luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   กำลังใจจากหลวงปู่  (Read: 37311 times - Reply: 25 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

กำลังใจจากหลวงปู่
« Thread Started on 16/11/2552 12:49:00 IP : 203.148.162.151 »
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: กำลังใจจากหลวงปู่
จำนวนข้อความทั้งหมด:  13
<
1
2
แสดงความคิดเห็น
ปุถุชน

Posts: 1 topics
Joined: 8/5/2556

ความคิดเห็นที่ 11  « on 15/7/2556 16:27:00 IP : 202.29.26.249 »   
Re: กำลังใจจากหลวงปู่
 
สิทธิ์ Talk:
...น้อมถวายที่หน้าหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ พร้อม ๆ กับความคิดคำนึงตามประสาผู้มาใหม่ว่า "หลวงปู่จะทราบไหมหนอว่าพวกเรามากราบหลวงปู่" 

...แน่นอนว่าพวกเขาเดินทางกลับออกจากวัดสะแกด้วยความเบิกบานใจ พร้อมกับความเชื่อมั่นว่า "หลวงปู่ท่านรู้"... 

 



ครั้งก่อนที่ยังไม่เคยไปวัดสะแก ได้อ่านเรื่องราวของหลวงปู่ก็ยังปกติเหมือนทั่วไป แต่ครั้นได้ไปกราบหลวงปู่ที่วัดสะแกและประสบเรื่องจริงผ่านตาหูและทะลุหัวใจสองคนสามีภรรยา หากจะให้เอ่ยวาจาอื่นที่ยิ่งไปกว่า "การได้บูชาคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์มีหลวงปู่ดู่เป็นที่สุด เป็นมงคลสูงสุด" ก็ไม่รู้จะสรรหาถ้อยคำอื่นใดมาพรรณาให้ยิ่งกว่านี้ครับผม

อ่านกำลังใจจากหลวงปู่ น้ำตาก็ไหลไป ซาบซึ้งในความเมตตาของหลวงปู่ดังพี่ผีเสื้อตัวน้อย ดุจเดียวกันครับผม

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 12  « on 22/5/2557 8:08:00 IP : 203.148.162.151 »   
Re: กำลังใจจากหลวงปู่
 


ลุงสิทธิ์อยู่ทำหน้าที่ตรงนี้ มีเรื่องราวและผู้คนให้ได้พบเจอมากหลาย เห็นได้ชัดเจนว่าหัวบันไดทางขึ้นกุฏิหลวงปู่ไม่เคยแห้ง คนที่มากราบหลวงปู่มีมาไม่ขาดสาย แม้ค่ำมืดก็ยังมีคนมากราบหลวงปู่ บางทีเป็นวัยรุ่นขี่จักรยานนำดอกไม้มาไหว้หลวงปู่

ผู้เริ่มมารู้จักและศรัทธาในหลวงปู่มีมาให้ได้ยินเสมอ ๆ เมื่อคืนก็มีอีกรายหนึ่งที่ขวนขวายอยากได้หนังสือเล่มน้อยของหลวงปู่ ด้วยเหตุที่เขาไปได้หนังรอยธรรม คำย้ำเตือน หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ จากงานศพ  ตัวอยู่ขอนแก่น แต่ไปได้หนังสือที่ฉะเชิงเทรา เลยตามมาขอหนังสือที่กรุงเทพฯ บอกว่าศรัทธาหลวงปู่มาก ฝันเห็นหลวงปู่มาหา ฯลฯ

ที่วัดสะแก คนที่เริ่มรู้จักหลวงปู่จากการสวดบทบูชาพระ (หรือที่เรียกกันใหม่ว่าบทสวดจักรพรรดิ) เริ่มสนใจมาปฏิบัติภาวนา ดังที่หลวงปู่สอนว่า "สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน" มากขึ้น ๆ เพราะเริ่มตระหนักตามที่หลวงปู่สอนว่า "ถ้าไม่ (ปฏิบัติ) ภาวนา เป็นเถ้าเสียดีกว่า" ชีวิตคนเราถ้าไม่เจริญศีล สมาธิ ปัญญา จะเป็นชีวิตที่เป็นโมฆะ เสียโอกาสที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา 

ที่พึ่งภายนอก ไม่อาจเป็นที่พึ่งได้จริง ในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ไม่มีใครมาแบ่งเอาทุกขเวทนาของเราไปได้ หลวงปู่สอนกระทั่งไม่ให้ยึดติดแม้ตัวท่าน เพราะครูบาอาจารย์ก็ไม่อาจเป็นที่พึ่งที่ใกล้ตัวเราเท่ากับพระเก่าพระแท้ นั่นก็คือ จิตของเราเอง หากแต่ต้องเป็นจิตที่ผ่านกระบวนการของการฝึกตนตามหลักศีล สมาธิ และปัญญา กระทั่งได้ "ตนที่ฝึกดีแล้ว" เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง

