luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   เรื่องของพระกำนั่ง  (Read: 56835 times - Reply: 40 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

เรื่องของพระกำนั่ง
« Thread Started on 23/2/2553 21:19:00 IP : 124.121.121.13 »
 

เมื่อพูดถึง "พระกำนั่ง" หากเป็นลูกศิษย์ที่เคยปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่ก็จะไม่นึกแปลกใจอะไร เพราะได้ยินได้ฟังจนคุ้นหู แต่ถ้าเป็นคนอื่นก็มักต้องขอให้พูดซ้ำอีกครั้งว่าคืออะไร

พระกำนั่งนี้ หากพูดเต็ม ๆ ก็อาจพูดว่า "พระสำหรับกำนั่งสมาธิ" หรือ "สมเด็จฯ กำนั่ง" ก็เรียก เพราะพระที่หลวงปู่สร้างไว้สำหรับกำนั่งสมาธินั้นโดยมากจะใช้พิมพ์ของสมเด็จโตฯ วัดระฆัง ซึ่งจริง ๆ แล้วก็อาจมีพิมพ์อื่น ๆ ปนบ้าง เช่น พิมพ์เหรียญยันต์ดวง และพิมพ์พระพรหมใหญ่ เป็นต้น 

พระกำนั่งนี้ หลวงปู่จะแจกให้ผู้จะปฏิบัติกรรมฐาน ใช้กำไว้ในมือข้างขวา โดยหันเศียรพระออกไปนอกตัวเรา กำเพียงเบา ๆ แล้วก็บริกรรมภาวนาไตรสรณคมณ์ (พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ  ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ) 

และพร้อม ๆ กับการบริกรรมภาวนา ท่านก็ให้ตั้งนิมิตองค์พระที่เรารู้สึกศรัทธาและจดจำได้ง่าย เช่น พระพุทธชินราช  พระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร ฯลฯ หากไม่มี ก็ให้ลืมตามองสมเด็จฯ กำนั่งที่อยู่ในมือนั้นแหละ เป็นองค์นิมิต นึกให้ชัด ถ้านึกไม่ออกก็อาจลืมตามามองดูอีก จนกระทั่งชัดทั้งลืมตาและหลับตา (อย่าลืมว่าเริ่มจากการเห็นโดยความรู้สึก มิใช่เห็นอย่างลืมตาดูทีวี เพราะฉะนั้นจะหวังให้องค์นิมิตชัดแจ่มในตอนต้นนั้นไม่ควร)

พระสมเด็จกำนั่งที่หลวงปู่สร้างขึ้นก็เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติกรรมฐาน โดยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ที่ท่านอธิษฐานจิตลงไปจะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้จิตของเรารวมเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น รวมทั้งป้องกันนิมิตร้ายต่าง ๆ

ส่วนทางด้านปัญญา ท่านว่าเมื่อจิตสงบแล้วก็ให้นึกอธิษฐานขอบารมีจากองค์พระ ให้ธรรมที่สมควรแก่จิตของเราขณะนั้นจงบังเกิดรู้ขึ้นมา (อาจเป็นข้อธรรมผุดขึ้นให้เราพิจารณา)

พระกำนั่งนี้ก็แปลก บางคนพอได้กำในระหว่างการปฏิบัติแล้ว ก็มักรู้สึกเหมือนมีไฟฟ้าอ่อน ๆ วิ่งไหลผ่านมือที่กำพระอยู่นั้น ทำให้เกิดอาการปีติอันเป็นอาหารของใจที่ทำให้ใจเจ้าของเกิดกำลังขึ้นมา

พระกำนั่งเป็นของไม่มีราคา (เพราะท่านแจกให้เปล่า) แต่มีคุณค่าเหลือประมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ปฏิบัติ

อย่างไรก็ดี ท่านก็มิได้สอนให้ลูกศิษย์ยึดติดในกระกำนั่ง จนกระทั่งหากไม่มีพระกำนั่ง จะนั่งปฏิบัติกรรมฐานมิได้

ผู้ปฏิบัติควรวางใจของตนเพื่อสร้างความชำนาญในการเข้าสมาธิให้สม่ำเสมอทั้งในยามที่มีพระกำนั่ง และในยามที่ไม่มีพระกำนั่ง เพราะสุดท้ายแล้ว ย่อมมารวมลงที่ใจที่มีศรัทธาเชื่อมั่นในคุณพระที่มีอยู่อย่างจะนับจะประมาณมิได้

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: เรื่องของพระกำนั่ง
จำนวนข้อความทั้งหมด:  18
<
1
2
แสดงความคิดเห็น
P63

