วก็ว่าจริงแฮะ คนทำสิ่งไม่ดียังไม่อายใคร แต่ทำความดี จะอายคนอื่นทำไม มันเป็นความดีงามนี่นา

แต่สิ่งที่ซึมซับมาจากหลวงปู่ สอนให้เรารู้ว่า หากเราเป็นเหตุให้คนที่ไม่ศรัทธาไปปรามาสพระหรือปรามาสธรรมเข้า เขาย่อมได้รับบาป แต่บาปนั้นมาจากเรา เพราะเราคือ "ต้นบาป" ดังนั้น บาปก็ย่อมตกแก่เราด้วย

นี่คือความเข้าใจที่จะช่วยให้เรามีวินิจฉัยว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรควรเป็นการปฏิบัติธรรมส่วนตัว อะไรควรเป็นการปฏิบัติธรรมในที่สาธารณะ นี้สำคัญมาก เพราะมันจะช่วยให้ "ทำความดีให้ถูกดี" และจะเป็น "วัฒนธรรมที่ดีงาม"

อีกตัวอย่างหนึ่ง พระบวชใหม่ที่วัดป่าแห่งหนึ่ง ด้วยความที่ต้องการจะสวดปาฏิโมกข์ให้ได้โดยเร็ว ท่านก็เลยท่องบ่นปาฏิโมกข์ (พระวินัยสงฆ์) ทั้งกลางวันกลางคืน ทีนี้ท่านลืมคิดไปว่ายังมีกุฏิที่อยู่ใกล้ ๆ กันอีก ซึ่งท่านเหล่านั้นบวชเข้ามาในวัดป่าก็ด้วยหวังความสงบสงัด 

สุดท้ายเจ้าอาวาสต้องมาตักเตือนว่า ท่านสวดอย่างมีสติก็จริง แต่ขาดสัมปชัญญะ (ขาดปัญญา) ว่าท่านกำลังส่งเสียงดังรบกวนใครเขาอยู่หรือไม่ คนเขาจะทำสมาธิภาวนา ก็ต้องทนฟังเสียงท่องบ่นของท่าน ...นี้เป็นอีกตัวหนึ่งของการปฏิบัติธรรมที่ไม่ถูกกาลเทศะ

การปฏิบัติธรรมที่ไม่ถูกกาลเทศะก็คือการกระทำที่ขาดปัญญานั่นเอง

หลวงปู่มั่นเองก็เคยกล่าวว่า "ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ" การทำความดีที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น แม้ด้วยเสียง จึงไม่เรียกว่า "ดีเลิศ"

การสร้างธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่เหมาะไม่ควร หรือการเป็นผู้ไม่รู้จักกาลเทศะ จึงเข้าข่ายสิ่งที่หลวงปู่ดู่ท่านกล่าวเตือนไว้ นั่นก็คือ "ต้นบาป" ซึ่งเป็นบาปที่ไม่จำเป็นเลย เป็นบาปที่หลีกเลี่ยงได้

ลุงสิทธิ์เห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญและกำลังถูกละเลยหรือมองข้ามไป จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง ท่านที่เคยทราบแล้ว ก็ถือว่ามาตอกย้ำกันอีกครั้งครับ

...พิจารณา มหาพิจารณา 

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: เรื่องกาลเทศะ
จำนวนข้อความทั้งหมด:  3
1
แสดงความคิดเห็น
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 29/5/2556 23:32:00 IP : 27.145.188.119 »   
Re: เรื่องกาลเทศะ
 

อีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับกาลเทศะ ซึ่งเป็นเหตุการณ์สมัยที่หลวงปู่มีชีวิต

ช่วงใกล้เพลจะมีผู้นำอาหารและเครื่องสังฆทานมาเข้าคิวรอถวายหลวงปู่เป็นจำนวนมาก มีสาวคนหนึ่งเธอบรรจงประเคนของสังฆทานแด่หลวงปู่ เมื่อประเคนเสร็จก็บรรจงกราบท่าน ๓ หน แต่เธอกลับถูกหลวงปู่ดุว่าต้องมองดูคนข้างหลังด้วย 