ความเมตตาและกำลังใจของหลวงปู่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งผู้เก่าและผู้ใหม่   

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 13  « on 26/6/2557 7:59:00 IP : 203.148.162.151 »   
Re: กำลังใจจากหลวงปู่
 

อิทธิบาทธรรม ธรรมเพื่อความสำเร็จ เบื้องต้นต้องใช้ฉันทะ คืออยากหรือศรัทธาที่จะปฏิบัติ ศรัทธาก็จะมาเป็นพละกำลังขับเคลื่อนในจุดเริ่มต้นนี้

ศรัทธาที่เป็นหัวใจหลักคือศรัทธาหรือเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งก็เท่ากับศรัทธาต่อสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือ "อริยสัจ ๔" โดยเฉพาะอย่างยิ่งอริยสัจข้อที่เรียกว่า "มรรค" หรือ "ไตรสิกขา"  

ความศรัทธาอย่างอื่น หากไม่เชื่อมโยงสู่การเจริญไตรสิกขา ก็น่าพิจารณาว่าเป็นศรัทธาที่เป็น "สัมมา" หรือถูกต้องตามพุทธประสงค์หรือไม่

ท่านพุทธทาสภิกขุใช้เวลาเกือบตลอดชีวิตของท่านเพื่อจะปรับทัศนะของชาวพุทธยุคก่อนที่หมกมุ่นกับไสยศาสตร์และข้อปฏิบัติที่งมงาย มักเอาตัวไปขึ้นต่อเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก

หรือท่านเจ้าคุณอาจารย์พระพรหมคุณาภรณ์ก็เช่นกัน ทุ่มเทชีวิตกับการปลูกฝัง "สัมมทิฏฐิ" เพื่อให้ชาวพุทธมีภูมิปัญญาสมกับเป็นชาวพุทธ คือชนที่ปฏิบัติตัวเพื่อความรู้ ตื่น เบิกบาน ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งเป็นอิสระ (ทางใจ) มิใช่ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งขาดอิสระ หรือยิ่งต้องขึ้นตรงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อเทพเจ้า หรือต่อพลังอำนาจลึกลับในจักรวาล ฯลฯ

ในระหว่างหนทางของการปฏิบัติ "กำลังใจ" และ "ปัญญา" จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้เรามั่นคงในหนทางเดิน 

บางคนรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วชีวิตยังไม่ดีขึ้น หรือรู้สึกท้อแท้ว่าทำไมยังต้องประสบกับเคราะห์กรรมมากมาย คิดเลยเถิดไปถึงขนาดว่า บุญอาจจะไม่มีจริง ๆ ทำดีอาจไม่ได้ดีจริง ๆ สู้ไปพึ่งการสวด การปฏิบัติพิธีกรรมดีกว่า เพราะเขาโฆษณาว่าเห็นผลเร็ว 

หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงก็เช่นเดียวกับหลักการปฏิบัติธรรม คือเน้นไปที่การพึ่งตนเองให้ได้ ลดขนาดของการพึ่งพาภายนอก เพื่อความสุขที่ยั่งยืน 

การสวดและการประกอบพิธีกรรมบางอย่างอาจเป็นหนทางแก้ทุกข์เฉพาะหน้า แต่เราก็ต้องไม่มองข้ามการแก้ทุกข์ระยะยาวด้วยการเจริญไตรสิกขา อย่าให้หนทางแก้ทุกข์เฉพาะหน้ากลายมาเป็นยาเสพติด ให้เราจมจ่อมอยู่กับมัน ปล่อยชีวิตให้ผ่านไปโดยปราศจากการเจริญไตรสิกขา เมื่อความเจ็บ ความตาย และความพลัดพรากมาถึง เราจะเควิ้งคว้างว่างเปล่า ไม่พร้อมต่อการเผชิญหน้ากับพญามัจจุราชผู้มีเสนามาก เพราะเพียงการสวดและอานิสงส์แห่งการประกอบพิธีกรรมไม่อาจต่อกรกับมันได้เลย เราไม่ต้องเชื่อใคร ให้พิจารณาจากแบบฝึกหัดที่เข้ามาในชีวิตของเรา แล้วเราจะตอบตัวเองได้ว่า ที่พึ่งหรือเครื่องอยู่ของเราเพียงพอหรือยัง สิ่งที่เข้าใจว่าเป็นที่พึ่งนั้น พึ่งได้จริงไหมในคราวที่คับขัน  

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
<
1
2
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 1 Visits: 16,690,990 Today: 877 PageView/Month: 72,586