luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน  (Read: 38636 times - Reply: 20 comments)   
pordeeee

Posts: 0 topics
Joined: none

การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
« Thread Started on 18/12/2552 11:05:00 IP : 58.8.170.158 »
 

กราบสวัสดีครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ในเวปนี้ มีประสบการณ์น้อยในการปฏิบัติธรรม ซึ่งตอนนี้ผมกำลังอยู่ในช่วงค้นหาหนทางครับ และผมก็มีข้อสงสัยและสัปสนมากมาย เลยจะขอความเมตตาสอบถามพี่ๆน้องๆให้ช่วยกรุณาให้ความกระจ่างแก่ผู้ใหม่ด้วยน่ะครับ  คือว่า... ทุกวันนี้ Topic เรื่อง "การดูจิต" ดูเหมือนจะเป็นเรื่อง Top Hit กันมากในวงผู้ปฏิบัติฯ ผมได้มีโอกาสค้นคว้าทั้งฟังและอ่าน จากครูบาอาจารย์ (สายหลวงปู่มั่น และสายหลวงปู่ชา) หลายๆ ท่าน ท่านก็ว่า "ดูเฉยๆมันจะไปได้อะไร มันก็เป็นการปรุงแต่งขึ้นมาแล้วก็มานั่งดูมัน แล้วก็มาหลงหลอกตัวเองว่ากำลังดูที่จิตอยู่"  ก็เลยทำให้ผมสับสนมาก ว่าตกลงควรจะปฏิบัติอย่างไร พอผมได้มาอ่านพบในหนังสือ "101 ปี หลวงปู่ดู่ฯ" และได้เห็นว่าหลวงปู่ท่านก็สอนไว้เหมือนกันว่า "ให้หมั่นดูจิตรักษาจิต" ก็เลยทำให้เกิดความหวัง...ไม่ทราบว่าการดูจิตที่หลวงปู่ท่านสอน ท่านสอนเอาไว้แบบไหนอย่างไรครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
จำนวนข้อความทั้งหมด:  16
1
2
>
แสดงความคิดเห็น
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 18/12/2552 17:06:00 IP : 203.148.162.128 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 

ต้องยอมรับว่าการปฏิบัติธรรมในแนวทางที่เรียกกันว่า “การดูจิต” นั้น เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากในปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีเพื่อน ๆ หลายคนสงสัยถามกันมาไม่น้อยในเรื่องนี้ จึงทำให้ระลึกทบทวนว่าหลวงปู่ดู่ท่านสอนเรื่องการดูจิตไว้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะหลวงปู่มักสอนลูกศิษย์เสมอ ๆ ว่า “ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต ของดีก็อยู่ที่ตัวเรา ของไม่ดีก็อยู่ที่ตัวเรา”  

ก่อนอื่นต้องขอเน้นย้ำว่าไม่ได้มาฟันธงว่าแบบใดผิด แบบใดถูก หากแต่กล่าวถึงเพียงอุบายวิธีที่หลวงปู่ท่านสอนเพื่อแก้ข้อสงสัยของผู้ที่สงสัยถามมาเท่านั้น ซึ่งสรุปความแตกต่างไว้ใน ๓ ประเด็น ดังนี้ครับ

๑. การแทรกแซงหรือบังคับจิต           

ประเด็นนี้แตกต่างกันอย่างมาก เพราะแนวทางการดูจิตที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน เน้นการไม่เข้าไปแทรกแซง บังคับ หรือปรุงแต่งจิต ในขณะที่แนวทางอุบายที่หลวงปู่ดู่ท่านสอนนั้น ท่านให้บังคับจิต ฝึกฝืน อบรมจิต สอนจิตเจ้าของ เป็นต้นว่าพิจารณาสิ่งที่ดูที่เห็นว่ามีคุณมีโทษอย่างไร

ท่านว่าเราต้องหลอกล่อมันเสียก่อนจนกว่ามันจะฉลาดหรือแข็งแรงพอจะช่วยตัวเองได้ ดังที่ท่านสอนว่าเราต้องอาศัยการหลอกให้เขียน ก ข ก กา  หลอกตั้งแต่ขั้นที่เขียนไม่เป็นตัวหนังสือ กระทั่งเขียนได้สวยงาม กระทั่งแต่งเป็นประโยค เป็นร้อยแก้ว ร้อยกรองขึ้นมาได้ ทั้งหมดนี้ ก็อาศัยการหลอก (คือการปรุงแต่งสอนใจเจ้าของ) ทั้งสิ้น 

พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ยอมใช้สัญญาและการปรุงแต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรุงแต่งไปในทางให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรุงแต่งให้จิตเกิดธรรมสังเวช ซึ่งวิธีนี้ก็เหมือนเราเอาขวานมาฟันโคนต้นไม้ ฟันไปเรื่อย ๆ ถึงคราวต้นไม้จะโค่น มันก็โค่นไปในทิศที่เราอุตส่าห์ฟันซ้ำ ๆ ไปตรงที่เดิมนั้นเอง             

ดังนั้น ท่านจึงมิได้พูดเฉพาะ “ดูจิต” หากแต่มีคำว่า “รักษาจิต” ด้วย นั่นคือให้มีการแทรกแซง หรือหาอุบายแยบคายเพื่อสอนใจ อบรมใจ ให้ฉลาดต่อสิ่งที่ประสบหรือสิ่งถูกดู/ถูกรู้ที่เรียกว่าอารมณ์ เพื่อจะได้ไม่หลงกับมัน จนเกิดทุกข์เกิดโทษ การดัดจิตที่หลวงปู่สอนนี้จึงสอดคล้องกับพุทธพจน์ที่ว่า “นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรนกลับกลอก รักษาได้โดยยาก ห้ามได้โดยยากให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น” และ “พวกคนไขน้ำก็ไขน้ำไป ช่างศรก็ดัดลูกศร พวกช่างถากก็ถากไม้ พวกบัณฑิตผู้มีวัตรอันงาม ก็ฝึกฝนตน”           