Posts: 1 topics
Joined: 18/3/2553

ความคิดเห็นที่ 11  « on 29/8/2554 16:31:00 IP : 124.121.167.223 »   
Re: เรื่องของพระกำนั่ง
 

ขออนุญาตแนะนำคุณ ronram ให้ไปที่วัดสะแกครับ เคยเห็นที่วัดยังมีพระของหลวงปู่อยู่บ้าง บางองค์ก็ราคาไม่สูง   (พระที่ดูแลท่านว่าทันหลวงปู่ครับ - แต่เรื่องนี้พิจารณาเอาเองนะครับ) มีบางส่วนก็เป็นรุ่นหลัง  ลองสอบถามดูนะครับ

แต่ข้อสำคัญอย่างที่หลวงปู่บอกก็คือ พระของท่านให้เอาไว้ใช้ภาวนา

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
อนุรักษ์

Posts: 0 topics
Joined: 13/2/2555

ความคิดเห็นที่ 12  « on 26/4/2555 23:29:00 IP : 202.44.4.251 »   
Re: เรื่องของพระกำนั่ง
 

ขอสอบถามลุงสิทธิ์ครับ ผมได้รับพระพร้อมหนังสือ รอยธรรมคำย้ำเตือน จากการตอบคำถาม และผมได้อ่านจากหนังสือและนั่งปฏิบัติ โดยทำตาม แนวทางการปฏิบัติที่หลวงปู่สอน หน้า 12-17 ในขณะที่บริกรรมภาวนาตามข้อ 5 เราควรจะนั่งกำพระ(ที่ลุงสิทธ์ได้เมตตามอบให้มา) หรือใช้มือประสานเพื่อให้มีสมาธิไม่กังวลต่อสิ่งที่เรากำไว้ดีครับ ปัจจุบันผมนั่งโดยใช้มือประสานขวาทับซ้ายและวางพระซึ่งอยู่ในตลับไว้บนมือครับ (แต่ยังนั่งสมาธิได้ไม่นานนะครับเพราะนั่งไปก็คิดเรื่องต่างๆไป ซึ่งคงต้องพยายามไปเรื่อยๆน่ะครับ) รบกวนลุงสิทธิ์ช่วยแนะนำแนวทางที่ถูกต้องด้วยครับ/ขอบคุณครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 13  « on 27/4/2555 7:54:00 IP : 203.148.162.151 »   
Re: เรื่องของพระกำนั่ง
 
อนุรักษ์ Talk:

ขอสอบถามลุงสิทธิ์ครับ ผมได้รับพระพร้อมหนังสือ รอยธรรมคำย้ำเตือน จากการตอบคำถาม และผมได้อ่านจากหนังสือและนั่งปฏิบัติ โดยทำตาม แนวทางการปฏิบัติที่หลวงปู่สอน หน้า 12-17 ในขณะที่บริกรรมภาวนาตามข้อ 5 เราควรจะนั่งกำพระ(ที่ลุงสิทธ์ได้เมตตามอบให้มา) หรือใช้มือประสานเพื่อให้มีสมาธิไม่กังวลต่อสิ่งที่เรากำไว้ดีครับ ปัจจุบันผมนั่งโดยใช้มือประสานขวาทับซ้ายและวางพระซึ่งอยู่ในตลับไว้บนมือครับ (แต่ยังนั่งสมาธิได้ไม่นานนะครับเพราะนั่งไปก็คิดเรื่องต่างๆไป ซึ่งคงต้องพยายามไปเรื่อยๆน่ะครับ) รบกวนลุงสิทธิ์ช่วยแนะนำแนวทางที่ถูกต้องด้วยครับ/ขอบคุณครับ



คุณอนุรักษ์ครับ

เรื่องการปฏิบัติของเรา เราก็ต้องพิจารณาเอาที่ "สัปปายะ" คือเป็นที่เราสบาย

จริง ๆ การกำพระ ท่านก็ให้กำหลวม ๆ จะได้ไม่เป็นการเกร็ง เพราะการจะทำจิตให้สงบ ต้องทำกายให้สงบก่อน ให้กายผ่อนคลาย ไม่เกร็ง

ก็เพราะจิตเรามักฟุ้งนี้แหละ ความรู้สึกในพระกำนั่ง จึงช่วยให้มีสติอยู่กับกายกับใจเราดีขึ้น แถมต้องบอกตัวเองว่าพระกำนั่งคือสื่อบอกว่าเราได้อาราธนาหลวงปู่มาคุมการปฏิบัติของเรา เราจะได้มีความสำรวมจิต และมีความตั้งใจในการปฏิบัติจิตภาวนาของเรา

อนุโมทนากับคุณอนุรักษ์และขอบารมีหลวงปู่คุ้มครองดูแลให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัตธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Lerm

