luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ใช้สอยด้วยปัญญา  (Read: 14283 times - Reply: 10 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ใช้สอยด้วยปัญญา
« Thread Started on 28/3/2555 8:03:00 IP : 203.148.162.151 »
 

อาจมีผู้สงสัยว่าเมื่อครูบาอาจารย์ท่านรู้แจ้งธรรมและหมดปัญหากับการจะอยู่หรือจะไปแล้ว ทำไมท่านยังต้องรักษาข้อวัตรต่าง ๆ ด้วยเล่า

คำตอบก็คือ "การเป็นแบบอย่าง"

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ก็เคยตรัสขอร้องให้พระมหากัสสปะออกจากป่ามาอยู่ในอาวาสเพื่อจะได้ลดความลำบากกายบ้าง แต่พระมหากัสสปะกลับยืนยันที่จะเป็นแบบอย่างของการรักษาธุดงควัตร ซึ่งในที่สุดพระพุทธองค์ก็ตรัสสาธุการ

วกมาที่หลวงปู่ดู่ ถ้าพิจารณาให้ดี ก็จะพบว่าท่านประพฤติเป็นแบบอย่าง อย่างที่เรียกว่า "สอนด้วยการทำให้ดู" ในหลายสิ่งหลายอย่าง ที่พอจะแจกแจงให้เพื่อน ๆ โดยเฉพาะผู้มาใหม่ได้สังเกต ดังนี้ครับ

๑. แบบอย่างการกินให้เป็น

ผมไม่เคยได้ยินหลวงปู่กล่าวกับโยมว่านั่นอร่อย นี่อร่อย ทำมาให้ฉันบ่อย ๆ นะ อะไรทำนองนี้ ไม่เคยมี หลวงปู่ตักอาหารทุกอย่างมาคลุกเคล้าในกะละมังของท่าน ท่านใช้ช้อนคนและคลุกเคล้าอาหารเข้าด้วยกัน เพื่อจะสอนว่าอย่าทานอาหารเพื่อความเอร็ดอร่อย หรือเพื่อบำรุงบำเรอร่างกายนี้ หากแต่ทานอาหารเพื่อบรรเทาความหิวและรักษาธาตุขันธ์เพื่อการประพฤติธรรม ให้ทานอาหารด้วยปัญญา มิใช่ด้วยตัณหา

๒. แบบอย่างการใช้สอยให้เป็น

กับจีวรและเครื่องใช้ของหลวงปู่ ท่านจะใช้มันอย่างคุ้มค่าที่สุด ท่านไม่เปลี่ยนจีวรหรือของใช้ถ้ามันยังใช้งานได้ โยมจะถวายก็ถวายไป เป็นบุญของโยม แต่การพิจารณาใช้สอยนั้นเป็นเรื่องของท่าน ส่วนเกิน ท่านก็เอาไปทำบุญต่อให้โยมโดยการบริจาคต่อ

เทียบกับโยมทั้งหลาย ที่สะสมไปหมด ทั้งเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ สะสมจนไม่มีที่จัดเก็บ นาน ๆ มาเปิดดู อ้าว ยังอยู่ในกล่อง เรียกว่าซื้อจนลืมก็มี อย่างนี้จึงสวนทางกับคำว่า "ใช้สอยให้เป็น" หรือ "ใช้สอยด้วยปัญญา"

ไม่เพียงแต่ของที่มีผู้มาถวายซึ่งท่านต้องใช้ให้คุ้มค่าที่สุด สิ่งที่เป็นของเหลือใช้หรือที่โยมทิ้งขว้างอย่างหนังยาง ท่านยังไปเก็บรวบรวมแขวนไว้ให้โยมใช้ต่อได้อีก

เรื่องของยา ท่านก็พึ่งมันน้อยที่สุดจริง ๆ เรื่องการจะนิมนต์ท่านไปพบแพทย์จึงไม่ต้องพูดถึง อย่างมากที่สุด แพทย์เองนั้นแหละต้องเป็นฝ่ายขวนขวายมาถวายการรักษา (กรณีที่หลวงปู่ยอมให้รักษา)

เรื่องเสนาสนะ หลวงปู่ก็ใช้สอยตามที่ทางวัดจัดให้ ท่านไม่เคยเรียกร้องที่จะอยู่กุฏิใหญ่โต และก็ไม่เคยเห็นว่าท่านแสดงความขวนขวายที่จะให้พัฒนาหรือปรับปรุงกุฏิเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย อย่างห้องน้ำ ก็อยู่นอกกุฏิ เรียกว่าหลวงปู่ใช้สอยเสนาสนะตามวัตถุประสงค์ของมันจริง ๆ คือ เพื่อป้องกันเหลือบยุงลิ้นไร ป้องกันอากาศร้อนหนาว ท่านจึงเป็นแบบอย่างของการใช้สอยเสนาสนะด้วยปัญญา มิใช่ด้วยตัณหา

๓. แบบอย่างของการรักษาข้อวัตรส่วนตัว

หลวงปู่ท่านทำวัตรเช้าเย็นสม่ำเสมอ แม้คืนไหนจะรับแขกจนดึกจนดื่น ท่านก็ต้องสวดมนต์ทำวัตรเย็นก่อนจำวัตร และสวดมนต์ทำวัตรเช้าก่อนออกมาสงเคราะห์โยมที่หน้ากุฏิในช่วงเช้าเสมอ

