หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน
คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป
(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)
|
|
Started by |
|
|
Topic: พระอุปคุต (Read: 45123 times - Reply: 16 comments) |
|
|
|
สิทธิ์ |
Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552
|
|
พระอุปคุต
|
« Thread Started on 22/2/2553 21:13:00 IP : 124.121.125.41 » |
|
|
|
พอดีได้รูปพระอุปคุตองค์งาม ๆ ซึ่งทำมาจากไม้กฤษณาจากประเทศพม่า เลยนำมาให้ได้ชมกัน
สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบประวัติ ก็ขอเล่าย่อ ๆ ว่าพระอุปคุตท่านเป็นพระอรหันต์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (หลังพุทธกาลประมาณ ๒๐๐ กว่าปี)
ท่านเป็นผู้ที่นำเสด็จพระเจ้าอโศกมหาราชให้รู้จักสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า อาทิ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบการจัดพิธีเฉลิมฉลองสมโภชน์ความสำเร็จในการบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์และพุทธสถานจำนวน ๘๔,๐๐๐ แห่งทั่วอินเดีย
เรื่องราวของพระอุปคุตมีกล่าวไว้มากในฝ่ายมหาสังฆิกะ (นิยมภาษาสันสกฤต) ในขณะที่พระอรหันต์ร่วมสมัยอีกท่านหนึ่งคือพระโมคคัลลีติสสะเถร ผู้มีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดพระธรรมทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกประเทศอินเดีย ซึ่งมีกล่าวไว้มากในฝั่งเถรวาท (นิยมภาษาบาลี)
กล่าวกันว่าพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่แม้ในปัจจุบัน เพราะท่านอธิษฐานจะอยู่จนกว่าจะสิ้นอายุพระพุทธศาสนา (เช่นเดียวกับพระอุตตระ หรือพระครูเทพโลกอุดร พระอรหันต์ร่วมสมัยอีกท่านหนึ่ง)
หากเรามีโอกาสไปเยือนประเทศพม่าก็จะพบเห็นไม้แกะสลักเป็นรูปพระอุปคุตอย่างที่เห็นในรูปข้างต้นนี้เป็นจำนวนมาก ที่ฝีมือดีเยี่ยมก็เห็นจะเป็นช่างที่เมืองหงสาวดีหรือบะโค
สำหรับในเมืองไทย นอกจากรูปทรงข้างต้นแล้ว ยังนิยมสร้างเป็นพระบัวเข็ม (มีใบบัวคลุมที่เศียร และที่ฐานจะมีรูปสัตว์น้ำหลายชนิด) |
|
|
|
ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: พระอุปคุต
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ » คลิ๊กที่นี่ |
|
|