luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   พุทโธ กับ พุทธัง  (Read: 16462 times - Reply: 5 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

พุทโธ กับ พุทธัง
« Thread Started on 23/3/2554 8:16:00 IP : 203.148.162.151 »
 

การทำสมาธิภาวนาในภาคปฏิบัตินั้น อุบายวิธีที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการใช้คำบริกรรมภาวนา

เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล เคยมีพระภิกษุรูปหนึ่งเอา "ชื่อนก" ที่ท่านเห็นในระหว่างเดินทางมาเป็นคำบริกรรมภาวนา ท่านบริกรรมของท่านจนจิตสงบเป็นสมาธิ ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความที่สัตว์เล็กต้องตกเป็นอาหารของสัตว์ที่ใหญ่กว่า ฯลฯ จิตท่านก็เกิดธรรมสังเวช กระทั่งบรรลุธรรมในที่สุด

ในสมัยปัจจุบันที่หลวงปู่มั่นส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐานอย่างแพร่หลาย คำบริกรรมที่เป็นที่นิยมก็คือ "พุทโธ" ถ้าเป็นหลวงพ่อสดก็นิยมใช้คำบริกรรมภาวนาว่า "สัมมา อะระหัง" ในขณะที่หลวงปู่ดู่นิยมให้ลูกศิษย์บริกรรมว่า "พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ" 

คำบริกรรมจึงเป็นเครื่องมือ/เครื่องอาศัยเพื่อการรวมจิตรวมใจให้อยู่ในอารมณ์เดียว (คืออารมณ์แห่งการบริกรรมภาวนา) จิตก็จะเข้าถึงความสงบระงับละเอียดประณีตไปตามลำดับ

เคยมีศิษย์ใหม่มากราบเรียนหลวงปู่ว่าเขาเคยภาวนา "พุทโธ" บ้าง "สัมมา อะระหัง" บ้าง ฯลฯ หลวงปู่ก็มักจะว่า "ดีแล้ว ให้ภาวนาอย่างนั้นต่อไป เว้นแต่ศิษย์บางคนจะลองเปลี่ยนคำบริกรรมทั้งนี้เป็นไปตามความสมัครใจของตนเอง

แต่สำหรับผู้ที่เริ่มใหม่ ยังไม่รู้จะใช้คำบริกรรมภาวนาใดดี หลวงปู่ก็จะแนะนำให้บริกรรมไตรสรณาคมน์ (คือพุทธัง...ธัมมัง...สังฆัง สะระณังคัจฉามิ) ท่านว่า "ไตรสรณาคมน์คือรากแก้วของพระพุทธศาสนา"

ถึงกระนั้นก็ยังมีลูกศิษย์ขี้สงสัยถามหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ครับ ทำไมไม่พุทโธ...ทำไมต้อง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ครับ"

หลวงปู่อมยิ้มแล้วตอบว่า "ก็แล้วแกจะขึ้นต้นไม้ทางโคนหรือทางยอดล่ะ"

ความหมายของหลวงปู่ก็คือ พุทโธ หรือ ความรู้ ตื่น เบิกบาน นั้นเป็นภาวะที่เป็นผลแห่งการปฏิบัติ ในขณะที่พุทธัง..ธัมมัง...สังฆังฯ นั้นเป็นฐานรากแห่งการปฏิบัติ

คนเราจะมาเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ได้ก็ด้วยอาศัยศรัทธาเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อในพระพุทธ พรระธรรม พระสงฆ์ อาศัยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งในเบื้องต้น แล้วก้าวเดินทางภาคปฏิบัติไปจนกว่าจะได้ตนเป็นที่พึ่ง วันที่ได้ตนเป็นที่พึ่งนั้นแหละ คือได้พุทโธ

นี่ว่ากันโดยความหมาย แต่ในทางปฏิบัติหรือการบริกรรมภาวนาจริง ๆ หลวงปู่ท่านก็มิได้บังคับให้ใคร ๆ ต้องมาเปลี่ยนคำบริกรรมหรอก เพราะมันก็เป็นแค่เครื่องมือจูงจิตให้พ้นจากนิวรณ์ความฟุ้งซ่าน ฯลฯ ให้เข้าถึงความสงบอันเป็นเป้าหมายปลายทางเดียวกัน ไม่มีหรอกว่าบริกรรมอย่างนี้จะเป็นสมถะ บริกรรมอย่างนี้จะเป็นวิปัสสนา ท่านไม่เคยแยกอย่างนั้น ครูบาอาจารย์ทั้งหลายมีหลวงพ่อชาก็ไม่เคยแยกอย่างนั้น สมถะ-วิปัสสนาเป็นการแยกในทางปริยัติให้เข้าใจแบบ slow motion mode หรือแบบช้า ๆ หรืออาจเรียกว่าแบบแยกส่วน (ไม่ใช่แบบองค์รวม) แต่ในภาคปฏิบัติแล้วท่านไม่ให้แยก แยกแล้วมีปัญหา แยกแล้วก็มักจะไปติดการเรียกชื่อว่านี้วิปัสสนานะตัดกิเลสได้ โน่นแค่สมถะเป็นแค่กดข่มกิเลสนะ ฯลฯ

พูดเรื่องคำบริกรรม "พุทโธ กับ พัทธังฯ" ไป ๆ มา ๆ ชักเลยเถิดไปถึงเรื่องสมถะ-วิปัสสนาซะแล้ว  ขอสรุปอีกทีว่าจะบริกรรมพุทโธ หรือพุทธัง ธัมมัง สังฆังฯ หลวงปู่ท่านก็ว่าดีทั้งนั้น ความหมายก็ดีทั้งคู่ คำหนึ่งหมายถึงส่วนผล อีกคำหนึ่งหมายถึงส่วนเหตุ    

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: พุทโธ กับ พุทธัง
จำนวนข้อความทั้งหมด:  3
1
แสดงความคิดเห็น
Aimee2500

Posts: 44 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 23/3/2554 23:19:00 IP : 81.159.134.191 »   
Re: พุทโธ กับ พุทธัง
 
อนุโมทนาสาธุค่ะ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ต้นตรง

Posts: 1 topics
Joined: 22/7/2553

ความคิดเห็นที่ 2  « on 24/3/2554 6:53:00 IP : 58.10.88.27 »   
Re: พุทโธ กับ พุทธัง
 

โมทนาครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
น้อง

Posts: 5 topics
Joined: 17/3/2554

ความคิดเห็นที่ 3  « on 24/3/2554 15:12:00 IP : 124.120.210.149 »   
Re: พุทโธ กับ พุทธัง
 

ประทับใจ และมหัศจรรย์กับคำตอบของหลวงปู่ทุกครั้ง อ่านครั้งแรกก็ได้หัวเราะด้วยความสุขและจำได้ เวลาเหลือน้อย ต้องรีบไปทำงาน หัดว่ายน้ำก่อนแพจะล่ม อ่านเฉยๆไม่ปฏิบัติจะต้มน้ำร้อนทิ้งไปเปล่า

โมทนา และพุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ขึ้นต้นไม้ทางโคนค่ะ 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 10 Visits: 16,687,130 Today: 360 PageView/Month: 68,656