luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์  (Read: 158824 times - Reply: 130 comments)   
เพียงดิน

Posts: 156 topics
Joined: 13/9/2553

หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
« Thread Started on 4/1/2556 11:08:00 IP : 158.34.240.18 »
 

เนื่องจากมีโอกาสได้อ่านหนังสือ "กิ่งก้านแห่งโพธิญาณ" ที่ระลึกในพิธีเปิดอนุสรณ์สถานบูรพาจารย์ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) ณ วัดป่าอัมพวัน

หนังสือนี้ พระอาจารย์จันดี กันตสาโร เจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวัน เป็นผู้ริเริ่มให้จัดทำ มีเนื้อหาที่น่าประทับใจมาก เพราะเป็นการรวบรวมคติธรรมและความประทับใจในหลวงพ่อชาที่บรรดาศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่เคยร่วมศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงพ่อชาบันทึกไว้

เพียงดินเห็นว่าน่าจะเป็นการสร้างกำลังใจแก่สมาชิกบ้านหลวงปู่อมยิ้มได้ไม่น้อยทีเดียว โดยจะค่อย ๆ ทยอยนำมาลงให้ได้อ่านกันนะคะ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
จำนวนข้อความทั้งหมด:  79
<
1
2
3
4
5
6
7
8
>
แสดงความคิดเห็น
เพียงดิน

Posts: 156 topics
Joined: 13/9/2553

ความคิดเห็นที่ 31  « on 12/1/2556 22:21:00 IP : 158.34.240.18 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 

พระครูสิริวีรากร (บุญมี ติกฺขวีโร)

วัดป่าบ้านดง จ.อุบลราชธานี

   "เมื่อครั้งที่อาตมาได้ไปกราบหลวงพ่อชาครั้งแรกที่วัดหนองป่าพง ท่านถามว่า มาที่นี่เพื่ออะไร? อาตมาตอบว่าอยากมาสนทนาธรรมกับหลวงพ่อ ท่านถามต่อว่าสนทนาเรื่องอะไร?

   อาตมาจึงกราบเรียนว่า กระผมศึกษาทางปริยัติมานาน สอบได้ ป.ธ.๕ และนักธรรมชั้นเอก เป็นครูสอนคนอื่น แต่ตนเองจำได้แต่ชื่อธรรม ไม่เข้าใจลึกพอที่จะทำลายกิเลสของตัวเองได้ หลวงพ่อถามว่าที่สอบเปรียญได้นั้น ได้รู้อะไร? อาตมากราบเรียนว่า ได้รู้อักขระวิธี

   หลวงพ่อนิ่งเงียบไปครู่หนึ่ง แล้วจึงว่า เอ้อ! คนอย่างนี้ก็มีเนาะ อาตมากราบเรียนท่านต่อไปอีกว่า กระผมไม่รู้เรื่องสมาธิ ที่ว่าฌาณชั้นนั้นชั้นนี้มันเป็นอย่างไร

   หลวงพ่อท่านตอบว่า ท่านมหาจะมาถามเพื่อให้ผมตอบ ผมตอบท่านไม่ได้หรอก ท่านต้องตอบเอาเอง เหมือนกับว่าถ้าผมกำลังนั่งกินมะม่วงอยู่ แล้วท่านมาถามผมว่า อร่อยไหม? ผมก็ตอบของผมว่าอร่อย แต่ท่านจะรู้ไหมว่าผมอร่อย เปรี้ยว หวาน มันเค็ม อย่างไร เพียงใด

   แต่ถ้าท่านกินมะม่วงเอง ท่านก็จะรู้เองว่า มันอร่อยเพียงใด ฟังคนอื่นพูดก็อาจจะเข้าใจ แต่มันก็อยู่แค่หู มันไม่ถึงใจ ผ่านหูไม่เหมือนกับผ่านใจ ไม่เหมือนกับที่เราเห็นประจักษ์แจ้งในใจ เพราะได้รู้ชัด มันจึงจะชนะกิเลสต่าง ๆ ได้ ด้วยความเห็นโทษของกิเลส และเห็นคุณของพระธรรม ศรัทธาในธรรมจึงมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงเลือนหายไป

   เมื่อหลวงพ่อแสดงธรรมมาถึงตรงนี้ อาตมารู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในห้องที่มีทางออกเพียงทางเดียว คือต้องลงมือปฏิบัติโดยไม่ต้องไปแสวงหาธรรมจากใครที่ไหนเลยนอกจากวัดหนองป่าพง" 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
เพียงดิน

Posts: 156 topics
Joined: 13/9/2553

ความคิดเห็นที่ 32  « on 13/1/2556 20:44:00 IP : 158.34.240.18 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 