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 14  « on 4/6/2555 19:30:00 IP : 101.108.202.184 »   
Re: เรื่องของพระกำนั่ง
 
สิทธิ์ Talk:

พระกำนั่งนี้ก็แปลก บางคนพอได้กำในระหว่างการปฏิบัติแล้ว ก็มักรู้สึกเหมือนมีไฟฟ้าอ่อน ๆ วิ่งไหลผ่านมือที่กำพระอยู่นั้น  



พี่สิทธิ์ครับ

    ผมขอเล่าประสบการณ์จากการกำพระแล้วนั่งสมาธิครั้งแรกนะครับ เมื่อประมาณสองวันที่แล้วเองครับ(เริ่มหัดปฏิบัติครับ) โดยมีความรู้สึก อาการเหมือนมีอะไรไม่รู้ วิ่งไปมาระหว่างมือขวาและซ้าย ก็เลยดูไปเรื่อยๆ ยังคิดว่าสงสัยว่าเป็นอาการมือชามากกว่า แต่ผมก็กำหลวมๆ จนได้มาอ่านข้อความข้างบนครับ ซึ่งคล้ายๆกัน

    ผมไม่มีพระสมเด็จกำนั่งของหลวงปู่ดู่ ซึ่งผมอยากได้ไว้นั่งสมาธิ ใจนึงก็อยากจะเช่าตามที่เค้าประกาศในเวป แต่ก็ไม่มั่นใจ ก็เลยอาศัยพระผงจากหลวงตาม้า พิมพ์หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่ ซึ่งได้รับแจก จากการไปฟังถาม-ตอบ ที่เดอะมอลล์โคราชแทนครับ

    อยากให้พี่สิทธิ์หรือผู้รู้ แนะนำหรือตักเตือนก็ได้ ถ้าผมเริ่มปฏิบัติหลงทางครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 15  « on 6/6/2555 7:47:00 IP : 203.148.162.151 »   
Re: เรื่องของพระกำนั่ง
 

ไปต่างจังหวัดเสียหลายวัน มีคนเตือนว่ามีคำถามจากเพื่อนสมาชิกรอคำตอบอยู่ ก็ต้องขอโทษคุณ Lerm ด้วยที่ตอบช้าไปนิด

ขอตอบทั้ง ๒ ประเด็น

๑. เรื่องพระกำนั่ง

    อย่างที่เคยเล่าให้ฟังว่า "พระกำนั่ง" มีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร เดี๋ยวจะหาโอกาสถามปัญหาธรรมให้ได้ค้นคว้ากันมาตอบ โดยจะนำ "พระกำนั่ง" มาแจกเป็นรางวัล น้อง Lerm ก็รอติดตามและใช้โอกาสนั้นให้ดีนะครับ

๒. เรื่องปฏิกิริยาขณะกำพระกำนั่ง

    อันนี้ ก็อย่าไปกังวลจนเกินไป อาการอาจเป็นไปได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเหมือนไฟวิ่ง หรืออาการตุ๊บ ๆ อยู่ที่มือเรา (ที่กำพระอยู่) บางทีกำแน่นไปมันก็ตุ๊บได้นะ (เกิดจากเลือดไหลเวียนไม่สะดวก) สรุปว่า จะมีอาการอย่างไร ผลก็คือ เป็นการดึงจิตเราให้มาอยู่กับกายกับใจ ให้เรารู้เนื้อรู้ตัวนั้นประการหนึ่ง ที่สำคัญให้เรารู้สึกอบอุ่นใจว่า "พระท่านคอยจะช่วยเหลืออยู่"

    สำหรับกรณีไม่มีหรือไม่ได้กำพระขณะนั่งสมาธิ ก็ไม่เป็นปัญหา ตั้งสติของเราให้ดี ระลึกคุณพระให้แน่นแฟ้น บริกรรมภาวนาให้ต่อเนื่อง ให้เหมือนที่หลวงปู่อุปมาไว้ คือ ให้เหมือนนำไม้แห้งมาถูกันให้เกิดไฟ บริกรรมมาก ๆ บริกรรมให้ต่อเนื่อง (แปลว่าสติของเราต่อเนื่อง) ด้วยความไม่เกร็ง ไม่เครียด ความสว่างไสวย่อมเกิดกับจิตเรา (ไม่ว่าจะเห็นหรือไม่ก็ตาม)

    ตราบใดที่เรายังคอยสอดส่องตัวเองไม่ให้ความโกรธ ความโลภ ความหลงเพิ่มขึ้น ปฏิบัติไปเถอะ ไม่ต้องกลัวผิด ทำไปเรียนรู้ไป ชั่วโมงบินที่มากเข้า จะช่วยให้เราได้คำตอบให้กับตัวเอง 