ในภาคการปฏิบัติ หลวงปู่ท่านจึงให้ตะลุมบอน มีทั้งการปรุงแต่งปลุกปลอบใจ ให้กำลังใจตัวเอง (มิใช่ดูเฉย ๆ แบบไร้การปรุงแต่ง)  และก็เป็นเรื่องปรกติธรรมดาที่จะตั้งสมมุติขึ้นก่อน (หลวงปู่สอนบ่อยครั้งว่าต้องอาศัยสมมติขึ้นก่อน แล้ววิมุติจึงจะตามมา  หรืออาศัยสัญญาในเบื้องต้นก่อน แล้วปัญญาแท้จึงจะตามมา) เช่น ตั้งนิมิตขึ้นมาก่อนบ้าง หยิบยกหัวข้อธรรมขึ้นมาพิจารณาบ้าง  บางครั้งก็ถึงขั้น (ปรุงแต่ง) ด่าตัวเอง ให้คลายความโง่ความหลงบ้าง             

การปฏิบัติในภาคสนามแบบหลวงปู่จึงเป็นแบบมวยวัด เต็มไปด้วยการปรุงแต่งสอนใจ ข่มใจ ปลุกปลอบใจเจ้าของให้อาจหาญร่าเริงในธรรม โดยต้องช่วยประคับประคงจิตเจ้าของที่เบื้องต้นก็เหมือนเด็กเล็กซึ่งยังไม่ต้องพูดถึงการวิ่ง เอาแค่ยืนให้มั่นคงก็ยังยาก จึงต้องอาศัยการประคับประคองจิตให้จิตนั้นทรงตัวอยู่ได้ ก่อนที่จะทรงตัวได้อย่างเป็นธรรมชาติ (ของผู้ที่โตแล้ว หรือผ่านการฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว) 

การบังคับหรืออบรมจิตในระหว่างแห่งการปฏิบัตินี้อุปมาเหมือนออกแรงป่ายปีนภูเขาด้วยวิริยะอุตสาหะ ต่อสู้กับความเหนื่อยยากทั้งภายนอกภายใน ก่อนที่จะไปหยุดนั่งอยู่บนยอดเขาอย่างผู้เจนจบในชีวิต หรือผู้ที่พิชิตอุปสรรคต่าง ๆ มาหมดสิ้นแล้ว จึงนั่งมองมาเบื้องล่าง ดูความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ด้วยความวางเฉย และสงบเย็น ชนิดที่เรียกว่า เห็นสักแต่ว่าเห็น  ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน  ฯลฯ อันเป็นผลจากการป่ายปีนขึ้นมาถึงจุดนี้   

๒. การอาศัยฐานการเจริญกรรมฐานที่เพียงพอ

ประเด็นนี้ก็แตกต่างกันมากเช่นเดียวกัน เพราะแนวทางการดูจิตในปัจจุบัน ไม่เน้นการเจริญกรรมกรรมฐาน ในขณะที่แนวทางที่หลวงปู่สอน จะเน้นคล้ายครูบาอาจารย์ทางอีสานที่ส่งเสริมให้นั่งสมาธิ และอาศัยการบริกรรมภาวนา กล่าวโดยรวมคือหลวงปู่ท่านให้ยึดหลักว่าต้องเจริญทั้งส่วนของศีล สมาธิ และปัญญา อย่างเพียงพอและกลมกลืน (มรรคสมังคี)  ซึ่งแม้ปัญญาและวิมุติ จะเป็นที่ปรารถนา แต่ก็ไม่มองข้ามอุปกรณ์หรือเครื่องมือคือสมาธิ เป็นเหมือนบันไดในการขึ้นไปยังชั้นบน หากไม่อาศัยบันได แล้วกระโดดขึ้นชั้นบนเลย นอกจากขึ้นไมได้แล้ว ยังเจ็บตัวเปล่าอีกด้วย ดังคำสอนเตือนของหลวงปู่ที่ว่า “เบื้องต้นก็จะขึ้นยอดตาล มีหวังตกลงมาตาย หรือแข้งขาหักเท่านั้น”     

นอกจากหลวงปู่จะเน้นการเจริญสมาธิเพื่อให้จิตทรงตัวเพียงพอจะใช้เป็นฐานในการมองดูและพิจารณาอะไร ๆ ให้ชัดเจนแล้ว หลวงปู่ยังมุ่งให้เกิดสมาธิและปีติ เป็นความอิ่ม ความพอ ในจิตใจ มิเช่นนั้น จิตจะโหยหาอารมณ์ ตกเป็นทาสของนิวรณ์ ยากจะเอาจิตที่มีสภาวะเช่นนี้ไปใช้การใช้งานได้ 

๓. การตรวจสอบสภาวะจิตเจ้าของ     

ดูเหมือนว่าวิธีดูจิตที่เป็นอยู่ บรรดาศิษย์จะนิยมอาศัยการพยากรณ์ (ตรวจสอบ) วาระจิตจากครูอาจารย์  เพื่อให้รู้ว่าจิตของผู้ปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้าง มีความก้าวหน้าหรือต้องปรับปรุงอย่างไร ในขณะที่แนวทางที่หลวงปู่สอน จะเน้นให้ตรวจสอบใจเจ้าของเอง ดังที่ท่านเน้นบ่อย ๆ ว่าให้หมั่นสำรวจโลภ โกรธ หลง ในใจตัวเราเอง เพื่อให้สามารถเป็นครูเป็นอาจารย์สอนตนเอง เตือนตนด้วยตนเองให้ได้  

โดยสรุปก็คือ แนวทางการดูจิตของหลวงปู่ ต้องอาศัยการปรุงแต่งหรือการฝึกจิต ดัดจิต เพื่อรักษาใจด้วยการชำละล้างโลภ โกรธ หลงออกจากใจ   โดยอยู่บนหลักการที่ว่าทุกอย่างต้องมีขั้นมีตอน จะลัดเอาไม่ได้ และเน้นการตวจสอบตัวเอง เตือนตัวเอง ที่สำคัญ การดูจิต รักษาจิต ต้องอยู่บนฐานของจิตที่ควรแก่การงาน นั่นก็คือจิตที่เป็นสมาธิ มีการทรงตัว (ไม่ซัดส่ายง่าย ๆ) มีปีติและกำลังแห่งจิตที่พอตัว

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
รณธรรม

Posts: 2 topics
Joined: 7/11/2552

ความคิดเห็นที่ 2  « on 19/12/2552 15:38:00 IP : 124.121.211.95 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 

อนุโมทนาครับ  และขอกราบเรียนว่าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

ผมเองยังเคยสงสัยมาก  เพราะสิ่งที่เราทำสิ่งที่เราเป็นทำไมมันไม่เหมือนกับบางสำนักที่สอนเน้นแต่เรื่องการดูจิตเพียงอย่างเดียว จึงได้ฝากเพื่อนกราบเรียนถามหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เรียนถามท่านว่า "การดูจิตผิดไหม ?"