หลวงปู่สี สิริญาโณ

วัดป่าศรีมงคล จ.อุบลราชธานี 

 "หลวงพ่อชาท่านพูดแต่น้อย ไม่พูดมากเหมือนพวกเรา คำพูดของท่านอาจจะฟังไม่รื่นหู แต่ถ้าพิจารณาตามแล้วจะซึ้ง ครั้งหนึ่งหลวงพ่อชาถามว่า "ถ้ามีคนบอกว่าเราเป็นหมา เราจะโกรธเขาไหม? ผมจึงตอบสวนทางว่า "เราอยู่ของเราดี ๆ มีคนมาว่าเราเป็นหมา มันก็ต้องโกรธเป็นธรรมดา" หลวงพ่อชาก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้นเราก็เป็นหมาอย่างที่เขาว่า"

   หลวงพ่อชาเคยพูดว่า "อามิสจะทำลายกรรมฐาน" ปัจจุบันอามิสมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราต้องรู้จักดูแลตัวเอง วัตถุของโลกมันทำให้คนหลง หลงจนไม่รู้จักตัวเอง พระพุทธเจ้าสอนว่าไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดของทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ เพราะมันไม่มีปัญญา แต่มันไม่ใช่เรื่องที่จะรู้กันง่าย ๆ มรดกของสัตว์โลกที่แก้ไม่ได้ก็คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครรอดไปได้ มันก็รู้อยู่นะแต่มันไม่มีปัญญา ถ้าคนมีปัญญาก็ต้องน้อมมาดูตัวเอง...โอปนยิโก"

  

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
metha

Posts: 127 topics
Joined: 9/12/2552

ความคิดเห็นที่ 33  « on 13/1/2556 22:49:00 IP : 118.173.195.210 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 
เพียงดิน Talk:

 

"... มันไม่ใช่เรื่องที่จะรู้กันง่าย ๆ มรดกของสัตว์โลก
 ที่แก้ไม่ได้ก็คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ...โอปนยิโก"
  



Q: แก้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ได้
     แล้วจะแก้ตรงไหนดี

A: ให้แก้ที่ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
     ว่านี้คือ... กายเรา
    
     เรามีในรูปกายนี้ รูปกายนี้มีในเรา
     เราเป็นกายนี้ กายนี้เป็นเรา
     ฝึกพิจารณาบ่อยๆ ด้วยกุศโลบายแยบคาย
     แล้วความยึดมั่นถือมั่น
     ในขันธ์ทั้ง ๕ ก็จะจางคลายไป ...
    

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
เพียงดิน

Posts: 156 topics
Joined: 13/9/2553

ความคิดเห็นที่ 34  « on 15/1/2556 8:06:00 IP : 158.34.240.20 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 

พระครูโพธิสารคุณวัฒน์ (บุญชู ฐิตคุโณ)

วัดป่าโพธิญาณ (วัดเขื่อน) จ. อุบลราชธานี

   "เคยอ่านที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงวิดน้ำออกจากเรือของเธอ เรือคืออะไร ตาเห็นรูปต้องวิดออก หูฟังเสียงต้องวิดออก จมูกดมกลิ่นต้องวิดออก กายถูกต้องสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งต้องวิดออก ถ้าไม่วิดออกเรือก็จะจมเพราะน้ำที่เข้ามาในเรือ

   ท่านเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มาอยู่ที่นี่ต้องวิดน้ำออกจากเรือทุกเช้าทุกเย็น ต้องอุดรูรั่วอยู่เรื่อย ถ้าไม่ทำเช่นนั้นเรือก็จม ถ้าเรือจมก็ข้ามฝั่งไม่ได้ ต้องเอาใจใส่มีสติสำรวมระวังอยู่ตลอด

   อยู่กับหลวงปู่ใหญ่ (หลวงพ่อชา) ท่านบอกให้มีสติรู้รอบอยู่ตลอด นี่แหละตัวสำคัญ รอบคือเป็นวงกลมรอบตัวเรา มีอารมณ์อะไรเข้ามาก็ให้รู้สึก จะทำอะไรก็ให้มีสติ เมื่อก่อนถ้าพระหรือเณรเผลอทำกระโถน แก้วน้ำหรือกาน้ำให้เกิดเสียงดัง ท่านจะเตือนทันทีว่า มันขาดสติ เอาสติไปทิ้งไว้ที่ไหน ถ้าท่านไม่เตือนอย่างนี้เราก็ไม่รู้สึกตัวจริง ๆ นะ

   ถ้าท่านไม่เตือนด้วยเสียงดังแบบนั้นขึ้นมา เราก็จะรู้สึกเฉย ๆ เพราะเราไม่รู้สึกตัวว่าเราขาดสติ ถ้าท่านเตือนก็ทำให้เราสำรวมระวังอยู่ตลอดในการเข้าไปสู่สถานที่ส่วนรวม ก็ได้สติจากครูบาอาจารย์นั่นแหละ เพราะท่านเตือนท่านขนาบอยู่เรื่อย เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า อานนท์เราจะขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด เหมือนกับนายช่างหม้อที่ทำกับหม้อที่ยังเปียกอยู่ ผู้ใดที่มุ่งต่อมรรคผลนิพพานจึงจะทนอยู่ได้ คือท่านเตือนแล้วเตือนอีก

