หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน
คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป
(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)
|
|
Started by |
|
|
Topic: คำเฉลย - หลวงพ่อคูณ หลวงปู่ดู่ ... พระผู้เป็นครูของมหาชน (Read: 8618 times - Reply: 3 comments) |
|
|
|
(Admin) |
Posts: 75 topics
Joined: 5/11/2552
|
|
คำเฉลย - หลวงพ่อคูณ หลวงปู่ดู่ ... พระผู้เป็นครูของมหาชน
|
« Thread Started on 30/5/2558 23:27:00 IP : 14.207.142.78 » |
|
|
|
ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ร่วมสนุกตอบคำถามกันมา ทั้งหน้าไมค์และหลังไมค์ ได้เวลาเฉลยกระทู้แล้ว อาหารสมองจะตอบว่าอย่างไร ลองมาดูกัน ฉายาหลวงพ่อคูณ คือคำว่า "ปริสุทโธ" นี้ มีความหมายว่า จิตบริสุทธิ์ ว่างจากกิเลส ว่างจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ทำให้นึกถึงคำสอนหลวงปู่ดู่ ที่ท่านพูดกับคุณสุนันทา นาคสมภพ ในเทปที่อัดไว้ตอนหนึ่งว่า ...
"สมาธิ ... ก็(คือ)จิตมั่น"
ได้ไปค้นตำราต่อ พบว่า ลักษณะของสมาธิ มีพระบาลีอธิบายไว้สามคำ คือ ปริสุทโธ - สมาหิโต - กัมมนีโย
ปริสุทโธ = สะอาด = จิตปราศจากโลภโกรธหลง ไม่มีนิวรณ์ สมาหิโต = สงบ = จิตตั้งมั่น กัมมนีโย = สว่าง = จิตควรแก่การงาน
ลักษณะจิตที่เป็น "สมาธิ" จึงเป็นอย่างนี้แล ...
|
|
|
|
ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: คำเฉลย - หลวงพ่อคูณ หลวงปู่ดู่ ... พระผู้เป็นครูของมหาชน
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ » คลิ๊กที่นี่ |
|
|