ท่านตอบว่า "ผิด"

แล้วเมตตาอธิบายว่า "การภาวนาที่ถูกเบื้องต้นต้องอาศัยคำบริกรรมหรือการดูลมก่อน เรื่องการดูจิตเป็นตอนท้ายเอามาทำเป็นเบื้องต้นไม่ได้หรอก"

ท่านนิ่งไปสักครู่ก็กล่าวต่อว่า "แต่การดูจิตก็ไม่ผิด ถ้าคนนั้นมีความชำนิชำนาญ แต่....ก็ต้องระวัง...หลง.."

"ถึงจะดูจิตแต่ก็ต้องจบด้วยหนึ่งสองสาม"

หลวงพ่อประสิทธิ์สรุป ซึ่งหนึ่งสองสามในที่นี้ก็คือต้องปิดท้ายด้วยการบริกรรมหรือการดูลมอยู่ดีเพื่อให้จิตมั่นคงแน่วแน่ไม่เลื่อน ๆ ลอย ๆ เหมือนอย่างการดูจิตเปล่า ๆ ว่าง ๆ เพราะจิตเรามันยังมีกิเลสหนาแน่นมันไม่ได้ว่างจริง ถ้าไปติดว่างแบบนั้นมันจะเผลอไปคิดว่าเราพ้นได้ หลวงพ่อสาลีโขเคยบอกกับผมว่า

"ในความว่างนั้นมีอยู่"

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
monny

Posts: 0 topics
Joined: 7/11/2552

ความคิดเห็นที่ 3  « on 19/12/2552 15:49:00 IP : 124.121.95.94 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
nong1307

Posts: 0 topics
Joined: 16/12/2552

ความคิดเห็นที่ 4  « on 19/12/2552 23:16:00 IP : 124.121.79.119 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 

 

เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เริ่ม เพื่อจะได้ไม่หลงทาง

 สาธุค่ะ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
pordeeee

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 5  « on 20/12/2552 11:19:00 IP : 61.90.17.138 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 

อนุโมทนาสาธุ มากๆครับคุณสิทธิ์ และคุณรณธรรม ครับ พอเห็นทางสว่างแล้วครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Aimee2500