ปรกติ หากเป็นช่วงเวลาอื่นที่ไม่มีใคร ๆ มาต่อท้ายแถวมากมาย และไม่ใช่เวลาใกล้เพลหรือเลยเพลอย่างนี้ การบรรจงประเคนและบรรจงกราบก็เป็นเรื่องที่งดงามดี แต่ในสถานการณ์วันนั้น เวลานั้น เราต้องรู้จักกาลเทศะ กล่าวคือ รีบประเคน เมื่อประเคนเสร็จ หากประสงค์จะกราบ ๓ หน ก็ให้ถอยฉากออกมาหามุมกราบ มิใช่ไปกราบขวางทางผู้อื่น ทำให้เกิดการรอกันนาน ดีไม่ดีอาจทำให้หลวงปู่หลวงพ่อฉันไม่ทันเพล

เอ ลุงสิทธิ์เล่าตัวอย่างเรื่องที่ไม่ถูกกาลเทศะมาหลายกรณีแล้ว จะมีใครช่วยลุงสิทธิ์เล่าเสริมบ้างล่ะ  

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ปุถุชน

Posts: 1 topics
Joined: 8/5/2556

ความคิดเห็นที่ 2  « on 30/5/2556 12:55:00 IP : 202.29.26.248 »   
Re: เรื่องกาลเทศะ
 

ขออนุญาตเสริมพี่สิทธิ์พี่เหลิมโดยพาออกนอกวัด ในเรื่องปรารถนาดีที่ไม่ถูกกาลครับผม

ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุมวิจัยฯระดับนานาชาติ ถือว่าเป็นงานใหญ่งานหนื่งทีเดียว เพราะเต็มไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ(ทางโลก)

เหตุเกิดขณะที่วิทยากรกำลังนั่งบรรยายอยู่นั้น จู่ๆก็มีช่างภาพVideoพร้อมกล้องคู่กายของเขาเดินไปหน้าเวที ยังโต๊ะที่วิทยากรพูดอยู่ พลันเขาก็จับไมโครโฟนของวิทยากร เพื่อขยับให้ไมค์ใกล้ปากวิทยากรมากที่สุด แล้วเดินจากไป....

๔๐๐ กว่าคนที่เข้าร่วมประชุมเงียบกริบ ต่างมองไปที่วิทยากร บรรยากาศตึงเครียดมากครับเพราะเห็นวิทยากรหยุดพูด หน้าบึ้ง...แล้วมองตามหลังหนุ่มช่างVideoคนนั้นอย่างหัวเสีย

ผมได้แต่นึกในใจ "ปรารถนาดีแม้เล็กๆน้อยๆ หากไม่คิดพิจารณาให้รอบคอบก่อนปฏิบัติ โทษมันช่างรุนแรงจริงหนอ...."

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 3  « on 31/5/2556 8:25:00 IP : 203.148.162.151 »   
Re: เรื่องกาลเทศะ
 

พระพุทธองค์แม้มิอาจฝืนกฎแห่กรรมได้ แต่หากอยู่ในวิสัยที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิบากกรรมได้ พระองค์ก็ทรงทำ ดังเช่น เมื่อคราวที่พระเจ้าวิฑูฑภะ (พระราชโอรสที่ยึดราชบัลลังก์จากพระราชบิดาคือพระเจ้าปเสนทิโกศล) เสด็จยกทัพจากกรุงสาวัตถีไปกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อมุ่งจะประหัตประหารศายวงศ์ให้สิ้น เพื่อล้างแค้นที่ศากยวงศ์เหยียดหยามรังเกียจพระองค์ 

พระพุทธองค์ซึ่งอยู่ในวัยชรามากแล้ว ก็ยังสู้อุตส่าห์เดินเท้าไปขวางทางทัพด้วยพระองค์เอง พระเจ้าวิฑูฑภะเกรงพระทัยพระพุทธเจ้าจึงยอมเดินทัพกลับ พอยกมาครั้งที่สองก็เหมือนเดิมอีก แต่พอยกทัพมาครั้งที่สาม พระพุทธองค์จำต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรม แต่อย่างน้อยก็เชื่อกันว่า ช่วงที่พระพุทธองค์ถ่วงเวลาไว้นั้น มีศากยวงศ์ได้หนีออกจากเมืองไปได้ไม่น้อย กระทั่งได้กลับมาเป็นใหญ่อีกครั้งในยุคปู่ของพระเจ้าอโศกมหาราช...

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 5 Visits: 16,686,520 Today: 1,323 PageView/Month: 68,045