   หลวงปู่ก็เหมือนกัน เมื่อท่านดุพระเณร ถ้าเราทำไม่ถูก มันก็มากระทบตัวเอง เหมือนคนมีแผลไปที่ไหนก็เจ็บปวด คนทำความผิด พอท่านพูดอะไรขึ้นมาก็ทิ่มแทงใจ คนที่ทนไม่ได้หรือขี้เกียจทำตาม สึกออกไปก็เยอะเหมือนกัน ถ้าเราไม่มีแผล ครูบาอาจารย์บอกอะไร เราก็ทำตามคำแนะนำพร่ำสอนของท่าน มันก็ไม่มีเรื่อง ก็อยู่สบาย"

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
เพียงดิน

Posts: 156 topics
Joined: 13/9/2553

ความคิดเห็นที่ 35  « on 15/1/2556 8:44:00 IP : 158.34.240.20 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 


ภาพนี้ติดไว้บริเวณด้านล่างของอาคารอนุสรณ์สถานใกล้กับบันไดทางขึ้นสู่ชั้นสอง

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
supa

Posts: 2 topics
Joined: 17/5/2554

ความคิดเห็นที่ 36  « on 15/1/2556 9:18:00 IP : 180.183.205.142 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 
เพียงดิน Talk:
...พอท่านพูดอะไรขึ้นมาก็ทิ่มแทงใจ คนที่ทนไม่ได้หรือขี้เกียจทำตาม สึกออกไปก็เยอะเหมือนกัน ถ้าเราไม่มีแผล ครูบาอาจารย์บอกอะไร เราก็ทำตามคำแนะนำพร่ำสอนของท่าน มันก็ไม่มีเรื่อง ก็อยู่สบาย"


ยังไม่ได้คำตอบกับตัวเองว่าผลจะเป็นอย่างไร เมื่อเราพบพระอัสสชิ

ก็มีคำถามใหม่ว่า หากเราได้บวชกับหลวงพ่อ เราจะรวมอยู่กับกลุ่มที่สึกออกไปหรือกลุ่มที่ฝึกหัดอดทน

ขอบคุณคุณเพียงดินที่หมั่นคัดมาฝากหมู่คณะค่ะ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
เพียงดิน

Posts: 156 topics
Joined: 13/9/2553

ความคิดเห็นที่ 37  « on 15/1/2556 12:50:00 IP : 158.34.240.20 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 


พระอธิการอัครเดช ถิรจิตฺโต

วัดบุญญาวาส จ. ชลบุรี

  หลายครั้งหลายวาระในการแสดงธรรมอบรมพระภิกษุสามเณร หลวงพ่อชากล่าวว่า "อย่าเป็นบัณฑิตสกปรก" ซึ่งหมายถึงบุคคลที่เข้ามาบวชแต่ยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน มักตั้งต้นเป็นเจ้าลัทธิ เป็นอาจารย์สอนธรรม ทั้ง ๆ ที่ไม่มีธรรมอยู่ในใจของตน มักยกตนข่มท่าน อวดอ้างตัวเองว่าเป็นบัณฑิตให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ท่านจึงกล่าวว่า พวกท่านทั้งหลาย "จงอย่าเป็นบัณฑิตสกปรก"

   "ระเบิดภูเขาให้ทะลายเป็นจุล (แหลกละเอียด) บางครั้งยังง่ายกว่าการที่จะเปลี่ยนความเห็นของคน"

   หลวงพ่อชาเคยกล่าวว่า คนบางคนมีทิฐิมานะมากเหลือเกิน แม้จะอายุ ๗๐-๘๐ ปี ก็ยังแบกทิฐิมานะ บางครั้งการสอนของเราก็ไม่อาจจะเปลี่ยนความคิดเห็นของเขาได้ คนบางคนถือทิฐิมานะจนตลอดชีวิต และมีความเห็นผิดอย่างแรงกล้า "ระเบิดภูเขาให้เป็นจุล บางครั้งใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็พังทลายราบเรียบลงหมด ง่ายกว่าการเปลี่ยนความเห็นผิดของคนให้มาเห็นถูกต้อง"

   เกี่ยวกับความเพียร ท่านกล่าวว่า "ขยันก็ทำความเพียร แม้ขี้เกียจก็ให้ฝืนทำความเพียรให้ได้สักครึ่งหนึ่งของวันที่ขยันก็ยังดี"