Posts: 44 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 6  « on 21/12/2552 21:17:00 IP : 86.145.154.252 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 
สิทธิ์ Talk:
ต้องยอมรับว่าการปฏิบัติธรรมในแนวทางที่เรียกกันว่า การดูจิต นั้น เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากในปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีเพื่อน ๆ หลายคนสงสัยถามกันมาไม่น้อยในเรื่องนี้ จึงทำให้ระลึกทบทวนว่าหลวงปู่ดู่ท่านสอนเรื่องการดูจิตไว้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะหลวงปู่มักสอนลูกศิษย์เสมอ ๆ ว่า ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต ของดีก็อยู่ที่ตัวเรา ของไม่ดีก็อยู่ที่ตัวเรา  ก่อนอื่นต้องขอเน้นย้ำว่าไม่ได้มาฟันธงว่าแบบใดผิด แบบใดถูก หากแต่กล่าวถึงเพียงอุบายวิธีที่หลวงปู่ท่านสอนเพื่อแก้ข้อสงสัยของผู้ที่สงสัยถามมาเท่านั้น ซึ่งสรุปความแตกต่างไว้ใน ๓ ประเด็น ดังนี้ครับ๑.        การแทรกแซงหรือบังคับจิต            ประเด็นนี้แตกต่างกันอย่างมาก เพราะแนวทางการดูจิตที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน เน้นการไม่เข้าไปแทรกแซง บังคับ หรือปรุงแต่งจิต ในขณะที่แนวทางอุบายที่หลวงปู่ดู่ท่านสอนนั้น ท่านให้บังคับจิต ฝึกฝืน อบรมจิต สอนจิตเจ้าของ เป็นต้นว่าพิจารณาสิ่งที่ดูที่เห็นว่ามีคุณมีโทษอย่างไร ท่านว่าเราต้องหลอกล่อมันเสียก่อนจนกว่ามันจะฉลาดหรือแข็งพอจะช่วยตัวเองได้ ดังที่ท่านสอนว่าเราต้องอาศัยการหลอกให้เขียน ก ข ก กา  หลอกตั้งแต่ขั้นที่เขียนไม่เป็นตัวหนังสือ กระทั่งเขียนได้สวยงาม กระทั่งแต่งเป็นประโยค เป็นร้อยแก้ว ร้อยกรองขึ้นมาได้ ทั้งหมดนี้ ก็อาศัยการหลอก (คือการปรุงแต่งสอนใจเจ้าของ) ทั้งสิ้น  พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ยอมใช้สัญญาและการปรุงแต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรุงแต่งไปในทางให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรุงแต่งให้จิตเกิดธรรมสังเวช ซึ่งวิธีนี้ก็เหมือนเราเอาขวานมาฟันโคนต้นไม้ ฟันไปเรื่อย ๆ ถึงคราวต้นไม้จะโค่น มันก็โค่นไปในทิศที่เราอุตส่าห์ฟันซ้ำ ๆ ไปตรงที่เดิมนั้นเอง              ดังนั้น ท่านจึงมิได้พูดเฉพาะ ดูจิต หากแต่มีคำว่า รักษาจิต ด้วย นั่นคือให้มีการแทรกแซง หรือหาอุบายแยบคายเพื่อสอนใจ อบรมใจ ให้ฉลาดต่อสิ่งที่ประสบหรือสิ่งถูกดู/ถูกรู้ที่เรียกว่าอารมณ์ เพื่อจะได้ไม่หลงกับมัน จนเกิดทุกข์เกิดโทษ การดัดจิตที่หลวงปู่สอนนี้จึงสอดคล้องกับพุทธพจน์ที่ว่า นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรนกลับกลอก รักษาได้โดยยาก ห้ามได้โดยยากให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น และ พวกคนไขน้ำก็ไขน้ำไป ช่างศรก็ดัดลูกศร พวกช่างถากก็ถากไม้ พวกบัณฑิตผู้มีวัตรอันงาม ก็ฝึกฝนตน            ในภาคการปฏิบัติ หลวงปู่ท่านจึงให้ตะลุมบอน มีทั้งการปรุงแต่งปลุกปลอบใจ ให้กำลังใจตัวเอง (มิใช่ดูเฉย ๆ แบบไร้การปรุงแต่ง)  และก็เป็นเรื่องปรกติธรรมดาที่จะตั้งสมมุติขึ้นก่อน (หลวงปู่สอนบ่อยครั้งว่าต้องอาศัยสมมติขึ้นก่อน แล้ววิมุติจึงจะตามมา  หรืออาศัยสัญญาในเบื้องต้นก่อน แล้วปัญญาแท้จึงจะตามมา) เช่น ตั้งนิมิตขึ้นมาก่อนบ้าง หยิบยกหัวข้อธรรมขึ้นมาพิจารณาบ้าง  บางครั้งก็ถึงขั้น (ปรุงแต่ง) ด่าตัวเอง ให้คลายความโง่ความหลงบ้าง              การปฏิบัติในภาคสนามแบบหลวงปู่จึงเป็นแบบมวยวัด เต็มไปด้วยการปรุงแต่งสอนใจ ข่มใจ ปลุกปลอบใจเจ้าของให้อาจหาญร่าเริงในธรรม โดยต้องช่วยประคับประคงจิตเจ้าของที่เบื้องต้นก็เหมือนเด็กเล็กซึ่งยังไม่ต้องพูดถึงการวิ่ง เอาแค่ยืนให้มั่นคงก็ยังยาก จึงต้องอาศัยการประคับประคองจิตให้จิตนั้นทรงตัวอยู่ได้ ก่อนที่จะทรงตัวได้อย่างเป็นธรรมชาติ (ของผู้ที่โตแล้ว หรือผ่านการฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว)            การบังคับหรืออบรมจิตในระหว่างแห่งการปฏิบัตินี้อุปมาเหมือนออกแรงป่ายปีนภูเขาด้วยวิริยะอุตสาหะ ต่อสู้กับความเหนื่อยยากทั้งภายนอกภายใน ก่อนที่จะไปหยุดนั่งอยู่บนยอดเขาอย่างผู้เจนจบในชีวิต หรือผู้ที่พิชิตอุปสรรคต่าง ๆ มาหมดสิ้นแล้ว จึงนั่งมองมาเบื้องล่าง ดูความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ด้วยความวางเฉย และสงบเย็น ชนิดที่เรียกว่า เห็นสักแต่ว่าเห็น  ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน  ฯลฯ อันเป็นผลจากการป่ายปีนขึ้นมาถึงจุดนี้   ๒.     การอาศัยฐานการเจริญกรรมฐานที่เพียงพอ
ประเด็นนี้ก็แตกต่างกันมากเช่นเดียวกัน เพราะแนวทางการดูจิตในปัจจุบัน ไม่เน้นการเจริญกรรมกรรมฐาน ในขณะที่แนวทางที่หลวงปู่สอน จะเน้นคล้ายครูบาอาจารย์ทางอีสานที่ส่งเสริมให้นั่งสมาธิ และอาศัยการบริกรรมภาวนา กล่าวโดยรวมคือหลวงปู่ท่านให้ยึดหลักว่าต้องเจริญทั้งส่วนของศีล สมาธิ และปัญญา อย่างเพียงพอและกลมกลืน (มรรคสมังคี)  ซึ่งแม้ปัญญาและวิมุติ จะเป็นที่ปรารถนา แต่ก็ไม่มองข้ามอุปกรณ์หรือเครื่องมือคือสมาธิ เป็นเหมือนบันไดในการขึ้นไปยังชั้นบน หากไม่อาศัยบันได แล้วกระโดดขึ้นชั้นบนเลย นอกจากขึ้นไมได้แล้ว ยังเจ็บตัวเปล่าอีกด้วย ดังคำสอนเตือนของหลวงปู่ที่ว่า เบื้องต้นก็จะขึ้นยอดตาล มีหวังตกลงมาตาย หรือแข้งขาหักเท่านั้น
      นอกจากหลวงปู่จะเน้นการเจริญสมาธิเพื่อให้จิตทรงตัวเพียงพอจะใช้เป็นฐานในการมองดูและพิจารณาอะไร ๆ ให้ชัดเจนแล้ว หลวงปู่ยังมุ่งให้เกิดสมาธิและปีติ เป็นความอิ่ม ความพอ ในจิตใจ มิเช่นนั้น จิตจะโหยหาอารมณ์ ตกเป็นทาสของนิวรณ์ ยากจะเอาจิตที่มีสภาวะเช่นนี้ไปใช้การใช้งานได้ ๓.      การตรวจสอบสภาวะจิตเจ้าของ      ดูเหมือนว่าวิธีดูจิตที่เป็นอยู่ บรรดาศิษย์จะนิยมอาศัยการพยากรณ์ (ตรวจสอบ) วาระจิตจากครูอาจารย์  เพื่อให้รู้ว่าจิตของผู้ปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้าง มีความก้าวหน้าหรือต้องปรับปรุงอย่างไร ในขณะที่แนวทางที่หลวงปู่สอน จะเน้นให้ตรวจสอบใจเจ้าของเอง ดังที่ท่านเน้นบ่อย ๆ ว่าให้หมั่นสำรวจโลภ โกรธ หลง ในใจตัวเราเอง เพื่อให้สามารถเป็นครูเป็นอาจารย์สอนตนเอง เตือนตนด้วยตนเองให้ได้  โดยสรุปก็คือ แนวทางการดูจิตของหลวงปู่ ต้องอาศัยการปรุงแต่งหรือการฝึกจิต ดัดจิต เพื่อรักษาใจด้วยการชำละล้างโลภ โกรธ หลงออกจากใจ   โดยอยู่บนหลักการที่ว่าทุกอย่างต้องมีขั้นมีตอน จะลัดเอาไม่ได้ และเน้นการตวจสอบตัวเอง เตือนตัวเอง ที่สำคัญ การดูจิต รักษาจิต ต้องอยู่บนฐานของจิตที่ควรแก่การงาน นั่นก็คือจิตที่เป็นสมาธิ มีการทรงตัว (ไม่ซัดส่ายง่าย ๆ) มีปีติและกำลังแห่งจิตที่พอตัว