    พี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ที่นี่ล้วนเป็นกำลังใจให้กันและกันในหนทางปฏิบัติที่เป็น "สัมมา" (คือหนทางที่มุ่งตรงต่อการลดโกรธ โลภ หลง) ครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Lerm

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 16  « on 6/6/2555 8:54:00 IP : 134.204.208.36 »   
Re: เรื่องของพระกำนั่ง
 

   ขอขอบคุณพี่สิทธิ์ ที่ให้คำแนะนำแนวทางปฏิบัติและให้กำลังใจ ทำให้รู้สึกมีกำลังใจในการปฏิบัติมากขึ้น อย่างน้อยก็รู้ว่ามีพีๆน้องๆในนี้ ให้คำแนะนำและเป็นกำลังใจให้กันและกัน และขอขอบคุณพี่สิทธิ์ล่วงหน้า ทีให้ความเมตตา นำ "พระกำนั่ง" มาเป็นรางวัลในการตอบปัญหาธรรม เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการค้นคว้า ทำความเข้าใจในธรรมะมากขึ้น ผมจะพยายามใช้โอกาสที่มีให้ดีที่สุดครับ...ขออนุโมทนาล่วงหน้าสำหรับผู้ที่ตอบได้ดีที่สุดครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ปุถุชน

Posts: 1 topics
Joined: 8/5/2556

ความคิดเห็นที่ 17  « on 4/9/2556 8:52:00 IP : 202.29.26.248 »   
Re: เรื่องของพระกำนั่ง
 
สิทธิ์ Talk:

...ตราบใดที่เรายังคอยสอดส่องตัวเองไม่ให้ความโกรธ ความโลภ ความหลงเพิ่มขึ้น ปฏิบัติไปเถอะ ไม่ต้องกลัวผิด ทำไปเรียนรู้ไป ชั่วโมงบินที่มากเข้า จะช่วยให้เราได้คำตอบให้กับตัวเอง...



ขออนุญาตทบทวนปฐมบทแรงบันดาลใจครับผม

กลับมาอ่านทีไรปลื้มใจเมื่อนั้น ครั้งก่อนอยากปฏิบัติจริงจัง แต่ไม่รู้จะหาครูอาจารย์ที่ไหนชี้ทาง ( ด้วยสังคมที่รู้หน้าไม่รู้ใจ ) ปรึกษากับคุณแม่บ้านได้ความว่า " ถ้าพี่มั่นใจว่าดีจริง ก็รีบไปบูชามา อย่ารอฟ้าฝนดลบันดาล วันหน้าถึงเรามี ( เงิน ) พร้อม แต่พระของท่านไม่มีแล้วนะ ในเมื่อเรามีสิ่งดี ๆ ไว้บูชา ก็ย่อมจะนำแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาหาเราสิ " ก็เลยตัดสินใจบูชาพระผงพรหมของหลวงปู่เป็นครูอาจารย์ เหมือนพี่สิทธิ์ว่า "...ในเมื่อมีพระของท่านก็เหมือนเราได้อาราธนาหลวงปู่มาคุมการปฏิบัติของเรา "

จาก ๑๓ พฤษภาคม ถึงวันนี้ซาบซึ้งที่พี่สิทธิ์บอก "...เป้าหมายมิใช่อยู่ที่ตัวนิมิต สติที่ต่อเนื่องต่างหากคือผลที่พึงประสงค์ " และที่สำคัญยิ่ง โลภ โกรธ หลงถึงแม้จะมาเยี่ยมทุกวัน แต่ก็ไม่สนิทเหมือนเคยแล้วครับ ;)

อนุโมทนาทุกความดีงามในบ้านหลังนี้ และร่วมยินดีกับพี่ ๆ ผู้ตั้งใจปฏิบัติจริงทุกท่านครับผม

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 18  « on 4/9/2556 12:53:00 IP : 203.148.162.151 »   
Re: เรื่องของพระกำนั่ง
 


บางทีเราก็มีหลวงปู่ทวดองค์น้อย ๆ อยู่ในมือ (กำนั่งสมาธิ)

บางทีเราก็อาจเอาตัวน้อย ๆ ของเราไปอยู่บนฝ่ามือหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่

 

บางทีเราก็น้อมธรรมน้อย ๆ มาสู่ใจเรา

บางทีเราก็น้อมใจน้อย ๆ ของเราไปสู่ธรรมอันยิ่งใหญ่ ...สู่สัจธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
<
1
2
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 11 Visits: 16,703,890 Today: 6,767 PageView/Month: 6,777