luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๑)  (Read: 11986 times - Reply: 4 comments)   
 กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
(Admin)

Posts: 75 topics
Joined: 5/11/2552

ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๑)
« Thread Started on 15/4/2553 9:50:00 IP : 124.121.125.200 »
 

๑.     ภาวนาจนถูกรถชน!
จำมาว่าหลวงปู่สอนให้ภาวนาให้ได้ทั้งวัน ผมก็เลยบริกรรมภาวนาไตรสรณคมณ์ทั้งวัน ไม่ว่าในระหว่างการทำงาน ในขณะขับรถ ในขณะเดินข้ามถนน ฯลฯ

ไม่ถูกต้อง เพราะการปฏิบัติภาวนา (การเจริญสติและปัญญา) ต้องเลือกรูปแบบหรือวิธีการปฏิบัติให้เหมาะกับสถานการณ์และกาละเทศะ เช่น ในยามปลอดภาระ มานั่งหลับตาทำสมาธิ การบริกรรมภาวนา (ท่องบ่นในใจ) ก็เป็นเรื่องที่ควร แต่ขณะลืมตาทำกิจกรรมอื่นอยู่ ก็ควรปฏิบัติภาวนาด้วยการทำความรู้ตัวทั่วพร้อม คือมีสติและพิจารณาในกิจกรรมที่อยู่จำเพาะหน้า มิใช่มามัวบริกรรมภาวนาจนสูญเสียความสามารถในการรับรู้สิ่งภายนอก ซึ่งเรื่องนี้เคยมีตัวอย่างความผิดพลาดให้เห็น เช่น

·       คนที่เดินท่องบ่นคำบริกรรมภาวนาขณะเดินกลับบ้านในซอย แล้วไม่ทันระวังก็เลยโดนรถจักรยานยนต์ เฉี่ยวชนเอา

·       คนที่โหนรถสองแถว แล้วหลับตาบริกรรมภาวนาจนจิตอยากปล่อยวางกาย ปล่อยวางมือที่โหนรถอยู่ ทำเอาเกือบตกรถ ซึ่งอันตรายอาจถึงชีวิต  

·       คนที่บริกรรมภาวนาขณะขับรถจนเกือบไปชนท้ายรถคันหน้า

จริง ๆ แล้ว การบริกรรมภาวนานั้น หากกระทำไว้ในใจสัก ๑๐-๒๐ % แล้วให้มีความรับรู้กับสิ่งภายนอกสัก ๘๐-๙๐ % ก็คงไม่เป็นอะไร มิใช่มุ่งบริกรรมในใจเสีย ๘๐-๙๐ % หรือกระทั่ง ๑๐๐% อย่างนี้อันตราย ถือว่าปฏิบัติธรรมไม่เหมาะกับสถานการณ์และกาละเทศะ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๑)
จำนวนข้อความทั้งหมด:  3
1
แสดงความคิดเห็น
Aimee2500

Posts: 44 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 16/4/2553 8:47:00 IP : 86.178.157.113 »   
Re: ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๑)
 
สัทธา ทานัง อนุโมทามิ   สัทธา ทานัง อนุโมทามิ   สัทธา ทานัง อนุโมทามิ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
yingka

Posts: 50 topics
Joined: 9/11/2552

ความคิดเห็นที่ 2  « on 22/4/2553 8:44:00 IP : 124.120.153.92 »   
Re: ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๑)
 

อนุโมทนาสาธุค่ะ

อ่านบทความนี้แล้วตรงใจมากเลย แสดงว่าเรามาถูกทาง..เพราะเคยคุยกับบางท่าน เค้าบอกว่าสามารถภาวนาได้ตลอดเวลาแม้ขณะกำลังทำงานอยู่

เราก็บอกว่า..เราไม่สามารถทำได้ขนาดนั้น เพราะเวลาทำงานสติเราก็อยู่ที่งาน ถ้าสติมาอยู่ที่คำภาวนาก็ทำงานไม่ได้ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการคำนวณตัวเลข เราไม่มีความสามารถแยกให้สติมาจดจ่ออยู่กับคำภาวนาได้ในขณะนั้น แต่เมื่อเราลุกจากโต๊ะทำงานเพื่อเดินไปทำธุระอื่น เช่น ดื่มน้ำ..เวลาขณะนั้นจิตก็จะภาวนาขึ้นมาได้ค่ะ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
manitgr

Posts: 0 topics
Joined: 3/2/2553

ความคิดเห็นที่ 3  « on 23/4/2553 11:11:00 IP : 180.180.30.163 »   
Re: ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๑)
 

ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า  คือ  กำหนดรู้อารมณ์ที่มาสัมผัสทางตา  หู  จมูก  ลิ้น   กาย  แล้วมากระทบที่ใจ 

การกำหนดรู้อารมณ์ดังกล่าว   ไม่ใช่   การบริกรรมภาวนาทีท่องในใจ

ไม่ใช่การหลับตามกำหนดบริกรรมภาวนาท่องในใจ

แต่เป็นการลืมตา  กำหนดรู้อารมณ์ที่มาสัมผัส   

จนกว่าจะเห็นพระไตรลักษณ์  อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  ของอารมณ์ที่มากระทบ

สมาธิที่เกิดขึ้น  จะเป็นระดับขนิกสมาธิเท่านั้น   ไม่ได้มุ่งให้สงบนิ่งจนเกิดฌาน

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 2 Visits: 16,690,060 Today: 3,298 PageView/Month: 71,628