 Anumothana Sathu

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
วิมุติมรรค

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 7  « on 25/12/2552 13:17:00 IP : 125.26.191.131 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 

 

โมทนาครับ

เป็นการเเสดงทัศนะเรื่อง การดูจิต ที่น่าสนใจมากครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
balakia

Posts: 4 topics
Joined: 27/1/2553

ความคิดเห็นที่ 8  « on 29/1/2553 11:08:00 IP : 123.3.66.163 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 

ในที่สุดก็ได้อ่าน ได้พอเข้าใจใน ประโยคสั้นๆที่ว่า ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต ของดีก็อยู่ที่ตัวเรา ของไม่ดีก็อยู่ที่ตัวเรา ขอโมทนาสาธุ ทั้งผู้ถาม และผู้ตอบทุกท่านครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
tpyw

Posts: 0 topics
Joined: 15/1/2553

ความคิดเห็นที่ 9  « on 30/1/2553 23:52:00 IP : 58.11.78.142 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 
คัดบทความมาให้อ่านครับเห็นว่าเผื่อจะมีประโยชน์บ้างในเนื้อหาของการดูจิตรักษาจิต ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าเมื่อใจเคลื่อนจากกลางเรียกจิตถ้าเห็นหรือรู้ทัน จ๊ะเอ๋แล้วจากไป  เป็นการรักษาใจนั่นเองส่วนภาวนาไม่ว่าไตรสรณคมณ์ อาณาปาณสติ กำหนดรุปพิจารณา เป็นการรวมจิต หางานให้จิตทำ หาบ้านหรือวิหารธรรมให้จิตอยู่ไม่ไปเร่ร่อนที่ไหนอีกทั้งเป็นการสร้างกำลังให้จิต  วันนี้จะอธิบายถึงเรื่องวิธีหาจิต จิต เป็นของสำคัญที่สุด เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องมีจิตทุกคน แต่หากเราไม่ เห็นจิต เราเกิดมาก็เพราะจิต เป็นอยู่ก็เพราะจิต เราจะตายไปก็เพราะจิต จิตแท้นั้นคืออะไร จิตนี้ไม่มีตัวมีตน มองก็ไม่เห็น ความรู้สึกความนึกความคิดนั่นแหละคือ ตัวจิต เพราะฉะนั้น ลืมตาจึงมองไม่เห็น ถ้าหลับตาแล้วเห็นหรอก

ถ้าหากเราไม่เห็นตัวจิต จิตมันจะพาเราไปเที่ยวฟอนทุกสิ่งทุกอย่าง กิเลสทั้งหลายทั้งปวงหมดเกิดจากจิตทั้งนั้น ที่ท่านพูดถึงเรื่อง เจตสิก ก็คืออาการของจิตที่เรียกว่ากิเลสทั้งหลายร้อยแปดพันประการนั้นก็เกิดจากจิตอันเดียว ผู้ที่รู้มากมายหลายเรื่องก็ว่าไปตามตำรา แต่ตัวจิตแท้ไม่เห็น กิเลสตัณหาก็ว่าไปตามเรื่องตามราวตั้งแต่ขันธ์ 5 อายตนะ 6 เรื่อยไป ขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมลงมามี 2 อย่าง คือ รูปกับนาม รูปมองเห็นได้ แต่นามคือจิต มองไม่เห็น

