หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน
คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป
(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)
|
|
Started by |
|
|
Topic: การเขียนประวัติครูบาอาจารย์ (Read: 9213 times - Reply: 2 comments) |
|
|
|
สิทธิ์ |
Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552
|
|
การเขียนประวัติครูบาอาจารย์
|
« Thread Started on 2/2/2553 7:36:00 IP : 203.148.162.128 » |
|
|
|
วันก่อน พระอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงตามหาบัว ท่านได้เมตตาเล่าแนวทางการทำประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร ของหลวงตามหาบัว ไว้น่าคิดมาก ๆ จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง ท่านว่าหลวงตามหาบัวเป็นแบบอย่างที่ดีของการเรียบเรียงประวัติครูบาอาจารย์ กล่าวคือ ท่านจะไม่อาศัยประวัติหลวงปู่ครูบาอาจารย์เพื่อการโปรโมทตัวเอง ไม่มีการกล่าวรับรองหรือยกย่องตัวผู้เรียบเรียงไว้ในประวัติ มิเช่นนั้น จะกลายเป็นเรียบเรียงประวัติตัวเองไปพร้อม ๆ กับประวัติครูบาอาจารย์ หรือประกาศคุณธรรมของตัวเองผ่านประวัติครูบาอาจารย์ที่ตนเป็นผู้เรียบเรียง จริง ๆ แล้ว พระพุทธองค์ก็ได้ให้แนวทางในเรื่องนี้ไว้แล้วว่า ความดีของตน หากไม่มีคนถามก็ไม่ควรพูด หากคนซักไซร้ถามก็พูดบอกแต่น้อย ในทางตรงกันข้าม ความเลวของตน แม้ไม่มีใครถามก็ควรพูดบอก เพื่อจะได้เป็นครูสอนคนอื่นว่าอย่าได้ริอาจทำตาม รวมทั้งตัวเองก็จะได้สำรวมระวังไม่ให้ผิดพลาดอีก เป็นต้น |
|
|
|
ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: การเขียนประวัติครูบาอาจารย์
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ » คลิ๊กที่นี่ |
|
|