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
เพียงดิน

Posts: 156 topics
Joined: 13/9/2553

ความคิดเห็นที่ 38  « on 16/1/2556 8:29:00 IP : 158.34.240.18 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 


 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
เพียงดิน

Posts: 156 topics
Joined: 13/9/2553

ความคิดเห็นที่ 39  « on 16/1/2556 11:03:00 IP : 158.34.240.18 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 


 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
เพียงดิน

Posts: 156 topics
Joined: 13/9/2553

ความคิดเห็นที่ 40  « on 16/1/2556 11:24:00 IP : 158.34.240.18 »   
Re: หลวงพ่อชา ในความทรงจำของศิษย์
 

พระครูสันติธรรมวิเทศ (ปรีชา ชุตินฺธโร)

วัดสันตจิตตาราม ประเทศอิตาลี

   หลวงปู่สอนเรื่องสัมมาทิฐิ คืออย่ามองโลกในแง่ร้าย แต่ก็อย่ามองโลกในแง่ดีอย่างดียว ท่านสอนให้มองโลกตามความเป็นจริง ซึ่งนั่นก็คือสัมมาทิฐิ เพราะโลกใบนี้มันมีทั้งกลางวันและกลางคืน ต้องมองโลกให้เห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย จะเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็เป็นประโยชน์ทั้งนั้น ใช้ให้เป็นประโยชน์ ใช้ให้ถูกต้อง นี้คือผู้ที่มองโลกตามความเป็นจริง ตามที่มันเป็นอยู่ ปัญหาทั้งปวงมันต้องแก้ด้วยทิฐิก่อน ถ้าแก้ด้วยทิฐิได้ทุกอย่างก็แก้ได้

   สัมมาทิฐิก็คือเป็นกลาง ๆ อย่าให้สุดโต่งหนักไปฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่ทางโลกไม่ได้สอนกันจึงเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นในสังคมโลก ในมหาวิทยาลัยจะสอนให้คนมีความรู้ มีตัว มีตน เป็นเราเป็นเขา

   พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าให้เห็นทุกข์ ถ้าบุคคลใดเห็นทุกข์โดยสามัญลักษณะ บุคคลนั้นก็ได้ชื่อว่ามีสัมมาทิฐิ

   การเห็นทุกข์โดยสามัญลักษณะก็คือ เห็นไตรลักษณ์ สามัญลักษณะแปลว่าทุกข์นั้น มีสภาพที่เสมอกันหมดทุกคน เสมอกันในลักษณะว่า ทุกคนในโลกใบนี้เมื่อได้ยินคำว่า "ทุกข์" ก็ไม่มีใครต้องการ ถ้าทุกคนเห็นว่าตัวเราเองก็ไม่ต้องการความทุกข์ ผู้อื่นก็ไม่ต้องการความทุกข์เช่นกัน

   เพราะฉะนั้นทุกคนจะปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม นั่นก็คือ ๑. คุณไม่อยากตายไม่อยากเจ็บ คนอื่นก็ไม่อยากตายไม่อยากเจ็บ นี่เป็นศีลข้อแรก ปฏิบัติแล้วก็เห็นได้ทันที ถ้าเห็นทุกข์โดยสามัญลักษณะ ศีลก็จะเกิดขึ้นทันที เกิดขึ้นในใจเพราะเราเอาใจเขามาใส่ใจเรา ข้อที่ ๒-๓ ก็เช่นกัน ไม่มีใครอยากได้ ถ้าเห็นอย่างนี้ก็จะเปลี่ยนจากสักกายทิฐิหรือทิฐิที่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เอาตัวเองเป็นใหญ่ เอาตัวเองเป็นผู้ตัดสิน ถ้าสิ่งใดฉันชอบฉันก็จะเอา ถึงขนาดไปไล่ฆ่ากันจนหมดทุ่งหมดนา แล้วยังบอกว่าฆ่ากินไม่บาป ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยถามว่าพวกกุ้ง หอย ปู ปลา เขายินยอมหรือเปล่า คนฆ่าเพื่อเอาไปกินไม่บาป แต่ก็เห็นมันวิ่งหนีกันทุกตัว ก็แสดงว่าเราคิดผิด ไม่ได้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ได้เห็นทุกข์ว่ามันเป็นโดยสามัญลักษณะ ถ้าเห็นทุกข์โดยสามัญลักษณะ โลกคงไม่เป็นอย่างนี้

   สัมมาทิฐิเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุด นำไปที่ไหนก็ใช้ได้หมด ไม่ว่าที่เมืองไทยหรือต่างประเทศ เป็นประโยชน์ตลอดเวลาและไม่ล้าสมัย...

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
<
1
2
3
4
5
6
7
8
>
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   ธรรมะทั่วไป
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 2 Visits: 16,694,920 Today: 1,860 PageView/Month: 76,563