ทำอย่างไรจึงจะเห็นจิต ถ้ามิฉะนั้น จิตก็จะพาเราว่อนอยู่อย่างนั้นแหละ เที่ยวเหนือล่องใต้ไปทั่วทุกทิศทุกทาง ถ้าเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตไม่ได้ ก็จะพาให้เราทุกข์เร่าร้อน เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ถ้าไม่มีจิตแล้ว ตัวของเราก็เหมือน กับท่อนไม้ท่อนฟืน ใครจะสับจะบั่น ใครจะเผาจะอะไรๆ ต่างๆ ไม่รู้สึกทั้งนั้น การปรากฏเห็นภาพทางตา เขาเรียกว่า จิต แต่คนไม่เห็นตัวจิต คือตาเห็นภาพนั่นน่ะ เข้าใจว่าจิตเห็น ...ไม่ใช่จิต ตาเห็นต่างหาก แสงกระทบเข้ามาก็เห็นเท่านั้น หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เสียงมาเข้าหูกระทบกันเข้ามันก็ได้ยิน จมูกสูดกลิ่น ลิ้นถูก รส กายสัมผัสอะไรต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ตัวจิต เป็นเรื่องกระทบกันต่างหาก กระทบกันแล้วก็หายไป ถ้าเช่นนั้น จิตมันอยู่ที่ไหน ให้ลองหาดูในตัวเรานี่แหละ หาให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ดูว่าจิตแท้มันอยู่ที่ไหนกัน เมื่อหาจิตไม่เห็นแล้ว คนที่หาน่ะไม่เห็น คนไหนเป็นคนหา มันยังมีซ้อนอีก ใครเป็นคนค้นหา สิ่งที่ไปหานั้นเห็น แต่ผู้หาไม่เห็น อย่างว่าเห็นรูป รูปนั้นเห็นแล้ว แต่ผู้เห็นน่ะใครเป็นคน เห็น มันต้องหาตัวนั้นซีจึงจะเห็นจิตมันต้องเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละคราวนี้ ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่ง เฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละมันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ ในหนังสือต่างๆ ก็ พูดอยู่หรอกจิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น บางแห่งท่านก็พูดเป็นจิต บางแห่งท่านก็พูดเป็นใจ อย่างท่านพูดว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจอันถึงก่อน มโนคือใจ ผู้นึกผู้น้อมทีแรก นั่นแหละ ไม่ใช่คิด นึกน้อมทีแรกนั้นแหละคือตัวใจ มโนเสฎฐา มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วด้วยใจ ท่านพูดถึงเรื่อง มโนคือใจ คราวนี้พูดถึงเรื่อง จิต ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุ เกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ จิตเป็นของประสัสสร คือมันผ่องใสสะอาดอยู่ตลอดเวลา อาคันตุกกิเลสต่างหาก มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา นี่พูดเรื่อง จิต ให้คิดดูว่า หากจิตเดิมเป็นของเศร้าหมองแล้ว ใครจะทำให้บริสุทธิ์ได้ ไม่มี เลย เหตุนั้นท่านจึงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเป็นของประภัสสรตลอดเวลา ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าจิตประภัสสร จิตกับใจเข้ามารวมกันแล้ว คราวนี้มารวมกันเข้าเป็นใจ เมื่อมันเป็นประภัสสรมันรวมกันเป็นใจ ประภัสสรนั้นหมายความถึงจิตไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง จึงจะเห็นจิต เรียกว่าใจ ถ้าหากยังคิดนึกปรุงแต่งอยู่มันเศร้าหมอง ถ้าจิตผ่องใสแท้มันต้องสะอาดปราศจากความคิดความนึกความปรุงความแต่งจึงเรียกว่าใจเรามาพยายามขัดเกลากิเลสตรงนั้นแหละ ตรงอาคันตุกกิเลสอันนั้น ไม่ให้มันมีไม่ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้น จึงจะรู้เห็นสิ่งต่างๆ คำว่าใสสะอาดมันก็เห็นนะซี มันจะไม่เห็นอย่างไร น้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ย่อมมองเห็นเงาตนเองได้ เพชรนิลจินดา เขาเจียระไนแล้วเป็นของใสสะอาด เพราะ เนื้อมันเป็นของใสมาแต่เดิม ถ้าหากเป็นเหล็กก็จะไม่ผ่องใสหรอก เพราะธรรมชาติ ไม่ใช่ของใสสะอาด จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลส ออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ คราวนี้จะไม่เรียกว่าจิต จะเรียกว่าใจ เราเรียกธรรมชาติของที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ว่าใจ ในขณะที่เราทำความเพียรภาวนา ทำใจให้เป็น กลางๆ เฉยๆ สบาย มันก็ถึงใจ ความสบาย นั่นแหละเป็นใจ ความเฉยๆ นั่นแหละ เป็นใจ ไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบาปไม่มีบุญ ตัวเฉยๆ นั่นแหละ ไม่มีอะไรทั้งหมด ความคิดความนึกความปรุงความแต่ง มัน ออกไปจากใจ เรียกว่าจิต จิตคือผู้คิดนึก ปรุงแต่ง จิตเป็นคนสั่ง สารพัดทุกอย่างในโลก ส่วนใจสงบคงที่เหตุนั้นพระพุทธศาสนาจึงสอนเข้าถึงใจ คือสอนถึงที่สุด คือเข้าถึงความบริสุทธิ์นั่นเอง สุดนั้นก็คือที่สุดของทุกข์นั่นเอง ถ้าเข้าถึงใจแล้ว ไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน ไม่ปรุงไม่แต่ง ไม่คิดไม่นึก ก็หมดเรื่องเท่านั้นละ ถ้าปรุงแต่งก็จะไปกันมากมาย หลงใหลไม่มีที่สิ้นสุด เหตุฉะนั้น จึงว่าคนเราไม่เคยเห็นใจของตน แต่ไหนแต่ไรมา เกิดก็เกิดเพราะใจ เวลาตายก็ตาย เพราะใจปรุงแต่ง คิดนึกสารพัดทุกอย่าง คนทั้งหลายโดยส่วนมากพูดกันถึงเรื่องใจทั้งนั้น พุทธศาสนาก็พูดถึงเรื่องใจ ใจบุญ ใจกุศล ใจบาป ใจอำมหิต ใจคิดประทุษร้าย สารพัดทุกใจ พูดกันถึงเรื่องความดี ความงาม ก็ใจบุญ ใจกุศล ใจใสสะอาดบริสุทธิ์ พูดถึงเรื่องใจอันเดียว


 ใจต้องเป็นอันเดียวไม่ใช่หลายอย่าง ที่หลายอย่างนั่นน่ะมันจิตต่างหาก พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงตัวหนึ่ง ตัวใจนี่แหละ จึงจะเห็นเรื่องทั้งหลายทั้งหมด ถ้าไม่เห็นตัวหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งนั้น อย่างเรานับหนึ่งขึ้นเบื้องต้น นับหนึ่งเสียก่อน หนึ่งสองหน ก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เห็นสาม สี่หน ห้าหน จนถึงเก้าหน สิบหน ก็เป็นสี่ ห้า จนถึงเก้า ถึงสิบ ก็มาจากหนึ่งอันเดียวนั่นแหละ จะนับเป็นสิบเป็นร้อย แท้ที่จริงก็นับจากหนึ่งอันเดียวเท่านั้น คนเราลืมหนึ่งเสีย ไปนับสอง สาม สี่ ห้า ถ้านับหนึ่งแล้วหมดเรื่อง เหตุนั้นการทำสมาธิภาวนาคุมจิตให้ถึงใจรวมเป็นหนึ่งนี่แหละ พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น สอนใจอย่างเดียว คนส่วนมากเห็นว่าการทำสมาธิภาวนาไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาสเป็นเรื่องของพระ พระบางท่านบางองค์ ก็ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราหรอก เป็นเรื่องของพระกัมมัฏฐาน แท้ที่จริงคนเรามีใจด้วยกันทุกคน ใครเข้าหาใจได้แล้วก็เป็น กัมมัฏฐานด้วยกันทั้งนั้นแหละ เป็น ภาวนา สมาธิแล้วทั้งนั้น เว้นไว้แต่เรา ไม่ทำ


