luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๒)  (Read: 12965 times - Reply: 5 comments)   
 กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
(Admin)

Posts: 75 topics
Joined: 5/11/2552

ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๒)
« Thread Started on 15/4/2553 10:03:00 IP : 124.121.125.200 »
 

 

๒. เริ่มภาวนานับหนึ่งทุกครั้ง 

ครูบาอาจารย์สอนว่าการปฏิบัติภาวนาแต่ละครั้ง ห้ามติดของเก่า ผมก็เลยเริ่มต้นลำดับไปตามขั้นตอนคือนับหนึ่งใหม่ทุกครั้ง

ไม่ถูกต้อง เพราะสำหรับผู้ที่เคยทำภาวนามาบ้างแล้ว หลวงปู่สอนให้จำอารมณ์เดิมที่เป็นจริตนิสัยหรือการสั่งสมของเรามาใช้ได้ เพื่อให้เกิดความสงบได้เร็ว เช่น บางคนแค่นึกถึงภาพและบรรยากาศขณะที่ตนกำลังนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมในป่า ใจก็สงบระงับในทันที  บางคนทำความรู้สึกว่าตนกำลังนั่งปฏิบัติอยู่บนยอดเขาบ้าง ริมสระน้ำบ้าง จิตก็สงบ

การปรุงแต่งจิตในเบื้องต้นแห่งการภาวนา ท่านถือเป็นสิ่งที่ดี ไม่ขัดอะไร เพราะเรายังไม่ถึงขึ้นเหนือการปรุงแต่ง หากแต่อยู่ในขั้นของการปรุงแต่งในทางกุศล

 

หลวงปู่มุ่งหวังให้เราสร้างความชำนาญในการเข้าสู่ความสงบ จนแทบจะให้เป็นอัตโนมัติ เช่น กำหนดองค์พระปุ๊บ จิตก็สงบตั้งมั่นทรงตัวทันที เพราะเวลาจวนตัว ก็มีแต่การทำงานของจิตใต้สำนักเท่านั้น ที่จะพาให้เราเอาตัวรอดได้

นอกจากนี้ หากมีอะไรมาแทรกคั่นหรือขัดจังหวะการปฏิบัติของเรา เราก็ไม่ต้องรออุ่นเครื่องนาน สามารถวางจิตเข้าสู่ความสงบหรือการพิจารณาได้ต่อเนื่องดังเดิมภายในเวลาที่สั้นที่สุดได้

 

การที่สอนว่าไม่ให้ยึดติดกับของเก่านั้น หมายถึงส่วนผลต่างหาก มิใช่ส่วนเหตุ กล่าวคือ อย่าไปยึดติดว่าปฏิบัติครั้งนี้ว่าต้องสงบเหมือนคราวก่อน 

อย่างไรก็ดี การหาอุบายทำความสงบใจสำหรับกรณีของผู้ใหม่  หากจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ทุกครั้งก็ไม่แปลกอะไร เพราะถือเป็นการสร้างความชำนาญในช่วงต้น

แต่ถ้าว่าถึงอุบายการพิจารณาแล้ว อย่างไรเสียก็ต้องตระหนักว่า ถ้าใช้อุบายเดิม ๆ เชื้อโรคมันจะดื้อยา จึงจำต้องหาอุบายสด ๆ ร้อน ๆ มาใช้แก้กิเลสจึงจะได้ผล

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๒)
จำนวนข้อความทั้งหมด:  4
1
แสดงความคิดเห็น
Aimee2500

Posts: 44 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 16/4/2553 8:53:00 IP : 86.178.157.113 »   
Re: ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๒)
 

 

แหม......ตรงกับที่เป็นปัญหาขบคิดอยู่พอดี ขอบคุณค่ะ

สัทธา ทานัง อนุโมทามิ   สัทธา ทานัง อนุโมทามิ   สัทธา ทานัง อนุโมทามิ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
yingka

Posts: 50 topics
Joined: 9/11/2552

ความคิดเห็นที่ 2  « on 22/4/2553 9:04:00 IP : 124.120.153.92 »   
Re: ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๒)
 
อนุโมทนาสาธุค่ะ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
น้อง

Posts: 5 topics
Joined: 17/3/2554

ความคิดเห็นที่ 3  « on 7/9/2554 18:51:00 IP : 58.11.229.218 »   
Re: ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๒)
 

โมทนาสาธุ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
ดาวมงคล

Posts: 0 topics
Joined: 17/12/2553

ความคิดเห็นที่ 4  « on 7/9/2554 20:55:00 IP : 101.109.190.3 »   
Re: ความเข้าใจผิดในการภาวนา (ตอนที่ ๒)
 

การที่สอนว่าไม่ให้ยึดติดกับของเก่านั้น หมายถึงส่วนผลต่างหาก มิใช่ส่วนเหตุ กล่าวคือ อย่าไปยึดติดว่าปฏิบัติครั้งนี้ว่าต้องสงบเหมือนคราวก่อน 

 

สาธุ... 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 2 Visits: 16,697,010 Today: 2,045 PageView/Month: 78,790