๔. แบบอย่างของความอ่อนน้อมถ่อมตน

หลวงปู่ชอบพูดถ่อมตนว่า ท่านยังมืดอยู่ ท่านเทศน์ไม่เป็น ฯลฯ เวลาพระเถระมากราบหลวงปู่ หลวงปู่ก็ต้องกราบตอบและวางตัวด้วยความนอบน้อม ท่านไม่เคยแสดงตนในทางเป็นผู้วิเศษหรือผู้ทรงคุณธรรม หากแต่วางตัวอย่างที่ท่านเรียกว่า "พระบ้านนอก"

บันทึกและเล่าไว้พอเป็นตัวอย่าง ซึ่งบางเรื่องพวกเราอาจได้ยินได้ฟังมาบ้าง แต่อาจมองข้ามสาระที่หลวงปู่ท่านต้องการที่จะถ่ายทอดนั่นก็คือ "การสอนด้วยการปฏิบัติให้ดู"

ต่อแต่นี้ จะได้พิจารณาให้หนักในเรื่องการใช้ปัจจัย ๔ ด้วยปัญญา (ใช้ให้ถูกตรงกับวัตถุประสงค์ของปัจจัย ๔) ลดการใช้ปัจจัย ๔ ด้วยตัณหา มีความสันโดษเป็นที่ตั้ง มีความเพียรเป็นทางดำเนิน ซึ่งรวมถึงการรักษาข้อวัตรหรือข้อปฏิบัติที่ดีงามที่จะช่วยส่งเสริมการดัดกาย ดัดวาจา และดัดใจให้งดงาม

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: ใช้สอยด้วยปัญญา
จำนวนข้อความทั้งหมด:  4
1
แสดงความคิดเห็น
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 29/3/2555 6:56:00 IP : 203.148.162.151 »   
Re: ใช้สอยด้วยปัญญา
 


ผู้เป็นแบบอย่างมิจำต้องโอ้อวดตน

ประพฤติเป็นแบบอย่าง เพื่อประโยชน์แก่ชนทั้งหลาย

แล้วจากไปอย่างงดงาม

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
น้องเอสกิโม

Posts: 0 topics
Joined: 6/3/2555

ความคิดเห็นที่ 2  « on 29/3/2555 7:13:00 IP : 88.83.15.58 »   
Re: ใช้สอยด้วยปัญญา
 

คำคม จาก ขงเบ้ง

ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น

 แบบอย่างที่ดีมีแล้ว แล้วเรามัวรออะไร ถึงไม่ยอมทำตามเสียที

  มีแรงฮึด!!!  ไปทำงาน ตามแบบอย่างกันครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Aimee2500

Posts: 44 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 3  « on 29/3/2555 22:47:00 IP : 86.174.115.79 »   
Re: ใช้สอยด้วยปัญญา
 
สิทธิ์ Talk:

แบบอย่างการใช้สอยให้เป็น

กับจีวรและเครื่องใช้ของหลวงปู่ ท่านจะใช้มันอย่างคุ้มค่าที่สุด ท่านไม่เปลี่ยนจีวรหรือของใช้ถ้ามันยังใช้งานได้ โยมจะถวายก็ถวายไป เป็นบุญของโยม แต่การพิจารณาใช้สอยนั้นเป็นเรื่องของท่าน ส่วนเกิน ท่านก็เอาไปทำบุญต่อให้โยมโดยการบริจาคต่อ

เทียบกับโยมทั้งหลาย ที่สะสมไปหมด ทั้งเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ สะสมจนไม่มีที่จัดเก็บ นาน ๆ มาเปิดดู อ้าว ยังอยู่ในกล่อง เรียกว่าซื้อจนลืมก็มี อย่างนี้จึงสวนทางกับคำว่า "ใช้สอยให้เป็น" หรือ "ใช้สอยด้วยปัญญา"



โดนเต็มๆ เลยเจ้าค่ะ ตอนนี้รู้เห็นแล้วค่ะ.....เลิกสะสมแล้วค่ะ

แต่ตอนนี้.....ที่ยังไม่เลิกสะสมก็คือ การทำความดีสั่งสมบุญกุศลเพื่อเป็นเสบียงให้ถึงพระนิพพานเจ้าค่ะ

นิพพานัง ปรมัง สุขัง

นิพพานัง ปรมัง สุญญัง

นิพพานะ ปัจจโย โหตุ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 4  « on 30/3/2555 7:15:00 IP : 203.148.162.151 »   
Re: ใช้สอยด้วยปัญญา
 
Aimee2500 Talk:

โดนเต็มๆ เลยเจ้าค่ะ ตอนนี้รู้เห็นแล้วค่ะ.....เลิกสะสมแล้วค่ะ

แต่ตอนนี้.....ที่ยังไม่เลิกสะสมก็คือ การทำความดีสั่งสมบุญกุศลเพื่อเป็นเสบียงให้ถึงพระนิพพานเจ้าค่ะ

...



ถูกต้องแล้วหนูเอมี่ มีพุทธโอวาทตรัสรับรองว่า "บุคคลไม่พึงสันโดษในการทำความดี"

บุญหรือความดีแม้เล็กน้อย อยู่ในโอกาสที่ทำได้ก็ควรทำ สั่งสมเรื่อยไป พร้อมกับเป็นการสร้างความสามารถในการ "มีความสุข" แทน "หาความสุข"

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 2 Visits: 16,690,310 Today: 196 PageView/Month: 71,879