 อธิบายถึงเรื่องใจ ให้ค้นหาใจ ให้ พิจารณาเข้าถึงใจ ขอยุติเพียงเท่านี้   วิธีหาจิตโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสีวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย 

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
tpyw

Posts: 0 topics
Joined: 15/1/2553

ความคิดเห็นที่ 10  « on 31/1/2553 9:42:00 IP : 58.11.78.142 »   
Re: การดูจิต ที่หลวงปู่ดู่สอน
 

 

 

คัดบทความมาให้อ่านครับเห็นว่าเผื่อจะมีประโยชน์บ้างในเนื้อหาของการดูจิตรักษาจิต เห็นว่าถ้าหาไม่เจอ จะเห็นจะดูอย่างไร รักษาอย่างไรครับ

 

วิธีหาจิต

โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

 

วันนี้จะอธิบายถึงเรื่องวิธีหาจิต จิต เป็นของสำคัญที่สุด เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องมีจิตทุกคน แต่หากเราไม่ เห็นจิต เราเกิดมาก็เพราะจิต เป็นอยู่ก็เพราะจิต เราจะตายไปก็เพราะจิต จิตแท้นั้นคืออะไร จิตนี้ไม่มีตัวมีตน มองก็ไม่เห็น ความรู้สึกความนึกความคิดนั่นแหละคือ ตัวจิต เพราะฉะนั้น ลืมตาจึงมองไม่เห็น ถ้าหลับตาแล้วเห็นหรอก

ถ้าหากเราไม่เห็นตัวจิต จิตมันจะพาเราไปเที่ยวฟอนทุกสิ่งทุกอย่าง กิเลสทั้งหลายทั้งปวงหมดเกิดจากจิตทั้งนั้น ที่ท่านพูดถึงเรื่อง เจตสิก ก็คืออาการของจิตที่เรียกว่ากิเลสทั้งหลายร้อยแปดพันประการนั้นก็เกิดจากจิตอันเดียว ผู้ที่รู้มากมายหลายเรื่องก็ว่าไปตามตำรา แต่ตัวจิตแท้ไม่เห็น กิเลสตัณหาก็ว่าไปตามเรื่องตามราวตั้งแต่ขันธ์ 5 อายตนะ 6 เรื่อยไป ขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมลงมามี 2 อย่าง คือ รูปกับนาม รูปมองเห็นได้ แต่นามคือจิต มองไม่เห็น

ทำอย่างไรจึงจะเห็นจิต ถ้ามิฉะนั้น จิตก็จะพาเราว่อนอยู่อย่างนั้นแหละ เที่ยวเหนือล่องใต้ไปทั่วทุกทิศทุกทาง ถ้าเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตไม่ได้ ก็จะพาให้เราทุกข์เร่าร้อน เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ถ้าไม่มีจิตแล้ว ตัวของเราก็เหมือน กับท่อนไม้ท่อนฟืน ใครจะสับจะบั่น ใครจะเผาจะอะไรๆ ต่างๆ ไม่รู้สึกทั้งนั้น การปรากฏเห็นภาพทางตา เขาเรียกว่า จิต แต่คนไม่เห็นตัวจิต คือตาเห็นภาพนั่นน่ะ เข้าใจว่าจิตเห็น ...ไม่ใช่จิต ตาเห็นต่างหาก แสงกระทบเข้ามาก็เห็นเท่านั้น หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เสียงมาเข้าหูกระทบกันเข้ามันก็ได้ยิน จมูกสูดกลิ่น ลิ้นถูก รส กายสัมผัสอะไรต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ตัวจิต เป็นเรื่องกระทบกันต่างหาก กระทบกันแล้วก็หายไป ถ้าเช่นนั้น จิตมันอยู่ที่ไหน ให้ลองหาดูในตัวเรานี่แหละ หาให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ดูว่าจิตแท้มันอยู่ที่ไหนกัน เมื่อหาจิตไม่เห็นแล้ว คนที่หาน่ะไม่เห็น คนไหนเป็นคนหา มันยังมีซ้อนอีก ใครเป็นคนค้นหา สิ่งที่ไปหานั้นเห็น แต่ผู้หาไม่เห็น อย่างว่าเห็นรูป รูปนั้นเห็นแล้ว แต่ผู้เห็นน่ะใครเป็นคน เห็น มันต้องหาตัวนั้นซีจึงจะเห็นจิตมันต้องเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละคราวนี้ ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่ง เฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละมันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ

 

ในหนังสือต่างๆ ก็ พูดอยู่หรอกจิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น บางแห่งท่านก็พูดเป็นจิต บางแห่งท่านก็พูดเป็นใจ อย่างท่านพูดว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจอันถึงก่อน มโนคือใจ ผู้นึกผู้น้อมทีแรก นั่นแหละ ไม่ใช่คิด นึกน้อมทีแรกนั้นแหละคือตัวใจ มโนเสฎฐา มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วด้วยใจ ท่านพูดถึงเรื่อง มโนคือใจ คราวนี้พูดถึงเรื่อง จิต ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุ เกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ จิตเป็นของประสัสสร คือมันผ่องใสสะอาดอยู่ตลอดเวลา อาคันตุกกิเลสต่างหาก มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา นี่พูดเรื่อง จิต ให้คิดดูว่า หากจิตเดิมเป็นของเศร้าหมองแล้ว ใครจะทำให้บริสุทธิ์ได้ ไม่มี เลย เหตุนั้นท่านจึงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเป็นของประภัสสรตลอดเวลา ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าจิตประภัสสร จิตกับใจเข้ามารวมกันแล้ว คราวนี้มารวมกันเข้าเป็นใจ เมื่อมันเป็นประภัสสรมันรวมกันเป็นใจ ประภัสสรนั้นหมายความถึงจิตไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง จึงจะเห็นจิต เรียกว่าใจ ถ้าหากยังคิดนึกปรุงแต่งอยู่มันเศร้าหมอง ถ้าจิตผ่องใสแท้มันต้องสะอาดปราศจากความคิดความนึกความปรุงความแต่งจึงเรียกว่าใจเรามาพยายามขัดเกลากิเลสตรงนั้นแหละ ตรงอาคันตุกกิเลสอันนั้น ไม่ให้มันมีไม่ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้น จึงจะรู้เห็นสิ่งต่างๆ คำว่าใสสะอาดมันก็เห็นนะซี มันจะไม่เห็นอย่างไร น้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ย่อมมองเห็นเงาตนเองได้ เพชรนิลจินดา เขาเจียระไนแล้วเป็นของใสสะอาด เพราะ เนื้อมันเป็นของใสมาแต่เดิม ถ้าหากเป็นเหล็กก็จะไม่ผ่องใสหรอก เพราะธรรมชาติ ไม่ใช่ของใสสะอาด จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลส ออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ คราวนี้จะไม่เรียกว่าจิต จะเรียกว่าใจ เราเรียกธรรมชาติของที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ว่าใจ ในขณะที่เราทำความเพียรภาวนา ทำใจให้เป็น กลางๆ เฉยๆ สบาย มันก็ถึงใจ ความสบาย นั่นแหละเป็นใจ ความเฉยๆ นั่นแหละ เป็นใจ ไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบาปไม่มีบุญ ตัวเฉยๆ นั่นแหละ ไม่มีอะไรทั้งหมด ความคิดความนึกความปรุงความแต่ง มัน ออกไปจากใจ เรียกว่าจิต จิตคือผู้คิดนึก ปรุงแต่ง จิตเป็นคนสั่ง สารพัดทุกอย่างในโลก ส่วนใจสงบคงที่เหตุนั้นพระพุทธศาสนาจึงสอนเข้าถึงใจ คือสอนถึงที่สุด คือเข้าถึงความบริสุทธิ์นั่นเอง สุดนั้นก็คือที่สุดของทุกข์นั่นเอง ถ้าเข้าถึงใจแล้ว ไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน ไม่ปรุงไม่แต่ง ไม่คิดไม่นึก ก็หมดเรื่องเท่านั้นละ ถ้าปรุงแต่งก็จะไปกันมากมาย หลงใหลไม่มีที่สิ้นสุด เหตุฉะนั้น จึงว่าคนเราไม่เคยเห็นใจของตน แต่ไหนแต่ไรมา เกิดก็เกิดเพราะใจ เวลาตายก็ตาย เพราะใจปรุงแต่ง คิดนึกสารพัดทุกอย่าง คนทั้งหลายโดยส่วนมากพูดกันถึงเรื่องใจทั้งนั้น พุทธศาสนาก็พูดถึงเรื่องใจ ใจบุญ ใจกุศล ใจบาป ใจอำมหิต ใจคิดประทุษร้าย สารพัดทุกใจ พูดกันถึงเรื่องความดี ความงาม ก็ใจบุญ ใจกุศล ใจใสสะอาดบริสุทธิ์ พูดถึงเรื่องใจอันเดียว


 
ใจต้องเป็นอันเดียวไม่ใช่หลายอย่าง ที่หลายอย่างนั่นน่ะมันจิตต่างหาก พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงตัวหนึ่ง ตัวใจนี่แหละ จึงจะเห็นเรื่องทั้งหลายทั้งหมด ถ้าไม่เห็นตัวหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งนั้น อย่างเรานับหนึ่งขึ้นเบื้องต้น นับหนึ่งเสียก่อน หนึ่งสองหน ก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เห็นสาม สี่หน ห้าหน จนถึงเก้าหน สิบหน ก็เป็นสี่ ห้า จนถึงเก้า ถึงสิบ ก็มาจากหนึ่งอันเดียวนั่นแหละ จะนับเป็นสิบเป็นร้อย แท้ที่จริงก็นับจากหนึ่งอันเดียวเท่านั้น คนเราลืมหนึ่งเสีย ไปนับสอง สาม สี่ ห้า ถ้านับหนึ่งแล้วหมดเรื่อง เหตุนั้นการทำสมาธิภาวนาคุมจิตให้ถึงใจรวมเป็นหนึ่งนี่แหละ พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น สอนใจอย่างเดียว คนส่วนมากเห็นว่าการทำสมาธิภาวนาไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาสเป็นเรื่องของพระ พระบางท่านบางองค์ ก็ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราหรอก เป็นเรื่องของพระกัมมัฏฐาน แท้ที่จริงคนเรามีใจด้วยกันทุกคน ใครเข้าหาใจได้แล้วก็เป็น กัมมัฏฐานด้วยกันทั้งนั้นแหละ เป็น ภาวนา สมาธิแล้วทั้งนั้น เว้นไว้แต่เรา ไม่ทำ


 
อธิบายถึงเรื่องใจ ให้ค้นหาใจ ให้ พิจารณาเข้าถึงใจ ขอยุติเพียงเท่านี้    

 


ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าเมื่อใจเคลื่อนจากกลางเรียกจิตถ้าเห็นหรือรู้ทัน จ๊ะเอ๋แล้วจากไป  เป็นการรักษาใจนั่นเองส่วนภาวนาไม่ว่าไตรสรณคมณ์ อาณาปาณสติ กำหนดรูป การพิจารณา ..เป็นการรวมจิต หางานให้จิตทำ หาบ้านหรือวิหารธรรมให้จิตอยู่ไม่ไปเร่ร่อนที่ไหนอีกทั้งเป็นการสร้างกำลังให้จิต  tpyw

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
2
>
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 2 Visits: 16,615,300 Today: 812 PageView/Month: 86,798